วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาพขยายดวงอาทิตย์ชุดใหม่ของNASA

เศรษฐกิจและการค้าสมัยอยุธยา

เศรษฐกิจและการค้า  
             อาชีพหลักของชาวอยุธยาคือเกษตรกรรม โดยข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญของประชากรในประเทศ และ ยังเป็นสินค้าสำคัญ อย่างหนึ่งที่ชาวอยุธยาส่งออก ไปยัง ตลาดโลก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ที่สำคัญ ดังนั้น อยุธยาจึงมีรายได้ จากการค้า ทั้งจากการส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ และ จากการเป็นพ่อค้าคนกลางโดยทางราชสำนัก ตั้งพระคลังสินค้าขึ้นมาผูกขาดสินค้าสำคัญบางประเภทซึ่งพ่อค้าต่างชาติ จะต้องซื้อขายกับราชสำนักเท่านั้น             การค้าขายต่างประเทศอยู่ภายใต้กรมพระคลัง มีออกยาศรีธรรมราชเป็นผู้ควบคุมดูแล ในระยะแรกนั้นมีการแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย  คือ๑.กรมท่าขวา   สังกัดออก พระจุฬาราชมนตรีขุนนางแขก ซึ่งจะดูแลการค้ากับโลกตะวันตก ๒.กรมท่ากรมท่าซ้าย สังกัด พระยาโชดึกราชเศรษฐีขุนนางจีนซึ่งจะดูแลการค้าขายฝ่ายตะวันออก              ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายเมื่อมีชาวยุโรป เข้ามา ติดต่อค้าขายมากขึ้นจึงเกิดมีกรมท่ากลางขึ้น มาอีกกรมหนึ่ง มีขุนนางฝรั่งดูแล พระมหากษัตริย์และขุนนางมีสำเภาค้าขายกับต่างประเทศโดยส่วนมาก มีนายจีนรับจ้างเป็นนายเรือและลูกเรือ  สินค้าส่งออกของอยุธยาคือผลิตผลทางการ เกษตร    เครื่องสังคโลก  และผลิตผลจากป่า เช่น งาช้าง หนังสัตว์ ไม้ เครื่องเทศ และ แร่ธาตุ เป็นต้น  รายได้หลักของราชสำนัก อีกส่วนหนึ่ง มาจากบรรณาการ ส่วย และ ภาษี อากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีที่ค้าขายกับ ต่างประเทศ ด้านการค้าภายในมีย่านการ ค้า และ ตลาดใหญ่น้อยตั้งอยู่ทั้งในเมืองและนอกเมือง ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางแลกเปลี่ยน สินค้า
              ตลาดในอยุธยามี ๒ ประเภท คือ 
            ๑.ตลาดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ ๔ แห
            ๒.ตลาดบก อีกราว ๗๒ แห่ง อยู่นอกเมือง ๓๒ แห่ง อยู่ในเมือง ๔๐ แห่ง
             ย่านการค้าและตลาดแหล่งนี้ มีทั้งตลาดขาย ของสดเช้าเย็น ตลาดขายสิ่งจำเป็นสำหรับสำหรับการดำรงชีวิต(ของชำ) และสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์ของย่านไม่เหมือนกับที่อื่น ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ อยุธยามีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติ ทั้งประเทศเอเซียด้วยกันและประเทศตะวันตก  ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่พม่า มอญ  ลาว ญวน และมลายู ส่วนมาก เกี่ยวข้องกันทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า ในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เครือญาติ หรือในฐานะเมืองประเทศราช ซึ่งบางครั้งก็ต้องทำสงคราม เพื่อแย่งชิงความ เป็นใหญ่เหนือแผ่นดิน ของกันและกัน
                กรณีนี้ประเทศคู่สงครามของอยุธยา คือพม่าซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการรบกันถึง ๒๔ ครั้ง ในเวลา ๒๓๐ ปีโดยมี มอญ และ เชียงใหม่เป็นตัวแปรในฐานะรัฐกันชน ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเซียอื่นๆ เช่น จีนญี่ปุ่น อินเดีย และ เปอร์เซีย   มัก จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในด้านวัฒนธรรมและ การค้าขาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนและเปอร์เซีย ได้เข้ามารับราชการ ใน กรมคลัง ดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศให้ราชสำนักอยุธยา
                ในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา ก็มีอิทธิพลของศิลปะจีน อินเดีย และเปอร์เซีย ปรากฏให้ เห็นอยู่ไม่น้อย   สำหรับประเทศตะวันตกนั้น อยุธยาติดต่อกับชาวโปรตุเกส เป็นชาติแรก ในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑  หลังจากนั้น ก็ได้ มีชาวตะวันตกชาติอื่นๆ ตามเข้ามาได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เป็นต้น             
               การเข้ามาอยุธยาของชาวตะวันตก  มีจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อทำการค้าขาย และเผย แพร่ คริสต์ศาสนาเป็นสำคัญแต่บางครั้ง ก็กระทบกระเทือนต่ออธิปไตยของอยุธยาอยู่บ้าง พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงระมัดระวัง ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ พระองค์ทรง ผูกมิตรกับทุกชาติ ที่เข้ามาติดต่อ เพื่อให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน นอกจากผลดีด้านเศรษฐกิจแล้ว การติดต่อกับประเทศตะวันตก ทำให้อยุธยาได้เรียนรู้วิทยาการ และ เทคโนโลยี่สมัยใหม่ เป็นต้น
              ว่าการทหาร  การสร้างป้อมและกำแพงเมือง อย่างยุโรป การใช้ปืนในการทำสงคราม ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การ ประปา และการจัดสวน เป็นต้น โดยชาวตะวันตกบางกลุ่มได้เข้ามารับราชการรับใช้ราชสำนัก เป็นทหารอาสาเป็นทหารรับจ้าง เป็นราชองครักษ์และเป็นวิศวกร พระมหากษัตริย์ทรง อนุญาตและมอบ ที่ดิน ให้ชาวต่างชาติ ตั้งหมู่บ้าน ตั้งสถานีการค้า และ สร้างศาสนสถาน เพื่อประกอบพิธีกรรมได้อย่างอิสระ  หมู่บ้านของชาวต่างชาติ ส่วนมาก ตั้งอยู่นอกตัวเมือง มีเฉพาะชาวจีน ชาวฮินดู และแขกเพียงบางกลุ่มซึ่งมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับราชสำนักมาแต่เดิมเท่านั้นที่ทรงอนุญาตให้สร้าง บ้านเรือน อยู่ ภายในเมือง
รายได้ของรัฐ สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎร
โดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะ
ที่ขนสินค้าผ่านด่าน
 อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ
ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐ
และจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น
อนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ
1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราชฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทาง
ราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้
ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงิน
พินัยหลวง"

รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษี
สินค้าขาออก





ที่มา: สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้
  1. ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
     
  2. ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล

    1. แผนที่
        แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ

ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ

  • ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น
  • ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น  ถนน เขื่อน โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น
     2. รูปถ่ายทางอากาศ
          รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน      หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม 

     3. ภาพจากดาวเทียม
         ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ  การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง (Remote Sensing ) โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ บนพื้นผิวโลก  จากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์มหรือภาพพิมพ์ต่อๆไป

     4. อินเตอร์เน็ต
         อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค “การสื่อสารไร้พรมแดน”   บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web : WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า “เว็บเพ็จ” (Web Page)  มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม


เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทเครื่องมืออุปกรณ์

      อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้

      1. เข็มทิศ
          เข็มทิศเป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่าย ๆ โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ วางทิศในแนวระนาบ ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก   ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก

      2. เครื่องมือวัดพื้นที่
          เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด

      3. เทปวัดระยะทาง
          เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่

      4. เครื่องย่อขยายแผนที่
          เครื่องย่อขยายแผนที่ ( patograph) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่จ้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉลับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรอขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง

      5. กล้องวัดระดับ
          กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ

      6. กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป
          กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป  (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ




ที่มา: ฝ่ายวิชาการ อักษรเจริญทัศน์ อจท.
เว็บลิงค์: http://school.obec.go.th/saod_rs/s002/p03.ppt#262,7,3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
    แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละยุคสมัยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย
  2. หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก
      การแบ่งลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 ประเภท คือ
  1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง  ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น  จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด  เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้  เช่น  จดมายเหตุ คำสัมภาษณ์  เอกสารทางราชการ  บันทึกความทรงจำ  กฎหมาย  หนังสือพิมพ์  ภาพยนตร์  สไลด์  วีดิทัศน์       แถบบันทึกเสียง โบราณสถาน  แหล่งโบราณคดี  โบราณวัตถุ
  2. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ  สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี   คือ  มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ  เนื่องจากเป็นข้อมูลได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า  ตรวจสอบข้อมูล  วิเคราะห์เหตุการณ์และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ  โดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว
ลักษณะสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1.1 โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับ
พื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด
และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ
 
                                     ปราสาทหินพิมาย                                                  ปราสาทหินพนมรุ้ง
ที่มาภาพ  http://www.thaigoodview.com/files/u1300/pimai.jpg      ที่มาภาพ : http://www.kodhit.comimages/stories/travel/
norteast/phasadkhow/12.jpg
1.2 โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว
เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น  ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
               การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เสมอไป และสามารถไปศึกษาได้จากแหล่งรวบรวมทั้งของราชการ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
                 
                   เครื่องปั้นดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง                    หม้อบ้านเชียง
ที่มาภาพ : http://www.thaitourzone.com/eastnorth/udon/museum.JPG       ที่มาภาพ : http://gaprobot.spaces.live.com/
blog/cns!EDF1593B634FDF0!319.entry
2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
                2.1 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ
คำว่า จาร และจารึก
คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน
คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ
                ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน
                นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตามลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี
จารึกบนฐานพระพุทธรูป วัดป่าข่อย จังหวัดลพบุรี
ที่มาภาพ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon4_5_clip_image001_0000.jpg
 
 จารึกวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม
ที่มาภาพ : http://www.openbase.in.th/files/u10/monstudies035.jpg
                เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่างๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา จารึกเหล่านี้มีทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ       ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จารึกที่ค้นพบในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก เช่น จารึกสมัย    ทวารวดี จารึกศรีวิชัย จารึกหริภุญชัย  และจารึกสุโขทัย
 
ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ที่มาภาพ  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/thanagorn_n/plan_history/image/pic1130704120859.jpg
                                2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้
1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณจนหาจุดกำเนิดไม่ได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าเรื่องราวเป็นคนแรก สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร จนกระทั่งมีผู้รู้หนังสือได้จดจำและบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้ง หลายครา ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น  เรื่องที่ปรากฏอยู่ในตำนานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องเดิม  เนื้อเรื่องของตำนาน ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ โดยสามารถจัดประเภทของตำนานไทยได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1) ตำนานในรูปของนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องพญากง พญาพาน ท้าวแสนปม
1.2) ตำนานในรูปของการบันทึกประวัติของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศรัทธา ความเชื่อ สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เช่น ตำนานพระแก้วมรกต
1.3) ตำนานในรูปของการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ราชวงศ์ กษัตริย์ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ในอดีต เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร
ตำนานจามเทวีวงศ์  ตำนานมูลศาสนา ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์
                                       2) พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดารว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมายของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่าหมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร   พงศาวดารจึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4) สามารถจำแนกพงศาวดารได้ 2 ลักษณะคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ   พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักฐานประเภทพงศาวดารจะมีข้อบกพร่องอยู่มาก แต่ก็เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์
 
                                      พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์         พงศาวดารสกลรัชกาลที่ 2                                                                                                   ที่มาภาพ : http://kanchanapisek.or.th/kp8/
ที่มาภาพ : http://j.static.fsanook.com/category/2008/                                                       culture/sgk/pic/sum1.gif
07/16/5/b/4047205_1.jpg
                                 3) จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณจดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า        จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ   ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว
 
 จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
ที่มาภาพ : http://www.thaispecial.com/bookimages/ ที่มาภาพ : http:// upload.wikimedia.org/wikipedia /
9749353323/cover1.jpg                                          commons/thumb/1/1d/La_Loubere_Kingdom
_of_Siam.jpg/332px-La_Loubere_Kingdom_of_Siam.jpg

       สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . (2547) . เอกสารการสอนชุดประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย           . หน้า 11 – 12.  
       สุจิตต์  วงษ์เทศ และคณะ . (2537) . หนังสือคู่มือครูสังคมศึกษารายวิชา ส 021 หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย   .หน้า 15 – 16.  
       สุจิตต์  วงษ์เทศ และคณะ . (2537) .หนังสือคู่มือครูสังคมศึกษารายวิชา ส 021 หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย   . หน้า 17 – 18 .
       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2518) .ความทรงจำ พระนคร .หน้า 122.
       ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จฯกรมพระยา. (2505). ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาคต้น        . หน้า 8 – 9.
       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน . หน้า 563.
       สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). เอกสารการสอนชุดประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย              .หน้า 14.
       ทรงสรรค์  นิลกำแหง. (2514). เอกสารบรรณรักษศาสตร์. หน้า 2.