วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศาสนาชินโต

ประวัติความเป็นมา

ศาสนาชินโต เกิดเมื่อประมาณ 117 ก่อนพุทธศักราช โดยคิดตามสมัยจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น คือ พระเจ้าจิมมู เทนโน (Jimmu Tenno) คำว่า ชินโต เป็นภาษาจีนแต่ออกเสียงตามสำเนียงญี่ปุ่น กล่าวคือ คำนี้มาจากภาษาจีนว่า เชนเต๋า คำว่า เชน หรือ ชิน แปลว่า เทพเจ้า ส่วนคำว่า เต๋า แปลว่า ทาง เมื่อรวมกันแปลว่า ทางแห่งเทพเจ้า อาจหมายถึงการบูชาเทพเจ้าหรือคำสอนของเทพเจ้าหรือศาสนาของเทพเจ้าก็ได้ ส่วนในภาษาญี่ปุ่นเรียกศาสนานี้ว่า กามิโนมิจิŽ (Kaminomichi) แต่ชื่อนี้ไม่แพร่หลายเท่ากับคำว่าชินโต แต่เดิมศาสนาชินโตยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาและศาสนาขงจื๊อได้แผ่ขยายเข้าไปถึงประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงจำต้องตั้งชื่อศาสนาดั้งเดิมของตนเพื่อให้แตกต่างกัน ศาสนาชินโตดั้งเดิมไม่มีศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนา แต่เกิดมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือสืบต่อกันมา มีประเพณีการบูชาเทพเจ้า และบรรพบุรุษเป็นต้น ดังนั้น ศาสนาชินโตจึงไม่มีคำสอนที่แน่นอน ไม่มีคัมภีร์ที่ตายตัวเพราะแต่ละยุคแต่ละถิ่นก็มีความเชื่อแตกต่างกันไป

ศาสนาชินโต เป็นศาสนาพหุเทวนิยมนับถือเทพเจ้ามากมาย เทพเจ้าในศาสนาชินโตก็มีหลายประเภท มีทั้งเทพเจ้าแท้ และเทพเจ้าที่ไปจากมนุษย์ เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ วีรบุรุษในสงคราม และวิญญาณของหลายคนที่มารวมกัน เช่น เทพเจ้าแห่งขุนเขา มาจากวิญญาณมากมายของพวกคนที่เคยอยู่ตามภูเขารวมกัน เทพเจ้าแห่งทะเลก็มาจากวิญญาณจำนวนมากของพวกคนที่เคยอยู่แถบทะเลเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเทพเจ้าที่ไปจากสัตว์ที่คนเคารพอีกด้วย เทพเจ้า ดังกล่าวจะสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติทั่วไป เช่น ภูเขา ลำเนาไพร ท้องฟ้า ทะเลและแผ่นดิน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีศาลเจ้ามากมาย จนได้นามว่าดินแดนแห่งศาลเจ้า และศาลเจ้าที่เป็นสัตว์ก็มีด้วย เช่น ศาลเจ้าสุนัขจิ้งจอก และศาลเจ้าเสือ เป็นต้น สิ่งที่เคารพเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นเรียกรวมๆ กันว่า กามิสะมะ (Kamisama) เหมือนกันหมด คำว่ากามิ มีความหมายกว้างเพราะนอกจากจะหมายถึงเทพเจ้าแล้วยังหมายถึงสิ่งที่บริสุทธิ์ ทรงพลัง ทรงอำนาจและ น่าเกรงขามอีกด้วย ดังนั้นภูเขา แม่น้ำ ทะเล ทุ่งนา ป่าไม้และสัตว์ ฯลฯ ก็อาจเป็นกามิได้ด้วยคำนึงถึงเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ในสิ่งนั้นๆ ดังนั้นประเทศญี่ปุ่นจึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ดินแดนแห่งเทพเจ้า ส่วนเทพเจ้าที่ชาวญี่ปุ่นนับถือว่าเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งหลาย ก็คือ อะมะเตระสุโอมิ คามิ (Amaterasu-omi-kami) หรือพระอาทิตย์ซึ่งเป็นเพศหญิง ส่วนสวามีของพระนางก็คือ สึกิโยมี (Tsukiyomi) หรือพระจันทร์ เทพเจ้าของศาสนาชินโตจะมีลักษณะอย่างมนุษย์คือนอกจากจะมีรูปร่างเหมือนมนุษย์แล้ว ก็ยังมีกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ศาสนาชินโตอาจแบ่งเป็น 5 สมัย1ดังนี้

สมัยที่ 1 ระยะเวลาประมาณ 1,200 ปี เริ่มตั้งแต่ 117 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงพุทธศักราช 1095 เป็นสมัยแห่งศาสนาชินโตบริสุทธิ์แท้ เพราะยังไม่ถูกอิทธิพลจากศาสนาอื่นครอบงำ สมัยนี้เริ่มตั้งแต่จิมมูเทนโน ซึ่งเป็นมิกาโด หรือจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่นเรื่อยมา จนถึงพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ศาสนาชินโตสมัยนี้มีอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริงเพียงศาสนาเดียว

สมัยที่ 2 ระยะเวลาประมาณ 250 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1095 ถึง พ.ศ.1343 เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและศาสนาขงจื๊อ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลมากในช่วง 150 ปีแรก ในคัมภีร์นิฮอนคิได้กล่าวยกย่องพระพุทธศาสนาไว้ประมาณ 50 แห่ง เช่น ในปี พ.ศ.1188 พระเจ้าจักรพรรดิโกโตกุ ทรงยกย่องพระพุทธศาสนาและทรงดูหมิ่นทางแห่งเทพเจ้า และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่าในปี พ.ศ.1214 มกุฎราชกุมาร (โชโตกุไทชิ) ได้ทรงสละโลกออกผนวช เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรสมัยนี้ศาสนาชินโตก็ยังมีอิทธิพลมากกว่าศาสนาอื่น

สมัยที่ 3 ระยะประมาณ 900 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1343 ถึง พุทธศักราช 2243 เป็นสมัยที่ศาสนาชินโตผสมกลมกลืนกับศาสนาอื่น ทำให้ศาสนาชินโตลดความสำคัญลงมาจนนักศาสนาบางท่านกล่าวว่า ศาสนาชินโต ศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื๊ออาจรวมเป็นศาสนาเดียวกันก็ได้ และมีภิกษุบางรูปกล่าวว่า เทพเจ้าของศาสนาชินโตก็คือปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า ศาสนาชินโตจึงถูกลดความสำคัญลงตามลำดับ จนกระทั่งระหว่าง พ.ศ.2008 ถึง พ.ศ.2230 ไม่มีการประกอบพิธีโอโฮนิเฮ หรือพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบศาสนาชินโต ซึ่งถือกันว่าเป็นพิธีกรรมสำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรมของศาสนาชินโต ตลอด 8 รัชกาล

สมัยที่ 4 ระยะเวลาประมาณ 168 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2243 ถึง พ.ศ. 2411 เป็นสมัยที่มีการฟื้นฟูศาสนาชินโตเป็นการใหญ่ ได้มีการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของศาสนาชินโต ความสำคัญของพระเจ้าจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายจากพระอาทิตย์ ความสำคัญของชาวญี่ปุ่นที่สืบสายมาจากเทพเจ้า และความสำคัญของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นดินแดนที่เทพเจ้าสร้างขึ้นมา จนชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าศาสนาชินโต พระเจ้าจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่น ดีกว่าเหนือกว่าผู้อื่นโดยประการทั้งปวง ผลก็คือชาวญี่ปุ่นเป็นชาตินิยมขึ้นมาทันที และรุนแรงด้วย

สมัยที่ 5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2411 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ศาสนาชินโตได้รับการฟื้นฟูต่อจากสมัยที่ 4
จักรพรรดิเมยี (พ.ศ. 2411-2455) ผู้ทรงเปิดประตูสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ได้ทรงสั่งชำระศาสนาชินโตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก โดยให้แยกศาสนาชินโตออกจากศาสนาพุทธและศาสนาขงจื้อ ศาลเจ้าต่างๆ ก็ให้มีเฉพาะพิธีกรรมศาสนาชินโตเท่านั้น ส่วนศาสนาอื่นจะมีพิธีกรรมของตนก็ได้ แต่ห้ามปะปนกับศาสนาชินโต ต่อมา พ.ศ. 2425 ได้ทรงแยกศาสนาชินโตออกเป็น 2 แบบ คือชินโตของรัฐกับชินโตของราษฎร์ ทั้งทรงส่งเสริมให้ชาวญี่ปุ่นเป็นชาตินิยมดังมีพระบรมราชโองการมายังกองทัพทุกเหล่า มีใจความว่า "ให้ทุกคนรักชาติรักความกล้าหาญ และจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ แม้ชีวิตก็สละได้ ต้องเชื่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ให้ถือเท่ากับบัญชาจากสวรรค์" ตั้งแต่นั้นมา ทหารญี่ปุ่นก็ได้รับเกียรติมาก ใครทำร้ายทหารไม่ได้ ทหารจึงเป็นเสมือนตุ๊กตาไขลาน คอยทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาทุกอย่าง และในการรบกับรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2447-2448 ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะรัสเซียซึ่งเป็นประเทศใหญ่กว่าญี่ปุ่นหลายสิบเท่าได้

ศาสนายิว

ประวัติความเป็นมาของศาสนายิว

ศาสนายิว เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาศาสนาเอกเทวนิยมที่ยังมีชีวิตอยู่ ศาสนายิวเกิดประมาณ 957-657 ก่อนพุทธศักราช โดยคิดตามสมัยของโมเสส ผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ แต่ถ้าจะว่าตามความเชื่อของชาวยิวแล้วศาสนายิวเกิดตั้งแต่สมัยอับรามหรืออับราฮัม หรือที่ศาสนาอิสลามเรียกว่าอิบราฮิมแล้ว คือประมาณ 1,500 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ศาสนายิวเป็นศาสนาของชนชาติยิวหรือที่เรียกกันว่าเฮบรู (Hebrew) ในสมัยโบราณ คำว่า ยูดา มาจากคำว่า จูดา และคำว่า ยิว มาจากคำว่า จูเดีย ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเปอร์เซียหรืออิหร่านเรียก ประวัติย่อของชนชาติยิวมีว่า เป็นชาติที่เลี้ยงสัตว์ จึงต้องต้อนฝูงปศุสัตว์ไปหากินในถิ่นต่างๆ ชาวยิวจึงเป็นพวกเร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อพยพเรื่อยไป ครั้นเข้าไปถิ่นไหนถิ่นนั้น ก็รังเกียจขับไล่ไม่ยอมให้อยู่ แม้แต่คำว่า เฮบรู ก็เป็นคำที่ชาวคานาอัน ตั้งให้ อันมีความหมายว่า พวกต่างถิ่น พวกเร่ร่อน หรือพวกมาจากฟากโน้น ชาวยิวอพยพไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหารให้ปศุสัตว์ แต่ยิ่งเร่ร่อนก็ยิ่งน้อยใจที่ไม่มีประเทศของตนอยู่ ผิดกับเผ่าอื่นๆอีกทั้งจำนวนประชากรยิวก็เพิ่มมากขึ้นทุกที ปัญหาเหล่านี้ทำให้หัวหน้าหมู่ชาวยิวคิดหนักทำอย่างไรยิวจึงจะมีประเทศอยู่ ทำอย่างไรชาวยิวจะมีอาหารเพียงพอไม่อดตาย ต่อมามีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นแก่ชาวยิว คือสมัยที่ชาวยิวมีอับราฮัมเป็นหัวหน้าหมู่ อับราฮัมได้บอกชาวยิวว่า พระเจ้ามาหาตน พระองค์ได้ตรัสว่า พระองค์เป็นพระเจ้าองค์เดียว และทรงเป็นเทพเจ้าของชาวยิว พระองค์ทรงเลือกชาวอิสราเอลหรือชาวยิวเป็นประชากรของพระองค์ พระเจ้าทรงสั่งให้อับราฮัมอพยพออกจากถิ่นที่อยู่คือเมืองเออร์หรืออูร์ (Ur) ในแคว้นคาลเดีย ซึ่งตั้งอยู่แถบเมโสโปเตเมีย ไปอยู่ในดินแดนที่พระองค์จะประทานให้ แล้วจะทรงทำให้ชาวยิวเป็นชาติใหญ่ ชาติสำคัญของโลกดังที่พระองค์ตรัสว่า

"เจ้าจงออกจากเมือง จากญาติพี่น้อง จากบ้านบิดาของเจ้าไปยังดินแดนที่เราจะบอกให้เจ้ารู้ เราจะให้เจ้าเป็นชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงโด่งดัง เลื่องลือไกล แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้า"

อับราฮัมซึ่งตอนนั้นอายุ 75 ปีแล้ว ก็ได้พาชาวยิว ออกจากถิ่นเดิมมุ่งสู่แผ่นดินสัญญาหรือแผ่นดินที่พระเจ้าจะประทานให้แก่ชาวยิว อับราฮัมพาชาวยิวเดินทางมาเรื่อยๆ จนมาถึงแผ่นดินคานาอัน พระเจ้าจึงมาปรากฏแก่อับราฮัมและตรัสว่า1ดินแดนนี้เราจะยกให้พงศ์พันธุ์ของเจ้าŽ ชาวยิวอยู่ที่คานาอันระยะหนึ่งต่อมาเกิดทุพภิกขภัย ชาวยิวอดอยากลำบากมากอับราฮัมจึงพาชาวยิวออกเดินทางต่อไปจนถึงประเทศอียิปต์ อับราฮัมได้พาซาราย หรือต่อมาเรียกว่าซาร่าห์ ภรรยาของตนไปด้วย และเนื่องจากซาราห์เป็นคนสวยมาก หากอับราฮัมบอกแก่ชาวอียิปต์ว่าเป็นภรรยาของตนก็เกรงจะมีอันตราย จึงได้บอกว่าเป็นน้องสาวเมื่อฟาโรห์หรือกษัตริย์ของอียิปต์ทอดพระเนตรเห็นซาราห์ก็ทรงพอพระทัยรับไว้เป็นชายาและทรงโปรดปรานนางมาก ทำให้พระองค์โปรดลงมาถึงอับราฮัมที่มีน้องสาวสวยด้วยโดยพระราชทานสิ่งต่างๆ ให้แก่อับราฮัมอย่างมากมาย แต่ต่อมาทรงทราบว่าซาร่าห์เป็นภรรยาของอับราฮัม จึงไม่พอพระทัยที่ถูกหลอกจึงให้อับราฮัมและซาร่าห์พร้อมด้วยชาวยิวออกจากอียิปต์ อับราฮัมจึงพาชาวยิวกลับมาอยู่ที่คานาอันอีก อับราฮัมไม่มีบุตรกับซาราห์ซาราห์จึงยกสาวใช้ของตนชื่อฮากาห์ให้เป็นภรรยาของอับราฮัม ต่อมาฮาการ์มีบุตรคนหนึ่งชื่ออิสมาเอล ส่วนซาร่าห์ต่อมาก็มีบุตรคนหนึ่งชื่ออิสอัคหรือไอแซค (Isaac)

อับราฮัมได้ชื่อว่าเป็นปฐมบรรพบุรุษของชาวยิวและเป็นคนแรกของชาวยิวที่เปลี่ยนจากการนับถือเทพเจ้าจำนวนมากตามที่เชื่อกันในสมัยนั้น มาเป็นนับถือพระเจ้าองค์เดียว และพยายามชักชวนให้ชาวยิวมานับถือพระเจ้าองค์เดียวเหมือนตนด้วย อับราฮัมมั่นคงในพระเจ้าที่ตนนับถือมาก อย่างเช่นเมื่อพระเจ้าลองใจให้ฆ่าไอแซคบุตรของตนเป็นเครื่องเซ่นสังเวยพระองค์ อับราฮัมก็ตกลงทำตาม แต่ขณะที่อับราฮัมกำลังจะฆ่าลูกนั้น พระเจ้าก็ได้มาปรากฏและบอกว่าเป็นเพียงการลองใจเท่านั้น ไม่ต้องการให้ฆ่าจริงๆ และทรงเชื่อแล้วว่าอับราฮัมศรัทธาและภักดีต่อพระองค์จริง ว่าแล้วก็ทรงอวยพรให้อับราฮัมและชาติยิวเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเหตุนี้อับราฮัมจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศรัทธาในศาสนายิว และเมื่ออับราฮัมอายุได้ 99 ปี พระเจ้าก็ได้มาปรากฏแก่อับราฮัมอีก และตรัสว่า "เราจะให้ดินแดนที่เจ้าอาศัยอยู่นี้ คือแผ่นดินคานาอันทั้งสิ้นแก่เจ้าและแก่เชื้อสายของเจ้าที่จะสืบมา ให้เป็นกรรมสิทธิ์นิรันดรและเราจะเป็นพระเจ้าของเจ้า" แต่พระเจ้าก็มีข้อแม้ว่าชาวยิวจะต้องจงรักภักดีต่อพระองค์ตลอดไป และชาวยิวจะต้องทำพิธีกรรมบางอย่างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นผู้มั่นคงต่อพระเจ้าเป็นคนของพระเจ้านั่นก็คือทำพิธีสุหนัต ผู้ชายทุกคนต้องทำพิธีสุหนัต ใครไม่ทำก็แสดงว่า ไม่นับถือพระองค์ ดังพระดำรัสว่า

"เจ้าและพงศ์พันธุ์ของเจ้า จะต้องรักษาพันธสัญญาของเราไว้คือผู้ชายทุกคนจะต้องเข้าสุหนัต เจ้าจงเข้าสุหนัตตัดหน้งหุ้มปลายองคชาติของเจ้า นี่จะเป็นเครื่องหมายสำคัญของพันธสัญญาระหว่างเรากับเจ้า ผู้ชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 8 วัน จะต้องเข้าสุหนัต ชายคนไหนไม่ได้เข้าสุหนัตตัดหนังหุ้มองคชาติจะต้องถูกตัดจากชนชาติของเขา เขาได้ละเมิดพันธสัญญาของเรา"

อับราฮัมจึงจัดทำพิธีให้ชายชาวยิวทุกคนเข้าสุหนัต แม้ตัวอับราฮัมเองซึ่งมีอายุ 99 ปีแล้วก็เข้าทำสุหนัตพร้อมกับอิสมาเอลบุตรชาย เรื่องเข้าสุหนัตนอกจากจะเป็นพิธีสำคัญในศาสนายิวแล้วยังถือเป็นเรื่องจริงจังที่จะต้องทำในศาสนาอิสลามอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ได้วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว แต่ทว่าศาสนาคริสต์ไม่ได้ให้ความสำคัญในพิธีนี้นัก อับราฮัมได้ปกครองชาวยิวเรื่อยมาจนสิ้นชีวิต อัสอัคหรือไอแซคก็ได้รับตำแหน่งหัวหน้าหมู่ชาวยิวต่อมา ไอแซคแต่งงานกับเรเบคาห์และมีบุตรชาย 2 คน คือคนพี่ชื่อ เอซาว ส่วนคนน้องชื่อ ยาโคบ หรือยาคอบ เรบาคาห์รักลูกคนเล็กมาก จึงสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าหมู่ หากสิ้นไอแซคแล้ว ทำให้เอซาวไม่พอใจจึงหาทางทำร้ายยาคอบ จนบิดามารดาเห็นว่าขืนให้ยาคอบอยู่จะเป็นอันตราย จึงส่งไปอยู่กับลุงชื่อ ลาบัน ที่เมืองฮาราน พี่ชายของเรเบคาห์ ต่อมายาคอบได้ลูกสาวทั้ง 2 คน ของลาบันเป็นภรรยา โดยบุตรสาวคนโตชื่อเลอาห์ ส่วนคนน้องชื่อราเซล และต่อมายาคอบได้ภรรยาอีก 2 คนซึ่งก็เป็นสาวใช้ของเลอาห์และราเซลนั่นเอง ยาคอบจึงมีบุตรถึง 12 คน จากภรรยาทั้ง 4 และบุตรทั้ง 12 คนนั้นก็เป็นต้นตระกูล 12 เผ่าของชาวอิสราเอล หรือที่เรียกในกาลต่อมาว่า อิสราเอลลิต หรือลูกอิสราเอล เฉพาะราเซลผู้เป็นภรรยาที่ยาคอบ โปรดปรานมากก็มีบุตร 2 คน คือ โยเซฟ และเบนโอนี่ หรือเบนยามิน ยาคอบได้อยู่ที่ฮารานหลายปีจึงเดินทางกลับภูมิลำเนา ขณะที่ยาคอบเดินทางไปคืนดีกับเอซาวพี่ชายของตนนั้น คืนหนึ่งได้มีบุรุษคนหนึ่งมาปล้ำกับยาคอบ ปล้ำกันจนเกือบสว่างก็ยังไม่มีใครชนะ บุรุษนั้นคือพระเจ้า พระองค์จึงประทานชื่อใหม่แก่ยาคอบว่า อิสราเอล ซึ่งแปลว่าผู้ปล้ำสู้กับพระเจ้า แต่บางตำราก็แปลว่าผู้มั่นคงต่อพระเจ้า เพราะฉะนั้นชาวยิวจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า อิสราเอล ยาคอบโปรดโยเซฟมาก และต้องการมอบตำแหน่งหัวหน้าหมู่ชาวยิวให้แก่โยเซฟ ทำให้พี่น้องคนอื่นๆ ริษยาหาทางทำร้ายโยเซฟ และเมื่อสบโอกาสจึงได้จับโยเซฟขายให้พ่อค้าเมืองมีเดียน และต่อมาพ่อค้าผู้นั้นได้นำโยเซฟไปขายกับโปทิฟาร์ ผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์อีกต่อหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้โยเซฟจึงตกเป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ได้รับความลำบาก แต่ต่อมาได้อาศัยวิชาโหราศาสตร์ที่ตนมีความชำนาญอยู่ไต่เต้าขึ้นไปเป็นถึงอัครมหาเสนาบดีแห่งอียิปต์ เรื่องย่อมีอยู่ว่า1คืนหนึ่งฟาโรห์หรือกษัตริย์อียิปต์สุบินไปว่า ขณะที่พระองค์ประทับอยู่บนฝั่งแม่น้ำไนล์ ก็ทรงเห็นโคอ้วน 7 ตัว ผุดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขึ้นมากินใบอ้อแล้วก็มีโคผอมรูปร่างอัปลักษณ์อีก 7 ตัว โผล่ขึ้นมาจากแม่น้ำไนล์เช่นกัน แล้วได้กินโคอ้วนทั้ง 7 ตัว ฟาโรห์ทรงตกพระทัยตื่นบรรทม แต่ยังทรงง่วงนอนอยู่จึงทรงหลับอีกและก็ทรงสุบินอีกว่า ทรงเห็นต้นข้าวต้นเดียวมีรวง 7 รวง แต่ละรวงดกด้วยเมล็ดข้าวที่เต่งตึง แต่ครู่ต่อมาก็ทรงเห็นข้าวต้นนั้นมีรวงงอกออกมาอีก 7 รวงด้วยกัน แต่ทว่าแต่ละรวงมีแต่เมล็ดข้าวลีบไม่มีเนื้อ และเตรียมไหม้เพราะลมตะวันออก และแล้วรวงข้าวลีบ ก็ได้กินรวงข้าวดีทั้งหมด ฟาโรห์ทรงตกพระทัยมาก จึงทรงมีรับสั่งให้โหรหลวงมาทำนายสุบิน แต่ก็ไม่มีใครทำนายได้ มีคนกราบทูลว่ายังมีอีกคนหนึ่งชื่อโยเซฟ เขามีความสามารถทำนายความฝันได้แม่นยำมาก คงจะช่วยทำนายได้ ฟาโรห์จึงมีรับสั่งให้โยเซฟเข้าเฝ้าทำนายฝัน โยเซฟจึงทำนายว่า พระสุบินของพระองค์ทั้ง 2 เรื่อง หมายถึงอย่างเดียวกัน โคอ้วนพี 7 ตัว หมายถึงปีที่อุดมสมบูรณ์ 7 ปี และรวงข้าวดี 7 รวง ก็หมายถึงปีที่อุดมถึง 7 ปี เช่นกัน ส่วนโคผอม 7 ตัว หมายถึงปีที่อดอยาก 7 ปี และรวงข้าวลีบ 7 รวง ก็หมายถึงปีแห้งแล้งอดอยากถึง 7 ปีเช่นกัน ข้อนี้หมายความว่าประเทศอียิปต์จะมีฝนตกมาก ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ติดต่อกันถึง 7 ปีเช่นกัน แต่หลังจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้งขนาดหนักไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารอะไรได้ อียิปต์จะประสบแต่ทุพภิกขภัยอย่างหนัก อีก 7 ปี ผู้คนจะอดอยากจนถึงลืมปีที่เคยอุดมสมบูรณ์ที่ผ่านมา ส่วนที่ต้องสุบินถึง 2 ครั้ง ก็เพราะพระเจ้าทรงกำหนดไว้แล้วว่าจะให้บังเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ฟาโรห์ได้สดับแล้ว ทรงเชื่อจึงทรงแต่งตั้งโยเซฟให้เป็นอัครเสนาบดี มีหน้าที่ดูแลสุขทุกข์ชาวอียิปต์ทั่วประเทศ และทรงตั้งนามใหม่ให้โยเซฟว่า ศาเฟนาทปาเนอาห์ และทรงประทานอาเสนัท บุตรีของโปทิเฟรา ปุโรหิตเมืองโอนให้เป็นภรรยา

โยเซฟเมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว ก็ให้สร้างยุ้งฉางในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และกาลต่อมาเหตุการณ์ก็เป็นไปอย่างที่โยเซฟทำนาย ประเทศอียิปต์สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารติดต่อกันถึง 7 ปี โยเซฟก็ให้นำธัญญาหารมาเก็บไว้ในยุ้งฉางจนเต็มทั้งหมด และเมื่อสิ้นปีที่อุดมแล้ว ความแห้งแล้งขนาดหนักก็ได้เกิดขึ้น ประชากรอดอยากมาก ก็ได้อาหารจากยุ้งฉางที่โยเซฟให้สร้างไว้ประทังชีวิตสืบต่อมา เรื่องนี้ทำให้ฟาโรห์ทรงโปรดโยเซฟมาก โยเซฟจึงรุ่งเรืองด้วยลาภยศชื่อเสียง ทำให้ชาวยิวทราบข่าวจึงพากันอพยพมาอยู่ในอียิปต์อย่างมากมาย และอยู่กันอย่างมีความสุข เพราะบารมีของโยเซฟ แต่เมื่อสิ้นโยเซฟแล้ว ชาวยิวเริ่มลำบากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ก็เพราะฟาโรห์องค์ใหม่ไม่พอพระทัยที่เห็นจำนวนประชากรยิวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหากขืนปล่อยไว้จะเป็นภัยแก่อียิปต์ จึงทรงทำให้ชาวยิวเป็นทาส เกณฑ์ให้ชาวยิวทำงานหนัก เช่นสร้างปิรามิด เป็นต้น เพื่อชาวยิวจะได้ล้มตายไปเรื่อยๆ เป็นการลดจำนวนประชากรยิวไปในตัว และยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะลดประชากรยิวอย่างได้ผลทันที นั่นก็คือ ให้ฆ่าเด็กชายชาวยิวที่เกิดใหม่ทุกคน ดังที่ฟาโรห์ตรัสว่า1 "บุตรชายเฮบรูทุกคนที่เกิดมา ให้เอาไปทิ้งเสียในแม่น้ำไนล์แต่บุตรีทุกคนให้รอดอยู่ได้" การที่ฟาโรห์ให้ปล่อยเด็กหญิงไว้ก็เพื่อเมื่อเติบใหญ่จะให้แต่งงานกับชาวอียิปต์ จะเป็นการกลืนชาติยิวไปในที่สุด

ศาสนายิวถ้าจะว่าในทางวิชาการแล้วก็ว่าเกิดขึ้นในสมัยโมเสส กล่าวคือมีโมเสสเป็นศาสดา ส่วนประวัติของโมเสสจะได้กล่าวต่อไปเมื่อถึงเรื่องประวัติศาสดา ศาสนายิวเป็นศาสนาของชาวยิวมาตลอดตั้งแต่โมเสสนำมาเผยแผ่และเจริญรุ่งเรืองมากในช่วงที่ชาวยิวมีประเทศของตนเองที่แคว้นคานาอัน ชาวยิวมีประเทศอยู่สุขสบายเป็นเวลาประมาณ 700 ปี แต่ก็มีเคราะห์กรรมที่ต้องตกเป็นทาสของเขาอีก กล่าวคือเมื่อพระเจ้าโซโลมอนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาติยิวสวรรคตในปี 379 ก่อนพุทธศักราช ยิวจึงได้แตกเป็น 2 อาณาจักร อาณาจักรทางเหนือเรียกว่าอิสราเอล ส่วนอาณาจักรทางใต้เรียกว่ายูดา เมื่อแบ่งเป็น 2 อาณาจักร ยิวก็เริ่มอ่อนแอและต่อมาหลังจากสิ้นสมัยของพระเจ้าโซโลมอนแล้วได้ 200 ปี อาณาจักรอิสราเอลก็ตกอยู่ในอำนาจของอัสซีเรียในปี 178 ก่อนพุทธศักราช ชาวยิวถูกจับเป็นทาส ส่งไปทำงานในดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวยิวสาบสูญไปเป็นอันมาก เชื่อกันว่าชาวยิวมี 12 ตระกูลได้ถูกทำลายในครั้งนั้นถึง 10 ตระกูล ส่วนอาณาจักรยูดาก็ประคองตัวมาได้อีก 135 ปี ก็ตกเป็นเชลยของบาบิโลนในปีก่อนพุทธศักราช 43 พวกบาบิโลนได้ทารุณพวกยิวมาก ทั้งได้เผาทำลายบ้านเมืองตลอดถึงวิหารในเมืองเยรูซาเล็มที่พระเจ้าโซโลมอนทรงสร้างไว้ แต่บาบิโลน ก็ปกครองยิวได้เพียง 40 ปี บาบิโลนก็ตกเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซียในปีที่ 3 ก่อนพุทธศักราช ชาวยิวจึงตกอยู่ในอำนาจของเปอร์เซียโดยอัตโนมัติ แต่เปอร์เซียไม่โหดร้ายต่อชาวยิวเหมือนพวกบาบิโลนชาวยิวได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเมืองได้ ชาวยิวจึงมีโอกาสมาซ่อมแซมบ้านเมืองและสร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นใหม่ในกรุงเยรูซาเล็ม แต่ชาวยิวก็มีโอกาสผ่อนความทุกข์ได้ไม่นานตกเป็นทาสของกรีกอีก เพราะเปอร์เซียรบแพ้กรีกในปี พ.ศ. 210 และนอกจากเป็นเชลยกรีกแล้ว ต่อมาก็เป็นเชลยของซีเรียและโรมันตามลำดับอีก ก็ในช่วงที่ยิวตกอยู่ในอำนาจของกรีกและโรมัน ยิวได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส โดยเฉพาะสมัยที่โรมันปกครอง ชาวยิวถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลายรวมทั้งวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นครั้งที่ 2 ชาวยิวต้องกระจัดกระจายไปอยู่ในประเทศต่างๆ ได้รับความทุกข์ทรมานตลอดมา แต่ถึงกระนั้นชาวยิวก็ยังถือตัวเป็นยิว คือ เป็นชนชาติที่พระเจ้าเลือก ยิวจะต้องมีประเทศของตนใหม่ และพระเจ้า จะต้องส่งคนดีมาช่วยชาวยิวอีก ความหวังเหล่านี้เป็นโอสถที่ช่วยเยียวยาชาวยิวซึ่งเป็นไข้หนักตลอดมา และช่วงใดที่ชาวยิวมีความทุกข์เดือดร้อนมากก็มักจะมีศาสดาพยากรณ์1มาช่วยบรรเทาทุกข์ในช่วงนั้น ศาสดาพยากรณ์ของยิวมีอยู่มาก อย่างเช่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 มีศาสดาพยากรณ์ที่สำคัญอยู่ 16 ท่าน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นศาสดาพยากรณ์ใหญ่มี 4 ท่านคือ อิสยาห์ เยเรมีย์ เอเซเคียล และดาเนียล ส่วนอีกกลุ่มเป็นศาสดาพยากรณ์น้อยมี 12 ท่านคือ อามอส มิคาร์ โฮเซอา เศฟันยาห์ ฮะบากุก นาฮูม โยเอล โอบาคีย์ ฮักกัย โยนาร์ เศคาริยาห์ และมาลากี

ศาสดาพยากรณ์เหล่านี้ต่างก็ช่วยบรรเทาทุกข์ให้ชาวยิว เช่นให้ความหวังว่า เมสไซอาห์คือตัวแทนของพระเจ้าใกล้จะมาช่วยแล้ว อาณาจักรของพระเจ้าใกล้จะมาถึงแล้วเป็นต้น ชาวยิวถึงแม้จะกระจัดกระจายไปอยู่ตามประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก แต่ทุกคนถือตัวเป็นยิวและยึดมั่นในขบวนการไซโอน (Zion-movement) ว่าสักวันหนึ่งพระเจ้าจะประทานแผ่นดินให้ยิวอีก เพราะยิวเป็นประชากรของพระองค์ ยิวเป็นชาติที่พระองค์เลือก และต่อมาชาวยิวก็ต้องตื่นเต้นที่เห็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "รัฐของชาวยิว" เขียนโดย ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล (Theodor Herzl) นักเขียนชาวเวียนนา ในหน้าแรกของหนังสือเล่มนั้น ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล เขียนไว้ว่า "ถ้าท่านตั้งใจจริง ก็จะไม่เป็นความฝันอีกต่อไป" และหลังจากหนังสือเล่มนั้นออกมาได้ 1 ปี ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ได้จัดให้เปิดประชุมสากลขบวนการไซออนนิสต์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปรากฏว่ามีผู้แทนชาวยิวมาประชุมจากทุกมุมโลก ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ได้ทำนายไว้ว่าภายใน 50 ปี หลังจาก การประชุมนั้น จะมีประเทศอิสราเอลขึ้นมาอีก และแล้วเหตุการณ์ตามคำทำนายของดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ก็เป็นจริง กล่าวคือ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สภาองค์การสหประชาชาติได้ลงคะแนนสนับสนุน 33 เสียง คัดค้าน 13 เสียง และไม่ออกเสียง 10 เสียง ประกาศให้แบ่งปาเลสไตน์ ออกเป็น 2 รัฐ คือรัฐยิวและรัฐอาหรับ เพราะฉะนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ยิวจึงประกาศเอกราชเป็นประเทศอิสราเอลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมี เดวิด เบนกูเรียน เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรก ประเทศอิสราเอลยังยืนยงมาถึงปัจจุบันนี้ แต่กว่าจะตั้งประเทศขึ้นได้ใหม่ก็ต้องใช้เวลานานกว่า 2,000 ปี ชาวยิวถึงแม้จะมีประเทศของตนใหม่ได้แล้ว แต่ก็ไม่หมดทุกข์ เพราะมีปัญหารอบด้านกับประเทศต่างๆ ใกล้เคียงตลอดทั้งปัญหาชาวปาเลสไตน์ด้วยดังที่ทราบกันอยู่แล้ว

ศาสนายิวเป็นศาสนาเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียวคือพระยะโฮวาห์จะหันเหไปสนใจพระเจ้าอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องราวต่างๆ ในคัมภีร์พันธสัญญาเดิมหรือโตราห์ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้น 1 ของศาสนายูดาจึงมักมีเรื่องพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ และเรื่องพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องก็มีอยู่มากในศาสนาคริสต์ และอิสลามด้วย โดยเฉพาะในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม จะเต็มไปด้วยเรื่องพระเจ้า ทั้งนี้ก็เพราะทั้งศาสนาคริสต์และอิสลามได้วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว ชาวยิวนอกจากจะมีศรัทธาต่อพระยะโฮวาห์ หรือ เยโฮวาห์ หรือยาห์เวห์แล้ว ก็ยังถือโตราห์เป็นธรรมนูญชีวิตอีกด้วย ชาวยิวจะใช้คำสอนในศาสนามาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตและตัดสินปัญหาต่างๆ ทำนองเดียวกับมุสลิมถืออัลกุรอานเป็นธรรมนูญชีวิต เพราะฉะนั้นศาสนายิวนอกจากจะเป็นศาสนาแล้ว ยังเป็นวิถีชีวิตของชาวยิวอีกด้วย

ลัทธิเต๋า

เต๋าเป็นทุกอย่าง เป็นทั้งผู้สร้าง เป็นทั้งคุณธรรมด้านต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงมีผู้ตีความหมายเต๋าไปต่างๆ กัน เช่น เป็นกฏบ้างจารีตบ้าง วิถีชีวิตบ้าง คุณสมบัติบ้าง พระพรหมธรรมชาติบ้าง โมกษะบ้าง และนิพพานบ้าง แต่ในความเห็นส่วนตัว เต๋าน่าจะตรงกับ ธรรมในพุทธศาสนามากกว่าอย่างอื่น เพราะคำว่า ธรรม มีความหมายกว้าง หมายทั้งธรรมชาติ กฎธรรมชาติและผลของธรรมชาติ นอกนี้ยังหมายถึงธรรมหรือคุณธรรมอย่างที่เข้าใจกัน และในความหมายนี้ ธรรมก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับศีลธรรมธรรมดาจนถึงระดับสูงสุดคือนิพพาน ดังนั้นธรรมจึงมีความหมายกว้างที่สุดและลึกที่สุด เต๋าก็เช่นกัน และที่ว่าเต๋าเรียกขนานได้มิใช่เต๋าที่แท้ ก็ทำนองที่ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ตัวสัจธรรม แต่เป็นเพียงคำอธิบายตัวสัจธรรมเท่านั้น ดุจสลากยากับตัวยาก็ฉันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะตัวสัจธรรมเป็นนามธรรมไม่อาจรู้ได้ทางประสาทสัมผัส จะรู้ก็ทางใจเท่านั้น ผู้ที่เข้าถึงตัวสัจธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งเฉพาะตัวว่าสัจธรรมเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่อาจนำมาอธิบายให้คนอื่นเข้าใจอย่างแท้จริงได้เต๋าก็เช่นกัน เป็นเรื่องถกเถียงกันได้ไม่มีที่สิ้นสุดดังกล่าวแล้ว เหลาจื้อทราบความยุ่งยากนี้ดี จึงได้กล่าวว่านักปราชญ์ครั้นสดับเรื่องเต๋าแล้วก็ใครปฏิบัติตามด้วยความพากเพียรผู้ฉลาดปานกลายสดับแล้ว ก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างไม่มั่นคงส่วนผู้ที่ต่ำกว่านั้นสดับแล้ว ก็พากันหัวเราะเยาะ
ความจริงถ้าคนเหลานี้ไม่หัวเราะเต๋าก็จะไม่ใช่เต๋าเท่านั้นเอง…ฯลฯ…จากการได้ศึกษาปรัชญาเต๋า ทำให้เห็นว่าปรัชญาเต๋ามีจุดหมายให้
คนมุ่งเข้าหาทางธรรม สละทางโลก ไม่สนใจลาภยศชื่อเสียง มุ่งหาความสงบ ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ มีขันติ มีเมตตากรุณา และบำเพ็ญสมาธิจิต มีเต๋าเป็นจุดหมายปลายทาง

ศาสนาเชน

ชื่อศาสนา

ศาสนาเชน คำว่า “เชน”มาจากคำว่า “ชินะ” หรือ “ไชนะ” แปลว่า “ผู้ชนะ เป็นชื่อของศาสดาผู้ตั้งศาสนา


สัญลักษณ์ศาสนา

สัญลักษณ์ของศาสนาเชน คือรูปของมหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชน (มีลักษณะ คล้ายพระพุทธรูป แต่เป็นรูปเปลือยกาย เพราะศาสนาเชนถือว่าถ้ายังนุ่งผ้าก็ยังมีกิเลสอยู่คือยังมีอายหรือมีการยึดถือ)



ประเภทของศาสนา

อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่มีชีวะหรือวิญญาณหรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ


ศาสดา

ในศาสนานี้มีศาสดาทั้งหมด 24 องค์ องค์สุดท้ายคือท่านมหาวีระ


วันเดือนปีกำเนิดศาสนา

เกิดก่อนค.ศ.ประมาณ 599 ปีหรือกก่อน พ.ศ. ประมาณ 56 ปี คิดตามสมัยของวรรธมานะหรือมหาวีระ


สถานที่กำเนิดศาสนา

ประเทศอินเดีย


เหตุเกิดศาสนา

เหตุเกิดศาสนาเชนนี้ไม่มีระบุไว้ชัดเจน ศาสนาเชนเชื่อว่า ยุคหนึ่งของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบเจริญ กับรอบเสื่อม รอบเจริญเชื่อว่า “อุตฺสรฺปินี” เริ่มต้นด้วยไม่ดีไปหาความดีขึ้นเจริญขึ้นโดยลำดับอายุของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความสูงใหญ่ของมนุษย์ ตลอดจนคุณความดีเพิ่มมากขึ้นครั้นถึงรอบเสื่อมที่เรียกว่า “อวสรฺปิรี” สิ่งทั้งหลายค่อยๆ เลวลง เสื่อมลง มนุษย์ร่างเล็กลงอายุน้อยลงโดยลำดับ ในแต่ละรอบจะมีชินะ (ท่านผู้ชนะ) หรือ ตีรถังกร (เจ้าลัทธิ) 24 องค์


จำนวนผู้นับถือศาสนา

ประมาณ 4,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)

ศาสนาสิข

ศาสนาสิข (Sikhism) คำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบ ตรงกับคำสันสกฤตว่า “ศิษฺย” แปลว่าผู้ศึกษา หรือศิษย์ หมายความว่าชาวสิข หรือผู้นับถือศาสนาสิขทุกคน เป็นศิษย์ของคุรุหรือครู
คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับการเขียนว่า “ซิกข์” มากกว่า แต่จากคำอธิบายของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ กล่าวว่า “ในด้านการออกเสียงแม้จะออกคำว่า ‘ซิก' แต่ในด้านการเขียน เห็นสมควรจะต้องรักษาภาษาเดิมไว้ จึงเขียนว่า ‘สิข' ตามภาษาปัญจาบ ไม่เปลี่ยนเป็นสิกข์ หรือซิกข์ ตามที่บางท่านต้องการเขียนให้เป็นภาษาบาลี เพราะศาสนานี้ไม่ได้ใช้ภาษาบาลี เพียงแต่มีรากศัพท์ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาบาลีเท่านั้น เมื่อเทียบการเขียนด้วยอักษรโรมัน ‘สิข' เขียนว่า Sikh แต่ถ้าคำว่า ‘ซิกข์' จะต้องเขียนว่า Sikkh ซึ่งวงการผู้แต่งตำราหรือแม้ผู้นับถือศาสนาสิขเองก็เขียนในภาษาอังกฤษว่า Sikh เป็นชื่อศาสนิกชน และ Sikhism เป็นชื่อศาสนา จึงขอชี้แจงไว้เพื่อทราบด้วย”

คันด้า คือสัญลักษณ์ของศาสนาสิข ประกอบด้วย กีรปาน (ดาบของชาวสิข) สองด้าม ,คันด้าตรงกลางหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักร (ห่วงกลม) กลมภายในหนึ่งห่วง
ดามทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจอธิปไตย ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์
วงจักร แสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้าง ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง
ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม


เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม (Monotheism) คือ ยึดมั่นและเชื่อถือในพระเจ้าพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า วาเฮคุรุ พระองค์ไม่มีลักษณะเหมือนคน ทรงเป็นสัตยเทพ ทรงความเป็นเอก เป็นอนันตะ เป็นวิภูเทพ เกิดเอง ทรงสถิตอยู่ทั่วไป ทรงมีพระกรุณาในสรรพสัตว์เท่ากัน

มีศาสดา 10 องค์ ศาสดาองค์แรกชื่อท่านคุรุนานัก

เกิดประมาณ ค.ศ. 1469 หรือประมาณ พ.ศ. 2012 คิดตามปีเกิดของคุรุนานัก

สถานที่กำเนิดศาสนา

ประเทศอินเดียตอนเหนือ แถวมณฑลปัญจาบ



ศาสนานี้เกิดขึ้นเพราะต้องการรวมศาสนา คือรวมศาสนาอิสลามกับฮินดู แต่ไม่สำเร็จกลับเกิดมีศาสนาสิขนี้ขึ้น ในสมัยที่เกิดศาสนานี้เป็นสมัยที่อิสลามกำลังมีอำนาจในอินเดีย เกิดต่อสู้ล้มตายกันทั่วไป เพราะฝ่ายผู้มีอำนาจสู้กับฝ่ายต่อต้าน ผู้เป็นปฐมศาสดาของศาสนานี้เกิดความสลดใจใคร่จะรวมศาสนาเพื่อประสานความร้าวฉานระหว่างพวกฮินดูกับพวกมุสลิม

ประมาณ 23,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)

พุทธเถรวาทและมหายาน

ทัศนะของนักศาสนศาสตร์หลายคนมักจะมองว่า
พุทธศาสนานิกายเถรวาทนั้นเป็นเพียงปรัชญาหรือเป็นหลักจริยธรรม
ที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

สำหรับ พระธรรมปิฎก (สมณศักดิ์ปัจจุบันที่พระพรหมคุณาภรณ์)
ท่านได้แสดงความเห็นในเรื่องไว้ในหนังสือพระพุทธธรรมว่า

คำสอนในพุทธศาสนาดั้งเดิมหรือพุทธเถรวาทนั้นไม่ใช่ปรัชญา
แต่เป็นพุทธธรรม ที่มีลักษณะทั่วไปอันพอสรุปได้ ๒ ประการ ดังนี้

๑. แสดงหลักความจริงตามทางสายกลางที่เรียกว่า มัชเฌนธรรม
ว่าด้วยความจริงตามแนวของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการธรรมชาติ
นำมาแสดงเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น
ไม่ส่งเสริมความพยายามที่จะเข้าถึงสัจจธรรมด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้น
เพื่อความยึดมั่นหรือปกป้องทฤษฎีนั้นๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา

๒. แสดงข้อปฏิบัติตามทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
อันเป็นหลักครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ให้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงมงาย
มุ่งผลสำเร็จคือ ความสุข สะอาด สว่าง สงบ
เป็นอิสระที่สามารถมองเห็นได้ในชีวิตนี้
และการปฏิบัติความสายกลางนี้ควรเป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ
เช่นสภาพชีวิตของบรรพชิต หรือคฤหัสถ์ เป็นต้น

๓.พุทธรรมฝ่ายเถรวาทนั้น เน้นในเรื่องการกระทำ (กรรมวาทและกิริยวาท)
เน้นความเพียร พยายาม (วิริยวาท) มุ่งผลในทางปฏิบัติโวยตนเอง
ภายใต้หลัก อัปปมาทธรรม และ หลักแห่งกัลยาณมิตร

พุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา
หรือศาสนาแห่งความความห่วงหวังกังวล
หากจะถือว่า พุทธธรรมดังกล่าวเป็นปรัชญา
ก็เป็นปรัชญาที่สอนให้มนุษย์พึงพิงตนเองแต่เพียงอย่างเดียว

ส่วนปรัชญาพุทธแบบมหายานนั้น มีหลักปรัชญาอันหลากหลาย
นิกายมหายานจึงมีลักษณะของความเชื่อและการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ดังเช่นนิกายที่อิงอาศัย ปรัชญามาธยมิก
ย่อมแตกต่างจากมหายานที่ยึดถือ ปรัชญาโยคาจาร และ มหายานสุขาวดี
ย่อมแตกต่างจาก มหายานเซน ดังนี้ เป็นต้น

ข้อสรุปความแตกต่างในปรัชญาอันเป็นหลักคำสอนระหว่าง ๒ นิกาย *

๑. ความแตกต่างในเป้าหมายสูงสุด

มหายานยึดในหลักโพธิจิต สอนให้มนุษย์ตั้งความปรารถนาในโพธิญาณ
ไม่ใช่มุ่งปรารถนาในอรหัตญาณดังความเชื่อในฝ่ายเถรวาท
มหายานเชื่อในพุทธการกธรรม ยึดหลักของพุทธบารมีเป็นประทีปนำทาง
แทนการเน้นในเรื่องอริยสัจ ๔ เช่นของฝ่ายเถรวาท

๒. หลักการเชิงคุณภาพและปริมาณของศาสนิกชน

ของฝ่ายเถรวาท คือเอาคุณภาพของศาสนิกชนเป็นสำคัญ
ยึดถือและคงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยแลสิกขาบททุกข้อ
ที่พระพุทธองค์เคยบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด

ส่วนมหายานถือเอาทางด้านปริมาณ
ดังนั้นปรัชญามหายานจึงลดหย่อนผ่อนปรนพระธรรมวินัย
เช่นในเรื่องสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่เป็นเหตุ อปยคมนีย
ที่นำไปสู่อบายภูมิลง คงไว้แต่สิกขาบทที่สำคัญส่วนใหญ่

๓. เงื่อนไขของปณิธานในความปรารถนาพุทธภูมิ

มหายานมีความเชื่อมั่นต่อปณิธานที่ปรารถนาในพุทธภูมิ
ผู้ที่บรรลุโพธิจิตหากมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติสิ่งใดแม้จะขัดกับพระธรรมวินัย
หากแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของพระศาสนา

แม้จะเป็นการกระทำถึงขั้นปาณาติบาตด้วยการเผด็จชีวิตต่อผู้ทรยศต่อพระศาสนา
ก็พร้อมที่จะทำ แม้กรรมนั้นจำต้องทำให้พระโพธิสัตว์ต้องตกนรก
ทั้งนี้เพื่อแลกกับบุญกุศลที่ได้คุ้มครองพระศาสนา

แต่การกระทำนั้นต้องปราศจาก วิหิงสาพยาบาท
เป็นการกระทำที่มหายานถือว่าให้ความเมตตาต่อผู้ที่สร้างอกุศลกรรม
คติธรรมที่ว่านี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์โยคาจารภูมิศาสตร์

ส่วนฝ่ายเถรวาทถือว่า
การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่ว่าด้วยเหตุผลใดใด
ย่อมเป็นบาป ผิดหลัก เบญจศีล
เถรวาทสอนแต่เพียงว่า ให้กล้าที่จะเสียสละแม้แต่ชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งสัจธรรม

เถรวาทไม่เชื่อและสอนให้เชื่อว่า
ปาณาติบาต ไม่ว่ากรณีใดใด จะก่อให้เกิดกุศลกรรมต่อตนเองหรือต่อพระศาสนา

๔. การพัฒนาการเรียนการสอนพระธรรม

มหายาน พัฒนาการเรียนการสอนพระธรรม
เพื่อเพิ่มสมาชิกด้วยลัทธิและพิธีกรรมต่างๆ
รวมทั้งการจัดธรรมสังคีตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประกาศพระศาสนา
ขับกล่อมชักจูงศรัทธาของประชาชน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่มีในฝ่ายเถรวาท

๕. อรรกถาธิบายพุทธมติ

คณาจารย์ที่มีความรู้ในปรัชญามหายาน เช่น ท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ ฯลฯ
ได้เพิ่มอรรกถาธิบายพุทธมติออกไปอย่างกว้างขวาง
มหายานจึงมีกิ่งนิกายหรือนิกายย่อยออกไปเป็นจำนวนมาก มีปรัชญาเฉพาะเป็นของตนเอง
ทำให้พุทธศาสนามหายานมีปรัชญาหลากหลายเหมาะต่อการเลือกเชื่อ เลือกศรัทธา
มีลักษณะที่เป็นทั้ง หลักปฏิฐานนิยม สัจจนิยม อภิปรัชญาและตรรกวิทยา

ส่วนทางเถรวาทยังยึดหลักปรัชญาพุทธตามที่ปรากฏในคัมภีร์ดั้งเดิม
คือพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด จะมีเป็นเพียง อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
ที่มีผู้รู้แต่งขึ้นภายหลังเพื่อการขยายความเพิ่มเติมในอรรถรสที่ไม่ชัดเจนในพระไตรปิฎก

๖. พระสูตร

คณาจารย์มหายานได้พระสูตรขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก
โดยอิงอาศัยพุทธมติ พุทธปรัชญาเดิม
ก็ด้วยเจตนาที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเป็นที่แพร่หลาย
ต่อชนทุกชั้นทุกระดับปัญญา ที่สามารถเลือกเชื่อเลือกนับถือ

คณาจารย์เหล่านี้ประกอบด้วยบุคคลทั้งที่อยู่ในเพศบรรพชิตและฆราวาส
ที่แตกฉานในรสพระธรรม มีการใช้สำนวนกวีชวนอ่านชวนฟังกว่าพระสูตร
ที่ปรากฏในฝ่ายเถรวาทเป็นอย่างมาก

ผู้ที่เคยอ่าน สัทธรรมปุณฑริกสูตร
ที่ อาจารย์ ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ แปลมาจากภาษาฝรั่ง
หรือ หนังสือกามนิต วาสิฏฐี
ที่ ท่านเสถียรโกเศศ และนาคะประทีป แปลมาจากเรื่องที่
คาร์ล เลอ รุป แต่งสดุดีปรัชญาพุทธมหายาน
ย่อมเป็นพยานในความไพเราะเพราะพริ้งของภาษาที่แฝงอยู่
ในอรรถรสแห่งพุทธธรรมแบบมหายานได้เป็นอย่างดี

๗. การดำเนินนโยบายเผยแผ่พระศาสนา

มหายานดำเนินนโยบายการเผยแผ่พระศาสนาโดยมุ่งสามัญชนเป็นเป้าหมายหลัก
เพราะเชื่อว่าปรัชญาพุทธนั้นลึกซึ้งยากต่อการทำความเข้าใจ
แม้แต่ในปัญญาชนที่รับการศึกษาทางโลกมามากแล้วก็ตาม

นอกจากนั้นมหายานยังปรับความเชื่อให้เขากับลัทธิธรรมเนียมดั้งเดิมของสามัญชน
ที่เคยเชื่อถือมาเป็นเวลานาน
ความเชื่อเดิมที่ไม่ขัดกับหลักธรรมใหญ่
หรือแม้ขัดกับหลักธรรมเดิมของพุทธศาสนาเป็นบางส่วน
มหายานจะรับเข้าไว้โดยไม่รีรอ

จึงทำให้ความเชื่อเดิมของชาวมหายานที่เป็นอเทวนิยม
กลายเป็นเทวนิยมไปโดยปริยาย มีพระพุทธเจ้ามากมาย
องค์ที่สำคัญที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์

จนเป็นเหตุให้นักปราชญ์ชาวอินเดียที่ศึกษาพระพุทธศาสนายังไม่แตกฉานทึกทักเอาว่า
พุทธศาสนาคือนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู
พระพุทธเจ้าคือปางที่ ๙ ของพระวิษณุที่อวตารลงมาช่วยแก้ปัญหาให้กับมนุษย์

หากจะลองมาพิจารณาด้วย อหังการ มมังการ
อาจจะตั้งสมมติฐานได้ว่า
มหายานพยายามปรับความเชื่อของตนเองเพื่อจะดึงศาสนิกชาวฮินดูสมัยนั้น
ให้เข้ามายอมรับนับถือในศาสนาของตน
หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นเพราะแนวคิดของมหายาน
ถูกกลืนอย่างไม่รู้ตัวโดยปรัชญาฮินดู

หมายเหตุ :

เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในประเด็นความแตกต่างระหว่าง ๒ นิกายนี้โดยง่ายขึ้น
ผู้โพสต์จึงได้จัดทำเป็นหัวข้อขึ้นเพิ่มเติม
โดยคำอธิบายในแต่ละหัวข้อนั้น ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาเดิมตามต้นฉบับทุกประการ

อาจารย์สมภาร พรมทา สรุปแนวความคิดพื้นฐานของฝ่ายมหายานว่า
มีความแตกต่างจากฝ่ายเถรวาทอยู่ ๒ ประการ

คือ ทัศนะต่อพระพุทธเจ้า กับ ทัศนะต่ออุดมคติสูงสุดในชีวิต ดังนี้

๑. ทัศนะต่อพระพุทธเจ้า

ชาวเถรวาทเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
พระองค์คือผู้ที่ได้ทุ่มเทสติปัญญา
และความเพียรพยายามเพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่ทรงมุ่งหวังคือ นิพพาน

ในทางรูปธรรมพระองค์ทรงมีเนื้อหนังร่างกาย
ที่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกับคนธรรมทั่วไป
อารยธรรมอินคา

อาณาจักรอินคา มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงศตวรรษ 15-16 ภายใต้การปกครองของ ลอร์ดอินคา (Lord Inca) กษัตริย์เทพเจ้า โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ คูซโก (Cuzco) เมืองที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดิส (Andes Mountain)

ชาวอินคารู้จักทำถนนซึ่งวางระบบในการเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ภายในราชอาณาจักรได้เป็นอย่างดีเยี่ยม มีถนนและสะพานเป็นระยะทาง 15,000 ไมล์หรือ 25,000 กิโลเมตร ทำให้ชนชาตินี้สามารถควบคุมผู้คนที่อยู่ในดินแดนห่างไกลได้กล่าล้านคน โดยผู้คนเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าในแถบเดียวกับที่พวกเขาไปพิชิตมาได้ ชาวอินคานั้นจะใช้การเดินเท้าในการเดินทาง จะมีที่พักตามรายทางซึ่งห่างเป็นระยะทางเดินเท้าประมาณ 1 วัน อย่างไรก็ตามเมื่อชาวสเปนได้เข้ามาในดินแดนแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1532 ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่อาณาจักรแห่งนี้รุ่งเรืองถึงขีดสุดนั้น พวกสเปนก็ได้เข้ามาทำลายอารยธรรมที่ชาวอินคา สั่งสมมาด้วยความโลภ ต้องการจะครอบครองทองคำหรือเงินตรา (Inca gold and silver) ต่างๆของชาวอินคานั่นเอง

ประวัติศาสตร์อาณาจักรอินคา

อาณาจักรอินคา ชนเผ่าอินคาอยู่ทวีปอเมริกาใต้ ในเขตเนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศเปรูปัจจุบัน มีนครคูซโคเป็นศูนย์กลางเป็นแหล่งอารยธรรมที่เจริญที่สุดนับเป็นเรื่องแปลกมากที่อาณาจักรอินคา ตั้งอยู่ในเขตที่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งในโลกเรามีดินแดนที่เหมาะสมเช่นนี้เพียงสองสามแห่งเท่านั้น ในปลายศตวรรษที่ 5 อาณาจักรอินคา ได้ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,950,000 ตารางกิโลเมตร อารยธรรมสูงส่งของชาวอินคาที่เป็นแบบอย่างแก่ชนเผ่าแถบอเมริกาใต้มานานนับ พันๆปีที่โดดเด่นมากคือรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมที่ทำให้ประชากรนับตั้งแต่ระดับสูงสสุดขั้นจักรพรรดิลงมาจนถึงชาวไร่ชาวนา ได้ทำงานตามบทบาทตำแหน่งหน้าที หรือสถานภาพอย่างมีประสิทธิภาพและมีอิสระเสรี และความเจริญรุ่งเรืองของชาวอินคายังรวมไปถึง ทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม วิศวกรรมโยธา และระบบชลประทาน

แดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชู ในเดือนกรกฎาคม ปี 1911 นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้พบ ดินแดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชูโดยบังเอิญ นับเป็นดินแดนที่ประหลาด มาก เนื่องจากพบซากเมืองที่เต็มไปด้วยซากหักพังของสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนของชนเผ่าอินคาในอดีตเรียงรายปรากฏอยู่บนยอดเขาสูง ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าชนเผ่าอินคาจะลำเลียงก้อนหินขนาดต่างๆขึ้นไป ก่อสร้างบ้านเมืองตรงนั้นได้ เป็นบ้านเมืองขนาดเล็กที่เต็มไปด้วย ถนน อนุเสาวรีย์ วิหาร และบ้านเรือนที่เรียงรายเป็นระเบียบสวยงาม บ่งบอกถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมอย่างสูง มาชู ปิคชู สร้างอยู่บนยอดเขาโดดเด่นตัดขาดจากโลกภายนอก ห่างไกลนครหลวงคูซโค และสูงกว่าที่ราบลุ่มมาก ตามตำนานเล่าว่า ชาวอินคาสร้างนครนี้เพื่อเป็นที่อาศัยของหญิงพรหมจารี ที่ปฏิบัติ ศาสนกิจถวายสุริยเทพ เรื่องดังกล่าวนี้นักโบราณคดีในยุคปัจจุบัน สันนิษฐานว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของมาชู ปิคชูก็คือ ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสิ่งก้อสร้างที่เป็น อนุสาวรีย์ขนาดมหึมาที่ก่อสร้างด้วยแท่งหินขนาดใหญ่ วางเชื่อม ต่อกันอย่างสมดุล นับว่าเป็นเรื่องแปลกมากว่าพวกเขาเรียนรู้ เทคโนโลยีการขนย้ายแท่งหินขนาดยักษ์มาเรียงรายต่อกันสูงเป็นชั้นๆ ได้เรียบสนิท โดยไม่ใช้ล้อเลื่อนหรือลูกรอกแต่อย่างใด นับเป็นปริศนา ที่ไม่มีใครทราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ผู้นำชนเผ่าอินคาแต่ละยุคเน้นการสร้างถนนที่ดีเชื่อมกับเมืองทุกเมือง ภายในอาณาจักรโดยมีสายหลักสองสายจากเหนือลงไปใต้ และมีถนนสายรองลงมาตัดผ่านไปมา จากตะวันออกไปตะวันตกนับร้อยสาย เชื่อมติดต่อกันระหว่างเมืองและหมู่บ้านต่างๆ การเดินทางในสมัยนั้นชาวอินคาเดินทางโดยทางเท้า ผู้เดินทางมักจะเตรียมเสบียงอาหารตั้งค่ายพักแรม ระหว่างทาง โดยอาศัยตัวลามะลำเลียงไป สำหรับถนนสายหลักมักจะสร้างเรือนพักผ่อนเป็นระยะๆ นักค้นคว้าบางกลุ่มสรุปว่า ถนนหนทางในอาณาจักรอินคาที่เป็นสายหลักมี 2 สาย สายแรกเรียกว่า ถนนกษัตริย์หรือจักรพรรดิ ซึ่งมีชื่อว่า คาปัคนาน สร้างผ่านเทือกเขาแอนดีส จากพรมแดนอาณาจักรที่แม่น้ำอังคัสมาโยผ่าน เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา ลงไปถึงชิลี และไปสิ้นสุดที่เมืองริโอมวล ถนนนี้ยาว 3, 250 ไมล์ และผู้นำชนเผ่าอินคาได้สร้างปราสาทหินไว้เป็นสัญลักษณ์


ชาวอินคาทั้งมวลต่างยกย่องพระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่าชาวอินคามักจะบูชาพระอาทิตย์ ขณะเดินทางบนที่สูงช่วงเวลากลางคืน ชาวอินคาเชื่อว่าลมปิศาจซึ่งเป็นลมที่หนาวเหน็บถึงกระดูกพัดลงมาตามแนวเทือกเขาแอนดิส ในช่วงเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกและมักจะพัดผ่านใต้พื้นโลกตลอดเวลา ทุกๆเมืองของชาวอินคา จะมีก้อนหินสลักขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "อินติฮัวตานา" ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกวันที่พระอาทิตย์โคจรข้ามศีรษะในช่วงเวลาเที่ยง ซึ่งเวลาดังกล่าวชาวอินคาและนักบวชจะไปร่วมชุมนุมทำพิธีบูชาพระอาทิตย์ โดยสวดมนต์ขอบคุณพระอาทิตย์ที่ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น และขอบคุณซา-ปา อินคา โอรสของพระอาทิตย์ชาวอินคาส่วนใหญ่เชื่อว่ากษัตริย์หรือจักรพรรดิของพวกเขาเป็นโอรสของสุริยเทพ อาณาจักรอินคายืนยันว่าทุกเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอินคาต้องสร้างวิหารบูชาสุริยเทพ โดยเฉพาะแต่วิหารบูชาพระอาทิตย์ที่เป็นหลักเป็นศูนย์กลางถือว่าอยู่ในนครคูซโค นครหลวงของอาณาจักรเท่านั้น


ชาวอินคาครอบครองดินแดนบนภูเขาเล็กๆ แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศเปรูในปัจจุบัน พื้นที่บนภูเขาส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนวเทือกเขา รวมทั้งบริเวณที่เป็นที่ราบสูง ที่ราบลุ่มและหุบเหวลึกตรงกลาง ลมตะวันออกที่พัดผ่านเหนือเขตป่าอะเมซอนอันกว้างใหญ่ที่นำฝนไปตกชุกจะค่อยๆจางหายไปทาง ทิศตะวันตก
ชีวิตของชาวเปรูวนเวียนผูกพันกับด้านชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะการประมง ส่วนบนที่ราบสูงก็จะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ และในแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอนที่เป็นป่าทึบ และฝนตกหนักมักได้ผลผลิตเป็นผลไม้ หนังสัตว์ และขนนก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคา คือเมืองคูซโค ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล 3,500 เมตร เมืองมาชูปิคชู จัดว่าเป็นเมืองบนที่ราบสูงที่น่าประทับใจที่สุด เนื่องจากมีบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา หรือความลาดชันสูงขึ้นไปเป็นขั้นๆสวยงามมาก

ชนเผ่าดั้งเดิม

นักโบราณคดีบางคนกล่าวว่า ชนเผ่าอินคาสืบเชื้อสายจากชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงทางภาคใต้นั้นเอง บางทีอาจมาจากชนเผ่าที่อาศัยอยู่ใกล้ๆนครคูซโคเดิม นักมานุษยวิทยาบางคนได้ระบุว่า อาจสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าเควชวน ในช่วงแรกชนเผ่าอินคาปกครองเพียงนครคูซโคเท่านั้น แต่ต่อมาเนื่องจากชนเผ่าต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงพยายามที่จะรุกรานและครอบครองอำนาจ ทำให้ชนเผ่าอินคา ต้องต่อต้านและได้ขยายอิทธิพลครอบคลุมอาณาจักรชนเผ่าต่างๆที่อยู่รอบๆออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 15 ชนเผ่าอินคาได้ปกครองอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่ ขยายพรมแดนกว้างไกลไปจนถึงดินแดนแถบชายฝั่งทะเล และจากเขตเอกวาดอร์ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำมอลในประเทศชิลี ชาวอินคาได้เรียกชื่ออาณาจักรอันยิ่งใหญ่นี้ว่า "อาณาจักรเตฮวนตินซูยู" หมายถึง มหาอาณาจักรแห่งโลก

กษัตริย์หรือจักรพรรดิอินคา

ราชวงศ์กษัตริย์หรือจักรพรรดิอินคา ถือว่าทุกพระองค์เป็นโอรสของสุริยเทพที่ไพร่ฟ้าประชาชนต้องถวายความจงรักภักดี อย่างแท้จริง ถือว่าพระองค์ทรงมีความศักดิ์สิทธิ์ การปกครองของอาณาจักรอินคาจึงเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือเทพเจ้าเป็นหลัก อาณาจักรอินคามีประเพณีต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีคำสั่งและกฎหมายระบุไว้ว่า ห้ามบุรุษทั่วไปแต่งงานกับชนชั้นในครอบครัวหรือตระกูล เดียวกัน หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษโดยการควักนัยน์ตาออกมากลายเป็นคนตาบอด นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า อาณาจักรอินคามีประเพณีสำหรับชนชั้น ระดับสูงสุด คือองค์จักรพรรดิโดยเฉพาะ เนื่องจากมีผลต่อการสืบต่อราชบัลลังก์ในสายของจักรพรรดิที่สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดเท่านั้น

การปกครองบ้านเมือง

จักรพรรดิทรงเลือกคณะองคมนตรีเพื่อถวายคำปรึกษา แต่พระราชดำรัสของพระองค์ถือว่าเป็นกฎหมาย ทรงต้องพิจารณาแผนการรบ และการทำสงคราม ก่อนลงพระปรมาภิไธย ไม่มีสิ่งก่อสร้างหรือเมืองใดสร้างขึ้นเองโดยพระองค์มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต

สังคมชนเผ่าอินคา

ระบบการแบ่งชนชั้นทางสังคมของชนเผ่าอินคา นับว่าเป็นระบบที่จัดลำดับไว้ดีมาก ชาวอินคาทุกคนนับตั้งแต่จักรพรรดิ ลงมาจนถึงบุคคลชั้นต่ำ ชาวไร่ชาวนา จะรู้จักตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ทั้งในการปรับตัวและการทำงานตามภาระหน้าที่ ระดับชนชั้นมีดังนี้ 1. บุคคลระดับสูงสุด คือ จักรพรรดิ และอัครมเหสี
2. กลุ่มนักบวชชั้นสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสูงสุด
3. กลุ่มผู้บริหารระดับสูงทั้งสี่ เรียกว่า เอ-ปัซ
4. กลุ่มผู้บริหารชั้นพิเศษ เช่น กลุ่มคณะลูกขุน กลุ่มสถาปนิก
5. กลุ่มช่างฝีมือหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น ช่างโลหะ ช่างไม้ นักดนตรี กลุ่มศิลปิน
6. กลุ่มประชาชนทั่วไป

ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

ชาวอินคาเชื่อว่าพลังชีวิตของมนุษย์ไม่ได้หายสาบสูญไปหลังจากตายแล้ว มันยังอยู่ใกล้ร่างคนตาย ได้รับประทานอาหาร และได้ดื่มสิ่งต่างๆราวกับคนมีชีวิต ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงพยายามรักษาศพของบรรพบุรุษไว้ให้คงความอมตะเช่นเดียวกับ ชนเผ่าไอยคุปต์โบราณ นอกจากนั้นชาวอินคายังเชื่อว่ากษัตริย์หรือจักรพรรดิของพวกเขา ที่เสด็จสวรรคตแล้วคือเทพเจ้า ด้วยเหตุนี้ จึงมีพิธีกรรมทำมัมมีพระศพไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาตลอดไป หรือเท่ากับรักษาวิญญาณของกษัตริย์ให้คงอยู่ มันมีของกษัตริย์ชาวอินคามันจะอยู่ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์ และมีผู้คอยดูแลรักษาถวายเครื่องเซ่น และเปลี่ยนเครื่องทรงอยู่เสมอง ในช่วงวันเฉลิมฉลองพิธีกรรมทางศาสนา มักจะแห่มัมมีกษัตริย์ไปตามถนนสายสำคัญในกลางนครคูซโคเมืองหลวงของอาณาจักร อินคาเสมอ ชาวอินคาถือว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตายมีความสำคัญมากมายหลายประการ พวกเขาเชื่อว่าผลบุญกุศลของบรรพบุรุษ เป็นความปรารถนาหรือพรอันศักดิ์สิทธิ์แก่การเก็บเกี่ยวพืชผล และศพนั้นถือเป็นสื่อกลางนำข่าวสารมาสู่คนที่มีชีวิต ด้วยเหตุดังกล่าวชาวอินคาจึงมีพิธีกรรมทำมัมมีบุคคลที่สำคัญ นับตั้งแต่ระดับกษัตริย์หรือจักรพรรดิลงมา ลักษณะการทำมัมมีคล้าย กับการทำมัมมีของชาวไกอัยคุปต์บางส่วน เช่น นำอวัยวะจำพวกตับไตไส้พุงออกมา แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ภายในและภายนอก ร่างศพทาด้วยน้ำมันชนิดหนึ่ง จากนั้นก็ทำให้แห้งด้วยวิธีเดียวกันกับการถนอมอาหารจำพวกเนื้อหรือมันฝรั่ง ด้วยวิธีการอาศัย พลังงานแสงอาทิตย์ ที่แปลกและแตกต่างจากมัมมีไอยคุปต์ก็คือมัมมีของชาวอินคามักจะงอตัวหรือคุดคู้ในท่าเด็กทารก ในครรภ์มารดา

การทำมัมมี่ วิญญาณ และพลังประหลาด

ชาวอินคามีความเชื่อมั่นและเคารพในมัมมีศพบรรพบุรุษ มีการตกแต่งมัมมีนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าชนิดคุณภาพดี และสวยงามคลุมด้วยเครื่องประดับจำพวกเพชร พลอย ทองคำ และสิ่งมีค่าเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึง เป็นสิ่งล่อใจทำให้พวกทหารสเปนหลายกลุ่มในสมัยนั้น รวมทั้งนักแสวงโชคจากที่ต่างๆเข้าไปขโมยทรัพย์สมบัติ ในหลุมฝังศพเป็นจำนวนมาก ชาวดินคามีพิธีกรรมทำมัมมีบุคคลที่สำคัญ นับตั้งแต่ระดับกษัตริย์หรือจักรพรรดิลงมา ลักษณะการทำมัมมีคล้ายกับการทำมัมมีของชาวไอยคุปต์บางส่วนต่างกันที่มัมมีชาวอินคามักจะงอตัวหรือคุดคู้ในท่า เด็กทารกในครรภ์มารดา ชาวอินคาไม่นิยมฝังมัมมีแต่จะวางไว้ตามธรรมขาติในโพรง หลุมหรือถ้ำ

พิธีกรรมลอยศพกลางแม่น้ำ

นอกจากนั้นชาวอินคายังมีประเพณีลอยศพคนตายกลางแม่น้ำ กล่าวคือหากบ้านใดมีคนตาย บรรดาญาติมิตรก็จะนำศพ เครื่องใช้ประจำตัวรวมทั้งบรรดาเครื่องเซ่นที่มีเมล็ดพืช อาหารแห้ง อาวุธ เครื่องประดับ นำไปลอยกลางแม่น้ำเพื่อให้วิญญาณคนตายมีความบริสุทธ์ เพื่อลบรอยมลทินของคนตายออกไปบ้าง

ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณและพลังที่แอบแฝง

ชาวอินคามีความเชื่อว่า บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างหรือวัตถุต่างๆมีพลังลึกลับแฝงอยู่ โดยเฉพาะสถานที่ ต่างๆก็นับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ และสิ่งเหล่านี้มีชื่อสรุปว่า "ฮัวคา" นอกจากนั้นชาวอินคายังเชื่อว่า ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณอาศัยอยู่ พวกพืชและสัตว์ต่างๆก็มีวิญญาณแฝงอยู่ด้วย ชาวอินคาทั่วไปมีความเชื่อว่าการรักษาศพคนตายไว้ให้ดีราวกับมีชีวิตอยู่ เพื่อว่าวิญญาณจะกลับมาสู่ร่างเดิมอีก ชาวอินคาวางมัมมี ของคนตายไว้ในบ้านผู้ที่มีฐานะดีจะสร้างรูปปั้นทองคำเล็กๆแทนคนตายไว้หน้ามัมมีศพ แต่ละวันจะเซ่นด้วยอาหารต่างๆราวกับว่า คนตายยังมีชีวิตอยู่

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชนเผ่าอินคา

กฎหมายอาชญากรรมและบทลงโทษ

ชาวอินคาทั่วทั้งอาณาจักรทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เนื่องจากพวกเขาได้รับ บริการหรือสิ่งที่ต้องการและจำเป็นต่อชีวิตแทบทุกอย่างด้วยเหตุนี้ตามชุมชนต่างๆจึงไม่มีผู้ร้ายเท่าใดนัก ที่น่าประหลาด ก็คือ ทั่วทั้งอาณาจักรไม่มีคุกตะรางขังนักโทษ ความผิดที่นับว่าร้ายแรงที่สุดคือ การฆาตกรรม ซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย และสบประมาทเทพเจ้า ผู้กระทำจะถูกลงโทษจนสิ้นชีวิตอย่างโหดเหี้ยม เช่นวิธีทีมักปฏิบัติก็คือถูกจับโยนตกลงไปจากหน้าผา สูงชัน ทำให้ศพกระทบหินเบื้องล่างแหลกละเอียด
ชายที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่นก็จะได้รับโทษโดยถูกแขวนร่างที่เปลือยเปล่าในที่สาธารณชน ให้ผู้คนหัวเราะเยาะและต้องทนทุกข์ ทรมานไปจนตาย ส่วนผู้บังอาจดูหมิ่นเทพเจ้าจะถูกจะถูกแขวนกลับหัวลงดิน และจะต้องถูกควักท้องเอาลำไส้ออกมา
อาชญากรที่โทษเบา จะถูกลงโทษเพียงตัดมือ ตัดเท้า หรือถูกควักนัยน์ตาออกมา นักโทษที่โชคร้ายบางกลุ่มจะถูก ขังโดยได้รับประทานอาหารตามปกติแต่พวกเขาจะถูกนำไปนั่งขอทานหน้าประตูเมืองที่อยู่ใกล้ที่สุดทุกวัน เพื่อให้ชาวเมืองต่างๆได้มองเห็นผลของการทำผิด และได้รับโทษทัณฑ์อย่างไร


กองทัพ

กองทัพชนเผ่าอินคาส่วนใหญ่จัดว่าเป็นกองทัพทหารเกณฑ์ที่แท้จริง ในช่วงที่อาณาจักรอินคา แบ่งเป็นรัฐอิสระที่จักรพรรดิซึ่งเป็นหุ่นเชิดของทหารสเปนปกครอง ผสมผสานกับยุทธศาสตร์การรบของตนที่สืบทอด มาจากบรรพบุรุษ ทำให้พวกเขาได้พัฒนาความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในยุคหลังทหารอินคาสามารถรบชนะชนเผ่า ต่างๆตามพรมแดนรอบๆ ชนเผ่าอินคาได้กลายเป็นผู้นำในด้านบริหารกองทัพที่เข้มแข็งในยุคหลัง พวกเขาได้เริ่มว่างรูปแบบการเมืองของตน ให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจากปี 1437 กองทัพชนเผ่าอินคาไม่เคยรบแพ้ใคร แต่บางครั้งนักรบหรือทหารอินคาได้ กระทำการรุนแรงเกินไป เช่นการสังหารหมู่พวกศัตรูในสมรภูมิหลายครั้ง จนกลายเป็นประเพณีที่ยึดถือกันเป็นเชลย ผูกไว้กับต้นเสาหน้าวิหารสุริยเทพนครคูซโค จากนั้นถูกตัดคอแล้วนำมาทำเป็นถ้วยดื่มเลือด หารกเป็นศัตรูที่ชาวอินคา เกลียดแค้นเป็นพิเศษ ศพจะถูกนำไปสตัฟฟ์ล้อเลียนดังมัมมีของชนเผ่าหนึ่ง ถูกถลกหนังตากแดดประจานต่อสาธารณชน ปัจจุบันยังเหลือมัมมีศพของชนเผ่าชันคาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง

ศาสตร์ลับคีปู

คำว่าคีปู หมายถึง เชือกหรือปมเงื่อน ซึ่งคนเดินหนังสือส่งต่อทอดระหว่างกัน คีปูมิใช่การ เขียน แต่เป็นวิธีที่ใช้ในกระบวนการบันทึกความจำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆทีสื่อสารระหว่างกันในหมู่ชนเผ่าอินคา
เชือกที่ผูกปมเงื่อนยังใช้การนับซึ่งเอาเลข 10 เป็นพื้นฐานด้วย นอกจากนั้นเชือกปมคีปูทั้งหมดต้องมีสัญลักษณ์ แทนภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย ในการนับมีทั้งสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์ จนกระทั่งนับถึงเลขจำนวนพัน เช่น ในกรณีนับ จำนวนคนในชุมชนแต่ละแห่ง เขาก็นับจำนวนปมเงื่อนแต่ละปมขนาดแตกต่างกันตามที่ได้ทำไว้ แทบไม่น่าเชื่อว่าชนเผ่าอินคารู้จักวิธีถลุงแร่ทองคำขึ้นมาใช้ ถึงกับมีเหมืองทองคำหายแห่ง แต่ไม่มีใคร ทราบว่าปริมาณการผลิตทองคำภายในอาณาจักรอินคามีเท่าใด แต่จากการบันทึกปู ซึ่งได้มีผู้แปลให้ทหารสเปนได้ทราบเรื่องราวที่ได้ระบุไว้ว่า ทองคำที่ลำเลียงส่งไปยังเมืองหลาวง คูซโคตกปีละเจ็ดล้านออนซ์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่า กษัตริย์ฟุ่มเฟือยมาก

ปริมาณการผลิตทองคำในอาณาจักรอินคา


ภายหลังจากกษัตริย์หรือจักรพรรดิของอาณาจักรอินคาแต่ละยุคเสด็จสวรรคตแล้ว ชาวอินคานิยมหล่อรูปปั้นทองคำให้มี ขนาดเท่าพระองค์จริงในขณะยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ใช้ทองคำตกแต่งประดับภายในห้องต่างๆ เขตพระราชวังหรือแม้แต่ ภายในห้องเก็บพระศพอย่างหรูหรา เมื่อครั้งกษัตริย์อะตาฮวลปาทรงถูกจับเป็นเชลย พระองค์ได้เสนอมอบสมบัติที่เป็นทองคำทั้งหมด เก็บรักษาไว้ภายในห้องขนาดใหญ่ ยาว 25 ฟุต กว้าง 15 ฟุต สูง 5ฟุต เป็นค่าไถ่พระองค์ เล่ากันว่าสมบัติที่พระองค์มีมูลค่ามากกว่า 13 ล้านเปโซ รวมทั้งทองคำรูปพรรณ และเครื่องประดับทองคำอื่นๆทีกองทับถมกันภายในห้องอีกมหาศาล

นางห้าม

นางห้ามของชนเผ่าอินคาเรียกว่า "แอคลา" เป็นหญิงโสดที่สาบานตนเป็นข้ารับใช้กษัตริย์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญระดับสูง ตั้งแต่อายุ 13 หรือ 14 ปี คัดเลือจากบรรดาหญิงสาวที่สวยที่สุดของชุมชนกลุ่มน้อย แต่ละกลุ่ม ที่แยกออกไปจากชุมชนใหญ่ ใช้ชีวิตตามลำพัง ลักษณะพิเศษของนางห้ามก็คือ ห้ามสมารถหรือห้ามมีความสัมพันธ์กับชายใด โดยไม่ไดรับอนุญาตจากกษัตริย์ หรือผู้ที่มีอำนาจสูงที่ได้รับมอบหมาย ชายใดที่บังอาจล่วงล้ำเข้าไปในเขตที่พักอาศัยของนางห้ามจะได้รับโทษประหารชีวิต และตระกูลของเขาจะถูกประณามเสื่อมเสียตลอดไป นางห้ามมีลักษณะคล้ายหญิงพรหมจารีที่อุทิศตนกระทำภารกิจต่างๆสำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิ เช่น ทอผ้าเป็นต้น เมื่อครั้งที่ทหารสเปนเดินทางเข้าไปยังเมืองคาซัส ได้พบศพชายสามคนแขวนบนกิ่งไม้ข้างทางเมื่อสอบถามจากชนพื้นเมือง ก็ทราบว่า ชายทั้งสามคนบุกรุกเข้าไปในย่านที่อยู่ของนางห้าม

การแต่งกายของชนเผ่าอินคา

ชนเผ่าอินคาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าต่างๆตามสถานภาพและตำแหน่งในสังคม รูปแบบการ แต่งกายเป็นแบบเรียบเหมือนกัน สำหรับข้าราชบริพารฝ่ายชายนิยมสวมเสื้อคลุมรัดเอวเหนือเข่า และสวมเสื้อ คลุมทับอีกชั้นหนึ่ง ส่วนสุภาพสตรีแต่งกายด้วยเสื้อคลุมยาวเลยเข่าลงมา มีผ้าคาดเอว

ลักษณะผังเมืองต่างๆในอาณาจักรอินคา

เมืองขนาดใหญ่แทบทุกเมืองภายในอาณาจักรอินคา มักจะมีผังเมืองคล้ายคลึงกัน นั่นคือ ทุกเมืองจะต้องมีวังที่ประทับสำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีที่พักของผู้ว่าการประจำเมือง มีถนนหนทางหลักตัดออกไปทางทิศเหนือ และทิศใต้จะมีจุดรับข่าวสารคีปู ใจกลางเมืองมักจะเป็นลานกว้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่เรียกว่าพลาซ่า รอบบริเวณด้านทิศต่างๆจะเป็นศูนย์ปฏิบัติงานหรือศูนย์บริหารบ้านเมือง ใกล้วังที่ประทับมักจะเป็น บริเวณที่พักของนางห้าม ซึ่งเป็นเขตลับตา นอกจากนั้นด้านตะวันตกเฉียงใต้ จะมีบริเวณที่สร้างอาคารเก็บเสบียงอาหาร ไว้บริโภคตลอดปี ด้านตะวันตกเฉียงเหนือมีเขตที่พักของบรรดาช่างฝีมือเพื่อผลิตงานตามคำสั่งของจักรพรรดิและสำหรับใช้ ในพิธีกรรมทางศาสนา จากหลักฐานต่างๆที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด สรุปได้ว่าอารยธรรมอินคาเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าอารยธรรมอื่นใน เขตอเมริกาใต้ นับเป็นเรื่องประหลาดมากทั้งที่อาณาจักรส่วนใหญ่ของชนเผ่าอินคาอยู่ในเขตที่มีอากาศร้อนจัดมาก แต่ก็มี ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อ แต่ประเด็นที่ยังเป็นปริศนาลับเกี่ยวกับชนเผ่าอินคามาจนกระทั่ง บัดนี้ก็คือ ชนเผ่าอินคาได้รับมรดกทางวัฒนธรรมมาจากชนเผ่าใด เพราะเหตุใดผลงานทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ของชนเผ่าอินคาจึงคล้ายคลึงกับอารยธรรมของชนเผ่าไอยคุปต์ทั้งๆที่อยู่ห่างไกลกันคนละทวีป

ศาสนาและพิธีกรรมประหลาดของชาวอินคา

ศาสนาของชนเผ่าอินคาเกี่ยวพันกับเทพเจ้าอย่างลึกซึ้ง เทพเจ้าที่ชาวอินคาเคารพบูชา มักจะเป็นเทพที่เป็น สัญลักษณ์อำนาจของธรรมชาติ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ หรือสุริยเทพที่เรียกว่า "อินติ" เทพีแห่งดวงจันทร์ หรือจันทราเทวี ที่เรียก ว่า "ควิลลา" ชาวอินคาถือว่าบิดาแห่งเทพและเทพีทั้งปวงคือ"เทพวิราโคชา"ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างโลก เป็นทั้งพระบิดาและพระ มารดาของสุริยเทพและจันทราเทวี เล่ากันว่าเทพวิราโคชาสร้างมนุษย์คนแรกบนโลกด้วยดินเหนียว พิธีเฉลิมฉลองของชาวอินคาใน โอกาสต่างๆมักเกี่ยวพันกับศาสนาเสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พิธีเฉลิมฉลองซีทัว

งานเฉลิมฉลองซีทัวถือว่าเป็นพิธีใหญ่ที่สำคัญต่อชีวิตชาวอินคาทุกคนผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงจะมีส่วนร่วมโดยนำรูปภาพหรือรูปปั้นที่ พวกเขาเคารพนับถือไปไว้ในบ้านที่อยู่ในนครคูซโคสาเหตุที่มีการเฉลิมฉลองเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูฝนทำให้ประชาชนทั่วไปเจ็บไข้ไม่สบายด้วยเหตุนี้จึง ต้องทำพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายอำนาจปิศาจที่พวกเขาคิดว่าเป็นต้นเหตุ พิธีเฉลิมฉลองจะกระทำในวันพระจันทร์เต็มดวงโดยเริ่มพิธีในเวลาเที่ยงตรงทุกคนจะไปรวมกันที่ลานหน้าวิหารสุริยเทพและนักบวชชั้นสูงจะนำสวด บูชาสุริยเทพเพื่อให้สุริยเทพขับไล่โรคร้าย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากแผ่นดิน

การล่มสลายของอาณาจักรอินคา

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1532 ฟรังโก พิซาร์โรนักผจญภัยชาวสเปนพร้อมทั้งกองคาราวานได้เดินทาง จากปานามาลงมาทางภาคเหนือของเปรูเพื่อต้องการเผชิญหน้ากับอะตาฮวลปาจักรพรรดิองค์ล่าสุดของอาณาจักรอินคา ฟรังโกพร้อมทั้งกองทหารม้า 63 คนและทหารราบ 200 คน เดินทางลงมาจนถึงเมือง คาจามาร์คา ในขณะเดียวกัน อะตาฮวลปาได้เดินทางจากเมืองคีโตลงมายังเมืองคูซโค เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาเพื่อเข้าร่วมพิธีสถาปนา แต่งตั้งพระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 และได้รับสั่งให้ขุนนางนำของกำนัลที่มีราคาไปมอบให้ฟรังโก แล้วเชิญเข้าเมืองด้านฟรังโกก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีในระยะแรกเขาทราบดีว่ากองทัพอินคาโอบล้อม จักรพรรดิของพวกเขาไว้อย่างแน่นหนาและฟรังโกได้มั่นใจในอาวุธที่ทันสมัยกว่าหลายเท่าเขาสามารถเอาชนะได้ไม่ยากทุกเมื่อที่ต้องการ

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่จักรพรรดิอะตาฮวลปายินยอมต้อนรับทหารสเปน เนื่องจากเชื่อตามข่าวลือที่ว่าจะมีเทพเจ้าผิวขาวหรือที่เรียกว่าเทพเจ้าวิราโคชา ตามตำนานที่ระบุไว้ว่าเดินทางมาจากโพ้นทะเลจะนำเอาวัฒนธรรมสูงส่งมาให้ซึ่งนับว่า เป็นเรื่องแปลกตำนานโบราณของชาวแอซแต็ก ชาวมายา ชาวอินคา และชนเผ่า อินเดียนแดงอื่นๆต่างเชื่อถือและรอคอยเทพเจ้าผิวขาวเช่นเดียวกัน

แผนยึดอาณาจักร

จักรพรรดิอะตาฮวลปาสนพระทัยที่จะผูกมิตรกับทหารสเปน เพื่อหวังให้เป็นกำลังช่วยต่อต้านพระเชษฐาต่างพระมารดา ซึ่งเป็นศัตรูของพระองค์ ในที่สุดฟรังโกได้ให้น้องชายคือ เฮอร์นันโด พิซาร์โร เข้าเฝ้าแทนเพื่อเจรจาตกลงที่จะพบกับฟรังโกที่จัตุรัสกลางเมือง ตามความประสงค์ของฟรังโก เมื่อถึงวันนัด ฟรังโกได้วางแผนจับตัวจักรพรรดิอะตาฮวลปา โดยสั่งให้ทหารปลอมตัวเป็นทหารอินคาแอบซ่อนอยู่ ใกล้บริเวณนั้น หากเขาเกล่าวถึงนามเซนต์เจมส์เมื่อใด ให้รีบแสดงตัวพร้อมปฏิบัติการทัน ภาพที่ฟรังโกตกตะลึงก็คือ ขบวนแห่ที่อลังการของจักพรรดิอะตาฮวลปา จักรพรรดิทรงแต่งพระองค์ด้วยผ้าแพรและเครื่องประดับที่แสดง ถึงความมั่งคั่งของอาณาจักรอินคา การเจรจาได้เริ่มขึ้นโดยฟรังโกแสร้งว่าจุดประสงค์ของการมาที่นี่ก็เพื่อเผยแพร่ศาสนาของตนแก่ชาวอินคา ฝ่ายจักรพรรดิได้ฟังดังนั้นก็ทรงโกรธและได้บอกว่าพวกตนชาวอินคา มีเทพเจ้าที่นับถืออยู่แล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ทันใดนั้นฟรังโกก็ได้สั่ง ให้ทหารที่แฝงตัวอยู่ปรากฏตัวและเข้าโจมตีฝ่ายทหารอินคา และด้วยอาวุธที่ทันสมัยกว่าทำให้ชาวสเปนได้รับชัยชนะในที่สุด ทหารฝ่ายอินคาล้มตาย เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทหารสเปนไม่สิ้นชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว ส่วนองค์จักรพรรดินั้นได้ถูกจับกุมอย่างน่าสมเพช ทรงตกเป็นเชลย แต่ฟรังโก และทหารสเปนก็ได้ปฏิบัติกับพระองค์อย่างเหมาะสม โดยยินยอมให้พระองค์เสด็จกลับวังไปบวงสรวงสุริยเทพ และได้พบมเหสี โอรสและธิดาได้
ในที่สุดอาณาจักรอินคาอันยิ่งใหญ่ก็ถึงกาลอวสานอย่างน่าเศร้า จักรพรรดิอะตาฮวลปาได้ยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนอิสราภาพแก่ฟรังโก ว่าจะ มอบทองคำและทรัพย์สมบัติมหาศาลจากทั่อาณาจักรที่เก็บไว้ภายในราชสำนักเป็นค่าไถ่ตัว แต่ฟรังโกไม่สนใจ ต่อมาฟรังโกได้หาทางกำจัดพระองค์ โดยกล่าวหาว่าจักรพรรดิอะตาฮวลปาหักหลังเรื่องค่าไถ่ และมีความผิดต้องถูกปลงพระชนม์ในฐานะคนนอกรีต ซึ่งต้องถูกเผาทั้งเป็น ข้อกล่าวหานี้ ทำให้ชาวอินคารู้สึกตกใจเพราะหากพระศพถูกเผาแล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้รักษามัมมีศพของพระองค์ไว้ได้เลย ต่อมาพระองค์ได้ถูกประหารโดยวิธีตัด พระเศียรแทน

อารยธรรมจีน

อารยธรรมจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
• ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
• ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
• ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
• ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
• ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
• ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
• ราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์แรกของจีน
 มีการปกครองแบบนครรัฐ
 มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
 มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
• ราชวงศ์โจว
 แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์
 เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
 เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
 เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
 เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
 เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
 เน้นความสำคัญของการศึกษา
 เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
 เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
 เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
 ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
 คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
• ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
 จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
 มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด
• ราชวงศ์ฮั่น
 เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ และอินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม ( Silk Rood )
 ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
 มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน
• ราชวงศ์สุย
 เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
 มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
• ราชวงศ์ถัง
 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
 พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป
 เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
 ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
• ราชวงศ์ซ้อง
 มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
 รู้จักการใช้เข็มทิศ
 รู้จักการใช้ลูกคิด
 ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
 รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
• ราชวงศ์หยวน
 เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
 ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
• ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
 วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
 ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
 สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
• ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
 เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
 เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
 ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก


จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์
• ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1.หลักเอกราช 2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน 3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ
พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด
• ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก
• ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน
• ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา
• ดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง
• เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต
• หลังจาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีน
• แต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎร
• จีนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้
• เหมา เจ๋อตุง สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น
• หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง

อนุสรณ์สถานประธานเหมา เจ๋อตุง


ศิลปวัฒนธรรมของจีน
• จิตรกรรม
 มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
 งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
 สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
 สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
• ประติมากรรม
 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต
 สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
 สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
 สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
• สถาปัตยกรรม
 กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
 เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
 พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
• วรรณกรรม
 สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
 ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
 ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
 จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
 หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน
การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ
อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง



อารยธรรมจีนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโห คือที่ราบตอนปลายของแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง อารยธรรมจีนเจริญโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยเพราะทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกและทิศเหนือเป็นทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขา จีนถือว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นแหล่งกำเนิดความเจริญ แหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่พบมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลที่ตำบล ยางเชา เรียกวัฒนธรรมยางเชา มณฑลเฮอหนาน และวัฒนธรรมลุงชาน ที่เมือง ลุงชาน มณฑลชานตุง พบ เครื่องมือ เครื่องใช้ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา กระดูกวัว กระดองเต่าเสี่ยงทาย


ราชวงศ์ที่สำคัญของจีน
ราชวงศ์ ชาง เป็นราชวงศ์แรกของจีน ประมาณ 1,500 ปีก่อนค.ศ. ที่เมืองอันยาง มณฑลโฮนาน เริ่มมีการตั้งชุมชน และการปกครองแบบนครรัฐ ลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการประดิษฐ์อักษรภาพ 5,000 ตัวเขียนบนกระดองเต่า มีเทพเจ้าที่สำคัญคือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์
มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ เซ่นไหว้เทพเจ้าราชวงศ์นี้สิ้นสุด ประมาณ 1,000 ปีก่อนค.ศ.
ราชวงศ์โจว 1,000-221 ปี ก่อน ค.ศ. ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของสมัยศักดินา (ระบบเฟิงเจี้ยน)และถือว่าเป็นยุคคลาสิกของจีน
1. มีการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ที่สนับสนุนราชวงศ์ กำหนดสิทธิหน้าที่ตามลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์
2. มีการแต่งตั้งผู้แทนกษัตริย์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
3. มีการกำหนดหลักเกณฑ์ “เทียนมิ่ง” (อาณัติสวรรค์) มอบอำนาจให้กษัตริย์ราชวงศ์โจวปกครอง กษัตริย์มีฐานะเป็นโอรสสวรรค์ ถ้าปกครองด้วยความยุติธรรม หากปกครองโดยไร้คุณธรรมกษัตริย์จะถูกเพิกถอนจากผู้ทรงคุณธรรม ถือเป็นแนวคิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีนตลอด 2 พันปี
4. เกิดนักปรัชญาเมธีที่ส่งผลให้ราชวงศ์โจวเป็นยุคทองของภูมิปัญญาที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยม ปรัชญาของสังคมจีนในสมัยนี้ ระบบราชการจะยึดแนวอุดมการณ์ของขงจื๊อ คือผู้ปกครองเป็นตัวแทนของกษัตริย์ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน แนวคิของขงจื๊อและเล่าจื๊อ มุ่งแสวงหาหลักของศีลธรรมจรรยาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เน้นการทำหน้าที่ของตน
ระบบครอบครัว ของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของขงจื๊อ
หลักคำสอนของขงจื๊อ ถือว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมที่สุดคือเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
แนวคำสอนที่เป็นพื้นฐานของภูมิปัญญาจีนที่เชื่อว่าปัญหาต่างๆในสังคมเกิดจากคนแต่ละคน การแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการฝึกฝนตนเองการอบรมตนเอง และสามารถปกครองครอบครัวได้เมื่อปกครองครอบครัวได้ก็สามารถปกครองแค้วนได้ คุณธรรมประกอบด้วยหลัก 5 ประการ ความสุภาพ มีใจโอบอ้อมอารี จริงใจ ตั้งใจ เมตตากรุณา คุณธรรมที่สำคัญที่เป็นหัวใจของปรัชญาขงจื๊อคือ เหริน เพราะคำนี้ประกอบด้วย อักขระสองตัวคือ “คน” กับ “สอง” หมายถึงมนุษยสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เหรินคือความรัก ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ เริ่มจากความรักในบิดา มารดา ความรักในความเป็นพี่น้อง
ผลงานของขงจื๊อรวบรวมไว้เรียก ตำรับ 5 เล่มของขงจื๊อประกอบด้วย
1. อี้จิง ตำรับว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
2. ชูจิง ตำรับว่าด้วยประวัติศาสตร์
3. ซือจิง ว่าด้วยกาพย์กลอน
4. หลี่จิ้ง ว่าด้วยพิธีการ
5. ชุนชิว พงศาวดารฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง
ลัทธิเต๋า มีอิทธิพลต่อจีนทางด้านศิลปกรรม และมีการผสมกลมกลืนกันระหว่างลัทธิขงจื๊อและพุทธศาสนานิกายมหายาน
การแพทย์เริ่มในสมัยนี้ มีการตรวจรักษาโรค จับชีพจร ใช้ยาสมุนไพร รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก (นำมาประดิษฐ์เข็มทิศในสมัยสามก๊ก)
ราชวงศ์ จิ๋น 221-207 ปี ก่อนค.ศ. จีนเริ่มเป็นจักรวรรดิ์ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ยึดหลัก)ปกครองที่เข้มงวดตามหลักนิติธรรม(ฟาเจีย)ของ ซุนจื๊อ ที่เห็นว่ามนุษย์ชั่วร้ายมี กิเลส ตัณหาต้องใช้อำนาจและกฏหมายเป็นเครื่องควบคุม ยกเลิกระบบศักดินา แบ่งเขตการปกครองเป็น 36 มณฑล แต่งตั้งข้าราชการไปปกครอง จัดระเบียบการเขียนหนังสือ ทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมและคำสอนของขงจื๊อเผาตำราต่างๆ มีการสร้างกำแพงเมืองจีน ค้นพบ ดินปืนเป็นชาติแรก
มาตราชั่งตวง วัด
ราชวงศ์ ฮั่น202 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.221 มีการฟื้นฟูปรัชญาและวรรณกรรมที่มีการเผาในสมัยราชวงศ์ ฉินหรือ จิ๋น นำหลักการของขงจื๊อมาใช้ในการปกครองประเทศ มีการสอบเข้ารับราชการหรือ ระบบจอหงวน มีการทำกระดาษจากเปลือกไม้ คิดค้นการทำหมึกจากเขม่าต้นรัก ใช้พู่กันเขียนลงบนกระดาษ การคำนวณหาอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางกับเส้นรอบวง ประดิษฐ์ลูกคิด เครื่องตรวจแผ่นดินไหว ในสมัยนี้มีการใช้เส้นทางแพรไหม (Silk Route) ในการติดต่อค้าขายกับทางตะวันตกเมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นเกิดการรบแย่งชิงอำนาจนาน 50 ปี เรียกสมัยสามก๊กจีนแบ่งแยกเป็นแค้วนๆ ค.ศ. 220-265 และ สมัย หกราชวงศ์ ค.ศ.420-589 ราชวงศ์ ซุย ค.ศ.589-618
ราชวงศ์ถัง ค.ศ. 618 -907 ถือว่าเป็นยุคทองของวัฒนธรรมจีนทางกวี จิตรกรรมมีการส่งพระ
ยวนชาง (พระถังซัมจั๋งไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย)
ราชวงศ์ซ้องหรือสุ้ง ค.ศ. 960-1279 ฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อและ ลัทธิเต๋า เกิดประเพณีรัดเท้าสตรี ต่อมาถูกเผ่ามองโกลรุกราน
ราชวงศ์หงวน ค.ศ. 1279 – 1368 เป็นเผ่ามองโกล มีผู้นำชื่อกุบไลข่าน เป็นสมัยที่มีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขาย รับราชการ เช่น มาร์โค โปโล
ราชวงศ์หมิง ค.ศ.1368-1644 นำโดยจู ยวนชางขับไล่มองโกล มีความเจริญในการทำเครื่องเบญจรงค์
ราชวงศ์ชิง ค.ศ.1644-1911 เป็นชนเผ่าแมนจู บังคับให้ผู้ชายจีนไว้หางเปีย ห้ามนำสตรีจีนเข้ามาเป็นนางใน มีวรรณกรรมที่เด่นเกิดขึ้นชื่อ ความฝันในหอแดง สะท้อนสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อม
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ยุคใหม่ ผู้แต่งคือ เฉาจัน
ที่มา : อารยธรรมสมัยโบราณ-สมัยกลาง ของ คณะอักษรศาสตร์จุฬา , มรดกอารยธรรมโลก ของ มหาวิทยาลัยเกษตร

อารยธรรมอียิป

อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณในระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คือ อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรม
ในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องานเกษตรกรรม
การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง คือ บริเวณที่
ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส บริเวณแม่น้ำสินธุ และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง
อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น

ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น
a gift of the Nile เพราะถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มี
อากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาว และตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้
อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงในเดือนตุลาคมเมื่อ
น้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสีย
อียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็นอารยธรรมที่เกิด
จากการเกษตรกรรม

อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์ พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า Ma'at ซึ่งหมายความว่า
นั่นคือ เป็นผู้ดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล เพราะฉะนั้น การปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของ
กษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส (Horus) พระบุตรของโอสิริส (Osiris) เมื่อ
สิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์เมื่อได้มีทำพิธี
ฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และเมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้

ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน
(John A. Wilson) บันทึกไว้ ว่า "การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือ
ฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูงรวมทั้งคนด้วยคงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่าย
รู้จักกันดีขึ้นคนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้าพืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้น
เพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย"














อียิปต์โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปี
มาแล้วประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมี
ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้นสูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้
อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ
1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats)
ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ 700 ไมล์ ทำให้เป็นการยากแก่ศัตรูภายนอกที่จะเข้ารุกรานมีทางเดียวเท่านั้นที่ศรัตรู
จะเข้ามารุกรานอียิปต์ได้คือเดลต้าที่เชื่อมทวีปอัฟริกากับเอเซียคือตรงบริเวณทะเลแดง แต่ก็ป้องกันได้ง่าย
2. การที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปีทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึงเกิดความร่วมมือ
กันทำงาน เช่นมีการชลประทานมีการขุดคูส่งน้ำเมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้
ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

ซูเมอร์
ประมาณ 3200-2800 ปีก่อนคริสตกาล พวกสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ซูเมอร์ (Sumer) ทางใต้ของเมโสโปเตเมีย (ดินแดนระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส) ปัจจุบันเมโสโปเตเมีย-ซูเมอร์อยู่ในประเทศอิรัก

พวกสุเมเรียน มาจากไหนไม่มีหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานกันว่ามาจากทางตะวันออก อาจเป็นพวกเดียวกับกลุ่มชนที่สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกสุเมเรียนมาสร้างเมืองไว้หลายเมือง ใจกลางเมืองมีวัดขนาดใหญ่สร้างด้วยอิฐไว้บนลานยกระดับสูง ผนังวัดประดับด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาหลากสี วัดใช้ประดิษฐานเทพเจ้าประจำเมือง แต่ละเมืองมีเจ้าครองนคร เจ้าครองนครมาจากพระที่มียศสูงที่สุด เรามักเรียกกันว่า พระ-กษัตริย์ วัดถือเป็นศูนย์กลางทางศาสนา ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ มีการคิดตัวอักษรขึ้นมาใช้ในงานบริการของวัด แรกเริ่มเป็นอักษรภาพก่อน แล้วจึงพัฒนาเป็นตัวอักษรคิวนิฟอร์ม

งานศิลปะ
มีการใช้ตราลูกกลิ้ง สำหรับประทับตราลงบนภาชนะเก็บอาหารของวัด ภาชนะนี้มีร่างคล้ายแจกัน คือ คอแคบมีหูสองข้าง บนตราประทับเป็นเทพเจ้า งานศิลปะอื่นๆ เป็นปั้นขนาดเล็กทำจาก ดินเหนียว หิน และโลหะ

ศาสนา
แรกเริ่มมีเทพเจ้า 3 องค์ คือ เอนลิล, อาน และเอนกิ ต่อมามีอูตู (เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์) อินานนา (เทพธิดาแห่งการสืบพันธุ์) และนานนา (เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์) คนสุเมเรียนใช้ระบบนับเวลาในวันหนึ่งว่ามี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง มี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที และวงกลมมี 360 องศา

2800-2500 ปีก่อนคริสตศักราช สมัยราชวงศ์โบราณ พวกเซมิติค (จากคาบสมุทรซีนาย) อพยพมาอยู่ เมสิลิม เดอ กิซ เป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจสูงสุดองค์แรก เมืองนิปปูร์เป็นศูนย์กลางทางศาสนา มีการสร้างกำแพงเมืองที่อุรุคในสมัยพระเจ้าจิลกาเมซ การสร้างวัดแบบโบราณพัฒนามาเป็นแบบซิกกูราท (เป็นชั้นๆ ลดหลั่นไปและเชื่อมโยงติดต่อกับโบสถ์ที่อยู่บนยอดด้วยบันได)

ตั้งแต่ 2500 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นต้นมา เริ่มราชวงศ์แรกของเมืองเออร์ ผู้ก่อตั้ง คือ เมซานนี-ปาดดา เราเริ่มรู้จักเมืองเออร์ตั้งแต่มีการค้นพบหลุมศพของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์จำนวน 16 หลุม เมื่อค.ศ. 1922 ในหลุมศพมีการฝังเครื่องใช้สอยส่วนพระองค์ และข้าทาสบริวารที่สละชีพเพื่อไปรับใช้เจ้านายในโลกหน้าคล้ายกับจะทำตามอย่างเรื่องของอินานนา ซึ่งเป็นนักบวชสตรีกับเทพเจ้า ดูมูซิ ที่แสดงเป็นตัวแทนของกษัตริย์มาแต่งงานด้วยกัน และจบชีวิตด้วยวิธีนี้

ประมาณ 2500-2360 ปีก่อนคริสตศักราช เริ่มราชวงศ์แรกของเมืองลากาซผู้ก่อตั้งชื่อพระเจ้าเออร์-นานเซ โอรสของพระองค์ ชื่อ เอียนนาตุม โปรดให้จารึกแผ่นหินเป็นที่ระลึกในการที่พระองค์ชนะสงครามต่อเมืองอุมมา หินนี้เรียก Stele des Vautours ค้นพบที่เมืองเทลโล ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟเวรอ ประเทศฝรั่งเศส กษัตริย์องค์ต่อมาชื่อ เอนเตเมนา ปราบพวกพระที่สนับสนุนลูกาลันดา กษัตริย์องค์ที่ 4 ของราชวงศ์ให้ขึ้นครองบัลลังก์ แต่กบฎคือ อูรูกาจินา ขึ้นครองราชย์และจัดระบบสังคมใหม่ สุดท้ายพวกพระที่ไม่พอใจกษัตริย์ร่วมกันสนับสนุนลูกาซากกิสิแห่งเมืองอุมมา ให้มาครองเมืองลากาซ เออร์ อุรุก กิซ นิปปูร์ และขยายอาณาเขตออกไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พระองค์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของซูเมอร์ก่อนที่จะพ่ายแพ้แก่จักรวรรดิอัคคัด

อัคคัด (อยู่เหนือซูเมอร์)
2350-2300 ปีก่อนคริสตศักราช พระเจ้าซาร์กอนแห่งอัคคัด เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับชัยชนะเหนือดินแดนเมโสโปเตเมีย ซีเรีย เอเซียไมเนอร์ทั้งหมด และอีลาม (ที่อิหร่าน) ความสามารถของพระองค์อยู่ที่การใช้เทคนิคใหม่ในการทำสงครามด้วยการใช้หอก ศร และธนู (เป็นเทคนิคของคนในดินแดนสเตป คือ เขตดินปนทรายและเป็นทุ่งหญ้าในยูเรเซีย) แทนที่จะใช้อาวุธหนักๆ ของสุเมเรียน มีการสร้างนครรัฐขยายใหญ่เป็นศูนย์กลาง การบันทึกทางราชการใช้ภาษาอัคคาเดียน ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่อากาเด ฐานะของกษัตริย์เปรียบเหมือนกษัตริย์ปนพระเจ้า มีเทพเจ้าที่เคารพบูชา คือ อิชการ์ และซามาซ คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ หรือพระสุริยะ เมื่อพระเจ้าซาร์กอนสวรรคต เกิดการจราจล นาราม-สิน ผู้เป็นหลาน (2270-2230 ปีกอ่นค.ศ.) ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงปฏิบ้านเมือง ทำสงครามกับพวกที่อยู่ในคาบสมุทรอาราเบียทางตอนใต้ กับพวกที่อยู่แถวภูเขาซาโกรส

2150-2050 ปีก่อนคริสตศักราช มีผู้รุกรานมาจากทางอิหร่าน แต่กษัตริย์เมืองอุรุคขับไล่ไป และทำการปฏิอาณาจักรสุเมเรียนขึ้นมาใหม่

2050-1950 ปีก่อนคริสตศักราช ราชวงศ์ที่สองของเมืองเออร์ มีกษัตริย์อยู่ 4 พระองค์ คือ เออร์-นามมู, ซูลจิ, ซู-ซิน, อิบบิ-ซิน ราชวงศ์นี้ซ่อมแซมและปรับปรุงอาณาจักรซูเมอร์และอากาเด พร้อมทั้งวัดทั่วราชอาณาจักร พระเจ้าซูลจิเข้าพิธีแต่งงานกับเทพธิดาอินานนาทำให้พระองค์กลายเป็นเทพเจ้า มีการสร้างหลุมศพสำหรับพระองค์และเชื้อพระราชวงศ์ที่เมืองเออร์ ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าซู-ซิน มีพวกเซมิทตะวันตกเข้ามารุกราน และทำให้ต้องสร้างกำแพงเมืองขึ้นที่แถวแม่น้ำยูเฟรติสตอนกลาง ราชวงศ์ที่สองของเมืองเออร์ทำสัมพันธไมตรีทางการค้ากับประเทศอินเดีย อาณาจักรเออร์สลายไปเพราะพ่ายแพ้สงครามกับพวกอีลามและกับกษัตริย์เมืองมารี (ในซีเรียปัจจุบัน)

งานทางวรรณคดี เป็นสมัยที่วรรณคดีสุเมเรียนรุ่งเรืองที่สุด
เศรษฐกิจ เป็นฐานอำนาจทางการเมือง สมัยนี้การค้าเจริญมากคนนิยมสร้างวัดและนครวัด
การเมือง มีระบบข้าราชการขนาดใหญ่ ต้นราชวงศ์ที่ 3 ของเมืองเออร์ พระเจ้ากูเดีย แห่งลากาซ ทรงสถาปนาราชอาณาจักรสุเมเรียนขึ้นมาใหม่ และใช้การบริหารแบบเดิม มีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปเพราะพลเมืองร่ำรวยจากการค้ามาก

ตั้งแต่ 2000 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นต้นมา พวกคานานซึ่งเป็นพวกที่มีเชื้อสายเซมิทเผ่าหนึ่งเข้ามารุกราน นำเอาวัฒนธรรมแบบเซมิทเข้ามามาก มีการสร้างนครวัดที่อิสิน ลาร์ท และบาบิโลน (Bab-ili = ประตูของพระเจ้า) แต่ภาษาสุเมเรียนยังคงเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเหมือนดิม

ประวัติอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อ 2000 ปีก่อนคริสตศักราช

จักรวรรดิอัสซีเรียตอนต้น (1800-1375 ปีก่อนคริสตศักราช)
เมื่อประมาณ 2500 ปีก่อนค.ศ. พวกอัสซีเรียอาศัยอยู่แถวแม่น้ำไทเกอร์ตอนบน ลักษณะนิสัยเป็นนักรบ เข้มแข็งอดทน ต้นเนิดมาจากชนพื้นเมืองหลายเผ่าผสมกัน (นอกจากพวกสุเมเรียน) กับพวกเซมิติค อารยธรรมของพวกเขารับมาจากทางใต้ ชื่อ จักรวรรดิอัสซีเรีย และเมืองอัสสู มาจากชื่อเทพเจ้าอัสสู (Assour = เทพเจ้าอันสูงสุด) หลังจากที่ราชวงศ์ที่ 3 ของเมืองเออร์ล่มสลาย อัสซีเรียได้รับชัยชนะตั้งเมืองอัสสูและครองบาบิโลเนียทางตอนเหนือ (ราว 1800 ปีก่อนค.ศ.) เมื่อพวกฮิตไทท์เข้ามารุกราน ขัดขวางการค้ากับทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยลง จักรวรรดิอัสซีเรียจึงเสื่อมอำนาจ คนต่างชาติถือโอกาสเข้ามาครองเมือง คือพระเจ้านาราม-ซิน แห่งเอชนุนนา (กฎหมายของพระองค์มีชื่อมาก) แต่พระเจ้าชามชิ-อาดัดที่ 1 (1749-1717 ปีก่อนค.ศ.) นำราชบัลลังก์มาคืนได้ ราชอาณาจักรของพระองค์กว้างขยายไปยังดินแดนที่เป็นภูเขาทั้งหมด ส่วนหนึ่งของเมโสโปเตเมียและราชอาณาจักรมารี ทรงสร้างและรักษาสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระราชโอรสของพระองค์ชื่อ อิชเม-ดากานที่ 1 พ่ายแพ้ต่อพระจ้าริม-สิน แห่งลาร์ซา และภายหลังตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งบาบิโลเนีย ประวัติของจักรวรรดิอัสซีเรียก่อน 1450 ปีก่อนค.ศ.ไม่ค่อยมีผู้ศึกษามากนัก ครั้งสุดท้ายอัสซีเรียกลายเป็นรัฐหนึ่งที่ขึ้นกับอาณาจักรมิตานนี (ในอิรักปัจจุบัน)

นครรัฐบาบิโลน

1728-1686 พระเจ้าฮัมมูราบี แห่งเมืองบาบิโลน
ตอนพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นมีนครรัฐ 6 รัฐ กำลังทำสงครามกัน คือ ลาร์ซา เอชนุนนา บาบิโลน กาทนา จามซาด (เอเลปปัจจุบัน) และอัสสู นครรัฐลาร์ซา มารี และบาบิโลน นั้นร่วมกันทำสงครามต่อต้านนครรัฐเอชนุนนา อีลาม พวกชาวเขาและนครรัฐอัสสูมาเป็นเวลา 15 ปี เมื่อพระเจ้าฮัมมูราบีได้รับชัยชนะเหนือนครรัฐเพื่อนบ้านแล้ว จึงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าริม-สิน แห่งลาร์ซา และซิมริลิมแห่งมารีให้เป็นพวกของพระองค์ พระเจ้าซิมริลิมพระองค์นี้เองที่เป็นผู้ก่อสร้างพระราชวังที่มีชื่อเสียงที่เมืองมารี ณ ที่นี้นักโบราณคดีขุดพบแผ่นดินเหนียวเล่าเรื่องราวต่างๆ ถึง 20,000 แผ่น ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญมาก

กฎหมายฮัมมูราบี บอกให้เราทราบถึงความห่วงใยที่พระเจ้าฮัมมูราบีมีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองของพระองค์ กฎหมายนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของการกำหนดโทษผู้กระทำผิด การลงโทษสมัยนี้มีการโบยด้วยแซ่ ตัดสินประหารชีวิต (แทงด้วยของแหลม เผาไฟ ถ่วงน้ำ) ภาษาราชการในบาบิโลน คือภาษาอัคคาเดียน รับอิทธิพลทางวรรณคดีจากเมโสโปเตเมีย เทพเจ้าที่สำคัญมีมาร์ดุคแห่งบาบิโลน เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ชามาช เทพแห่งความรักอิชทาร์ กษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮัมมูราบีเสียดินแดนทางใต้ และทำสงครามกับพวกคาสไซท์และฮูไรท์หลายครั้ง

1531 พระเจ้ามูร์ซิลที่ 1 ของพวกฮิตไทท์ปล้นและเผาบาบิโลน

1530-1160 สมัยคาสไซท์ ชาวอิหร่าน

1160 เมืองบาบิโลนถูกปล้นอีกครั้ง และอำนาจของพวกคาสไซท์ก็หมดลงเพราะแพ้ต่อพวกอีลาม (ที่ 13) จาก 1137 ปีก่อนค.ศ.เป็นต้นมา บาบิโลนรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งสมัยพระเจ้านาบุโคโดโนซอร์ที่ 1 (ราชวงศ์ที่ 4 ของบาบิโลน) ทรงปลดปล่อยบาบิโลน จากพวกอีลาม และทรงตั้งอาณาจักรใหม่ หลังรัชกาลของพระองค์ บาบิโลนก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอัสซีเรียอีก

พวกฮูไรท์
ดินแดนเมโสโปเตเมียตอนเหนือ ได้รับการรุกรานจากพวกฮูไรท์ที่มาจากแถวทะเลสาบแวน พวกนี้รุกรานต่อไปในอัสซีเรีย เมโสโปเตเมียทั้งหมด ตุรกี ซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์ ทุกแห่งที่พวกฮูไรท์เข้าไปอยู่ จะไปในลักษณะชนชั้นเหนือกว่าผู้อื่น (Marjanni = นักรบ ; ภาษาอินเดียว่า มารจา = อัศวินหนุ่ม) เป็นเจ้าที่ดิน และที่ดินถือเป็นมรดกสืบสกุล แต่เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ยกให้ใครก็ได้ตามใจชอบ พวกนักรบฮูไรท์ใช้รถเทียมม้าอันเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง

ด้านศาสนา เทพเจ้าที่สำคัญ คือ เตชุม (เทพเจ้าแห่งดินฟ้าอากาศ) เซปาท (เทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์) และคูมาร์บิ (บิดาแห่งเทพทั้งหลาย) แต่ชนอารยันชั้นสูงบูชาเทพเจ้าอินเดีย คือ พระอินทร์ มิตรา และวรุณ

ด้านศิลปะ แผ่นหินสลักภาพนูนต่ำเรียงเป็นแถว และการสร้างบ้านตามยาวแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

จักรวรรดิอัสซีเรียตอนกลาง (1375-1047 ปีก่อนคริสตศักราช)

1390-1364 กษัตริย์อัสซีเรีย เอริบา-อาดาด สมทบกับพวกฮิตไทท์ รุกรานอาณาจักรมิตานนี ภายหลังเกิดสงครามครั้งใหญ่เป็นโอกาสให้พวกอาร์เมเนียเข้ามาโจมตี อาณาจักรฮิตไทท์ล่มสลายลง อำนาจของอัสซีเรียเสื่อม
1112-1074 พระเจ้าเตกลาธฟาลาซาร์ที่ 1 เป็นผู้นำอำนาจอัสซีเรียกลับมาเหมือนเดิม จากนั้นทำสงครามขยายดินแดนขึ้นไปทางเหนือ ซีเรียต้องส่งส่วยให้อัสซีเรีย กษัตริย์องค์ต่อมาทำสงครามกับพวกอาร์เมเนีย
เทคนิคการทำสงคราม รถรบอยู่ตรงกลาง พลเดินเท้าและกองเสบียงสวมเกราะ ถือโล่ห์อยู่ตรงปีกซ้ายขวา มีการใช้เหล็กเมื่อประมาณ 1200 ปีก่อนค.ศ. ช่างตีเหล็กทำอาวุธของพวกฮิตไทท์เดินทางไปในกองทัพด้วย พวกฮิตไทท์เป็นเจ้าของดินแดนที่มีแร่เหล็กมาก
กฎหมายและการลงโทษ ตัดหรือเจาะหู ตัดริมฝีปากและนิ้ว ตัดอวัยวะเพศชาย ยางมะตอยราดหน้าให้เสียโฉม
ด้านเศรษฐกิจ การค้าแบ่งระหว่างวัด กษัตริย์ และขุนนาง การเกษตรกรรมรุ่งเรืองมาก มีการพัฒนาเทคนิคการไถนา

ประวัติอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อ 1000 ปีก่อนคริสตศักราช

จักรวรรดิอัสซีเรียตอนปลาย (883-612 ปีก่อนคริสตศักราช)
พระเจ้าอัสสูร์นาซิปาลที่ 2 ขึ้นครองราชบัลลังก์ (883-859 ปีกอ่นค.ศ.) พระองค์ได้ชื่อว่า เป็นกษัตริย์ที่เหี้ยมโหดที่สุดของอัสซีเรีย ทรงขยายอาณาเขตไปกว้างไกลด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้าน ทรงนำวิธีการทำสงครามแบบใช้กองทัพม้า เป็นครั้งแรก ทรงมีวิธีที่เหี้ยมโหดในการทำให้คนยอมรับพระองค์ คือ การทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ หรือไม่ก็ฆ่าเสียให้หมดสิ้น เมืองหลวงย้ายจากอัสซีเรียมาที่กาลาห์(เหนือเมืองอัสสู) ซึ่งพระองค์ก็ทรงสร้างพระราชวัง และนำเชลยสงครามมาไว้ที่นี่ โอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าซาลมานาสาร์ที่ 3 (858-824 ปีก่อนค.ศ.) ทรงสนพระทัยซีเรียและปาเลสไตน์เพราะต้องการควบคุมเส้นทางการค้าจากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสมายังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทรงโจมตีเมืองดามัส (เมืองหลวงของซีเรียปัจจุบัน) แต่ไม่สำเร็จ ขณะนั้นที่เมืองนี้มีชาวอาร์เมเนียอยู่มาก ตอนนี้เองที่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงพวกมีดส์และพวกเปอร์เซีย (835 ปีก่อนค.ศ.) ปลายสมัยของพระองค์ ซามสิ-อาดัด ผู้เป็นโอรสก่อกบฎ แต่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากบาบิโลเนียจึงทำการสำเร็จ และขึ้นเป็นกษัตริย์ซามสิ-อาดัด ที่ 5 และจากการช่วยเหลือนี้เองที่ทำให้อัสซีเรียต่อต้านพวกมีดส์ที่เข้ามารุกรานไว้ได้ ตอนนั้นพวกมีดส์ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แถวทะเลสาบอูร์เมีย (ปัจจุบันอยู่ในอิหร่านตอนเหนือใกล้ทะเลสาบวาน)
810-806 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าเซริรามิส (ซามมูรามาท) ครองราชย์ทรงมีชื่อเสียงทั้งในและนอกประเทศ กษัตริย์ต่อจากพระองค์ทำสงครามกับพวกบาบิโลเนีย พวกมีดส์และโดยเฉพาะกับพวกอาณาจักรอูราตู (ที่ทะเลสาบวาน ปัจจุบันอยู่ในตุรกีตะวันตก)
745-724 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าเตกลาธฟาลาซาร์ที่ 3 ทรงตั้งอาณาจักรอัสซีเรียอันยิ่งใหญ่ ปราบเจ้าครองนครรัฐต่างๆ และทรงทำอาณาจักรให้เข้มแข็ง ทรงได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าซาร์ดูร์ที่ 2 แห่งอูราตู และรุกรานซีเรียตอนเหนือ ดามัส และกาซา พระองค์กลายเป็นกษัตริย์ของบาบิโลนภายใต้พระนามว่า พระเจ้าปูลู กษัตริย์ต่อจากพระองค์ คือ พระเจ้าซาลมานาสาร์ที่ 5 ทรงไม่ลงรอยกับพวกพระ จึงถูกลอบปลงพระชนม์ที่ซามารี (เหนือเยรูซาเล็ม)
772-705 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าซาร์กอนที่ 2 (Sharroukin = กษัตริย์ผู้ทรงธรรม) ทรงฟื้นฟูด้านศาสนาและให้พวกพระมีอภิสิทธิ์เหมือนเดิมเช่นเดียวกับเชื้อพระวงศ์ ทรงชนะพวกนครรัฐของฮิตไทท์ ได้ครองอูราตู ทำสงครามกับพวกมีดส์ ขยายอำนาจเหนือบาบิโลน ชนะต่ออียิปต์ที่เมืองราเฟีย (เมืองริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรซีนาย) ทรงสร้างเมืองหลวงที่ดูร์-ซาร์รูคิน (หรือ โฆร์สาบัด เหนือเมืองกาลาห์) โอรสของพระองค์ คือ
พระเจ้าเซนนาเซริม (704-618 ปีก่อนค.ศ.) เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาด เมื่อ 701 ปีก่อนค.ศ. ทรงทำให้แคว้นยูดา (เมืองหลวง คือ เยรูซาเล็ม) เข้ามาอยู่ในอำนาจ ทรงทำลายบาบิโลน ทรงขยายเมืองนินิฟ ซึ่งเป็นเมืองแรกของนครรัฐของพระองค์ด้วยการเกณฑ์ทหารในกองทัพมาเป็นจำนวนมาก (สร้างกำแพง 2 ชั้น สูง 25 เมตร มีหอสังเกตการณ์ 15 หอ) มีการขุดคลองยาวถึง 50 กิโลเมตร เพื่อให้คนมีน้ำใช้ทั่วถึง มีสะพานส่งน้ำยาว 280 เมตร และกว้าง 22 เมตร ความที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มงวด จึงมีคนลอบปลงพระชนม์ โอรสองค์สุดท้อง คือ
พระเจ้าอัสสาร์ฮาดดอน (680-669 ปีก่อนค.ศ.) ขึ้นครองราชย์และทรงสร้างบาบิโลนใหม่ ทรงทำสัมพันธไมตรีกับพวกซิธ (เชื้อสายเดียวกับพวกอิหร่าน) ขับไล่ซิมเมเรียน (จากรัสเซียตอนใต้) ออกไปและรบชนะอียิปต์ได้ดินแดนจนถึงนูเบีย นับเป็นสมัยที่อาณาจักรอัสซีเรียกว้างขวางที่สุด
668-626 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าอัสสูร์บานิปาล ทำลายเมืองธีบส์ของอียิปต์ แต่เป็นเพราะอียิปต์อยู่ไกลมากจึงไม่อาจปกครองได้ ประกอบกับพระเชษฐาที่ครองบาบิโลนก่อกบฎ โดยได้รับความร่วมมือจากศัตรูของอัสสูร์ 648 ปีก่อนค.ศ. ทรงยึดบาบิโลนไว้ในอำนาจ 639 ปีก่อนค.ศ. ทำลายซูส (อีลาม) ทรงสร้างหอสมุดใหญ่ที่นินิฟ (มีแผ่นดินเหนียวบันทึกถึง 22,000 แผ่น เป็นบทกวี วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ ดาราศาสตร์ รายการสินค้าและบัญชี) ต่อมามีเรื่องไม่สงบในประเทศและพวกซีธเข้ามาบุกรุก ทำให้บ้านเมืองเสื่อม พระเจ้าซียาซาร์แห่งมีเดีย (มีดส์) และพระเจ้านาโบโปลาสซาร์แห่งบาบิโลนยึดอำนาจและทำลายเมืองทุกเมืองของพวกอัสซีเรีย ประชากรถูกฆ่าตายหมด

งานศิลปกรรม พระราชวังขนาดมหึมาพร้อมงานประติมากรรมตกแต่งที่ได้สัดส่วนกับขนาดของสถาปัตยกรรม มีที่เมืองนินิฟ กาลาห์ ดูร์-ซาร์รูคิน และอัสสูร์ (ภาพการล่าสัตว์ สงคราม และเทพเจ้า) ภาพเล่าเรื่องราวเป็นภาพประติมากรรมแบบนูนต่ำ

จักรวรรดิบาบิโลเนียตอนปลาย (625-539 ปีก่อนค.ศ.)
พวกคาลเดี้ยนพยายามชนะบาบิโลเนียจนสำเร็จหลังรัชกาลพระเจ้าอัสสูร์บานิปาล
625-605 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้านาโบโปลาสซาร์ทรงเป็นกษัตริย์ครองบาบิโลน อีลาม เมโสโปเตเมียตะวันตก ซีเรีย และปาเลสไตน์ 604-562 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้านาบุโคโดโนซอร์ที่ 2 ทรงเป็นนักการทูตที่ชาญฉลาด อาณาจักรของพระองค์รุ่งเรืองที่สุด ทรงขยายเมืองบาบิโลน สร้างถนนยาวหลายสาย สร้างประตูอิชทาร์ สร้างวัดอีสากิล สร้างพระราชวังที่งามที่สุด มีหอคอยเป็นชั้นๆ เรียกว่า อีเทเมนานกิ (หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่าหอบาเบล สูงถึง 90 เมตร) สมัยนี้ผู้มีอิทธิพลมีอำนาจเท่าเทียมกัน
598 ปีก่อนค.ศ. ทรงครองเยรูซาเล็มตามข้อตกลงระหว่างแคว้นยูดาและอียิปต์ (ยิวอพยพออกจากประเทศเป็นครั้งแรก) 587 ปีก่อนค.ศ. ทำลายเยรูซาเล็ม ต่อจากนั้นบ้านเมืองเสื่อมเพราะกษัตริย์ขัดแย้งกับสาวกของพวกเทพเจ้ามาร์ดุก ฝ่ายหลังเลือกพระเจ้านาโบนิดให้เป็นกษัตริย์ (553-539 ปีก่อนค.ศ.) ทรงได้ชื่อว่าเป็น " นักโบราณคดีบนบัลลังก์ " แต่ต่อมาไม่ลงรอยกับพวกพระทรงจำต้องออกจากบาบิโลนไป บาลธาซาร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทำหน้าที่แทนเป็นเวลา 10 ปี 539 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าซิรุสที่ 2 แห่งเปอร์เซียยึดบาบิโลน บาบิโลนกลายเป็นเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย 331 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกยึดบาบิโลน บาบิโลนรับอารยธรรมกรีกเฮเลนิสติก

อารยธรรมอินเดียโบราณ

อารยธรรมอินเดียโบราณ

ลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของโลก(๑ใน ๔ แห่ง) คือ อินเดียโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดังนั้นความเชื่อทั้งสองศาสนานี้จึงได้เผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆในชมพูทวีป(ทวีปเอเซียด้านตะวันออก) โดยอาศัยการเดินเรือไปตามชายฝั่งทะเลและข้ามมหาสมุทรไปยังดินแดนต่างๆในคาบมหาสมุทรอินเดียและคาบมหาสมุทรอินโดจีน
อารยธรรมของอินเดียโบราณนั้น ถือว่าการให้การศึกษานั้นคือการให้แสงสว่าง ที่มีความหมายไปถึงการช่วยให้เกิดสมรรถภาพที่จะต่อสู้กับความยากลำบาก และแก้ไขปัญหานานาประการในชีวิตให้ลุล่วงสำเร็จผลสมความปราถนา ดังนั้นการศึกษาจึงต้องสมบูรณ์โดยสามารถนำความรู้ไปใช้งานและปฏิบัติได้อย่างจริงจัง การมีความรู้เชี่ยวชาญทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ แม้จะเป็นเพียงแขนงวิชาเดียวก็ได้รับความสำเร็จได้ ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความเชื่อว่า สังคมที่ก้าวหน้าไปได้นั้นขึ้นอยู่กับการศึกษาและถือว่าการศึกษาเป็นอภิสิทธิของชนชั้นสูงที่มีเวลาว่างและมีฐานะทางสังคมจะเข้าศึกษาได้ก็ตาม
ดังนั้นในพิธีอุปานยนะ หรือพิธีรับศิษย์เข้าเรียนในสำนักนั้น ก็มุ่งหวังที่จะเผยแพร่ความรู้นั้นให้กับกุลบุตรกุลธิดาโดยจัดเข้าไปในบทบัญญัติทางศาสนา เพื่อให้การศึกษาเกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามอย่างกว้างขวางและเคร่งครัด
คัมภีร์พฤหทาระณยกะอุปนิษัท ได้ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า
“ หนี้ที่มนุษย์มีต่อบิดามารดานั้นจะชำระได้มิใช่เพียงแต่โดยการมีบุตรสืบตระกูลเท่านั้น หากยังจะต้องจัดการให้บุตรเหล่านั้นได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีด้วย”
ด้วยเหตุนี้ชาวอารยันทุกคนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์และแพทย์ จึงย่อมได้รับการศึกษาตามคัมภีร์
ภายหลัง(ประมาณพ.ศ.๕๔๔–พ.ศ.๑๕๔๔)ปรากฏว่ากษัตริย์และแพทย์ได้ห่างจากการประกอบพิธีอุปานยนะอย่างแต่ก่อน จึงเป็นเหตุให้พราหมณ์ได้รับการศึกษาจนมีความรู้ดีกว่า และได้มีการบัญญัติให้เป็นคำสั่งสอนทางศาสนาว่า การสอนวิชาหรือการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้อื่นนั้นเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ ผู้เป็นพราหมณ์เท่านั้นควรจะได้ทำหน้าที่สอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ หาไม่แล้วสังคมจะประนามอย่างแรง ถึงกับเลิกคบหาสมาคมและเลิกอำนวยความช่วยเหลือสิ้นทุกประการ
เพื่อให้พราหมณ์มีอาชีพเป็นครูบาอาจารย์และเป็นการส่งเสริมให้เกิดศักดิ์ศรีและความสนใจในการศึกษาของประชาชน คัมภีร์ต่างๆทั้งทางศาสนาและวัฒนธรรมได้ชักชวนให้รัฐและสังคมได้ดูแลให้ความเกื้อกูลอย่างเต็มที่แก่ผู้มีอาชีพสอนหนังสือหรือให้ความรู้แก่ผู้อื่น ทำให้ครูบาอาจารย์ได้รับการยกย่องอย่างสูงในสังคม โดยเฉพาะพราหมณ์ นั้นในคัมภีร์ยาชญวลกย สมฤติ บรรพที่ ๓ ได้กล่าวว่า
“การลืมวิชาที่ได้เล่าเรียนมา มีโทษเป็นบาปเท่ากับฆ่าเพื่อน หรือฆ่าพราหมณ์คนหนึ่ง”
ในคัมภีร์ศาสนานั้นระบุให้พราหมณ์ทุกคนถือเป็นหน้าที่ในชีวิตตน ที่จะต้องเผยแพร่วิชาความรู้ที่ตนได้เล่าเรียนมา จะบิดพริ้วหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นในสำนักเรียน ที่เรียกว่า มัฐ นั้นจึงเกิดขึ้นในอารามของภิกษุในพุทธศาสนาก่อน ต่อมาศาสนาฮินดูได้จัดสำนักเรียนขึ้นตามอย่างในสถานที่สำคัญในศาสนาของตน
สำนักเรียนโบราณ(มัฐ)นี้อยู่ในความดูแลของ ปิฏกาจารย์ คืออาจารย์ผู้สอนหรือผู้ชำระหมวดแห่งคำสอน โดยมี อันเตวาสิก คือ ลูกศิษย์ที่มีความหมายว่า ผู้อาศัยอยู่ภายในบ้านหรือตระกูล และผู้ที่เป็นลูกศิษย์อาวุโสหรือหัวหน้าลูกศิษย์นั้นเรียกว่า เชฎฐานเตวาสิก และการจัดการศึกษาในชุมชนนั้นเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชารลมาญมหาราช(CHARLEMAGNE)ทรงเริ่มขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ.๑๓๔๓ แต่เมื่อพระองค์สวรรคตการจัดการศึกษาก็หยุดไปด้วย ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช การศึกษาจึงเจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายมากขึ้น มหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา จึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาชั้นสูงที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาวพุทธ
ครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้นั้นคนหนึ่งจะรับลูกศิษย์ได้ไม่เกิน ๑๐–๑๕ คน และลูกศิษย์นั้นตอบแทนครูบาอาจารย์ด้วย คุรุทัปษิณา คือสิ่งตอบแทนที่ศิษย์จะต้องหามาให้อาจารย์เป็นการช่วยเหลือการครองชีพของอาจารย์ ในวรรณคดีบาลีเรียกว่า “อาจาริยธน” แปลว่าเงินที่ให้ หรือเป็นส่วนของอาจารย์ แต่ในคัมภีร์มนุสมฤตินั้นได้ให้ ครูบาอาจารย์ ตระหนักว่าเป็นหน้าที่ของตน คือการสอนหนังสือนั้นเป็นวิทยาทาน โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และเตือนผู้ปกครองของลูกศิษย์ให้ระลึกว่า”พระคุณของครูบาอาจารย์ที่ได้สอนหนังสือให้แก่ลูกศิษย์ แม้เพียงให้รู้อักษรเพียงตัวเดียวนั้น ย่อมไม่มีสิ่งใดในโลกจะมีคุณค่าตอบแทนให้เสมอเหมือนได้”
สังคมสมัยโบราณเน้นการศึกษาจากคัมภีร์พระเวท ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานหรือโบราณศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของภาษาสันสกฤต เป็นความรู้ทางศาสนาที่เป็นหัวใจของชาวฮินดู ที่รวมปัญญาความคิดจากโบราณจารย์มาหลายชั่วอายุคน ตกทอดสืบเนื่องในความจำมานับพันปี ประกอบด้วยคัมภีร์หลัก ๓ ประเภท คือ
คัมภีร์สํหิตาหรือมนตร หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นชุมนุมบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า บทสวดขับร้อง มนตหรือพระสูตรคาถาที่ใช้สำหรับพิธีบูชายัญ โดยแต่งเป็นคำฉันท์
คัมภีร์พราหมณะ หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นความร้อยแก้ว อธิบายความหมายของบทสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า บัญญัติบทสวดให้เหมาะสมกับการใช้ในที่ใด พรรณาถึงที่มาของบทสวดสรรเสริญในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีบูชายัญ และยังได้อธิบายความหมายของพิธีนั้นด้วย


คัมภีร์อารณยกะ และอุปนิษษัท หมายถึงคัมภีร์ที่เป็นบทประพันธ์ที่ว่าด้วยความคิดด้านปรัชญา ความคิดนึกเรื่องวิญญาณหรืออาตมัน เรื่องพระเป็นเจ้า โลก และมนุษย์ บางตอนในคัมภีร์นี้จะซ้ำกับคัมภีร์พราหมณะ
คัมภีร์ที่เป็นโบราณศาสตร์เหล่านี้ ได้แพร่หลาย ถ่ายทอดต่อกันไป โดยเฉพาะคัมภีร์สํหิตาหรือมนตร นั้น ได้มีโบราณจารย์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสม จนแบ่งออกเป็น พระเวททั้งสี่ เรียกว่าคัมภีร์จตุรเวท ได้แก่
สํหิตา ที่เป็นชุมนุมบทประพันธ์ที่ใช้สวนสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้านั้นเรียกใหม่ว่า ฤคเวทสํหิตา
สํหิตา ที่เป็นชุมนุมบทประพันธ์ว่าด้วยพระสูตรสำหรับใช้ในพิธีบูชายัญนั้นให้เรียกใหม่ว่า ยชุรเวทสํหิตา ซึ่งยังแบ่งออกเป็นสองสายคือ กฤษณยชุรเวท(ยชุรเวทดำ) และศุกล ยชุรเวท (ยชุรเวทขาว)
สํหิตา ที่เป็นชุมนุมบทประพันธ์ว่าด้วยบทสวดขับร้องนั้นให้เรียกใหม่ว่า สามเวทสํหิตา
สํหิตา ที่เป็นชุมนุมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่าง ๆนั้นให้เรียกใหม่ว่า อถรวเวทสำหิตา หรืออาถรรพเวท
จตุรเวทนี้ แต่ละคัมภีร์นั้นต่างมีคัมภีร์พราหมณะ อารณยกะ และอุปนิษัท เป็นบริวาร และชาวฮินดูโบราณถือว่าเป็น ศรุติ คือสิ่งที่ได้ยินมาจากพระเป็นเจ้า เป็นข้อความที่พระผู้เป็นเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบโดยผ่านฤาษีหลายตน และจะสถิตสถาพรไปชั่วกาลนาน จึงทำให้ คัมภีร์พระเวทนั้นเป็น อเปารุเษย แปลว่า สิ่งที่ไม่ได้สร้างด้วยมนุษย์และมีความเป็นนิตย์ที่ยืนยงคงอยู่ตลอดกาล ดังนั้นฤาษีที่ได้ฟังพระเวทนี้จากพระโอษฐของพระเป็นเจ้าเรียกว่า มนตรทรษฎา แปลว่า ผู้ที่ได้เห็นหรือได้รับมนตร์จากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ส่วนคัมภีร์ที่มนุษย์จดจำปฏิบัติต่อกันมาจนเป็นประเพณีนั้นเรียกว่า คัมภีร์ สมฤติ (คัมภีร์จากความจำของมนุษย์) ซึ่งประกอบด้วยโบราณศาสตร์ที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ ดังนี้
คัมภีร์เวทางค์ (เวท + องค หมายถึงแขนขาหรือส่วนประกอบของเวท) หรือเรียกอีกชื่อว่า สูตร เป็นคัมภีร์ที่มี ๖ วิชา ได้แก่
วิชาออกเสียง เรียกว่า ศิกษา
วิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ เรียกว่า ฉนทส
วิชาไวยากรณ์ เรียกว่า วยากรณ์
วิชาว่าด้วยที่มาของศัพท์ เรียกว่า นิรุกต
วิชาดาราศาสตร์ เรียกว่า โชยติษ
วิชาพิธีกรรม เรียกว่า กลป
การศึกษาวิชาออกเสียงและวิชาแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ นั้นจำเป็นสำหรับการเรียกอ่านพระคัมภีร์ ส่วนวิชาดาราศาสตร์ และวิชาพิธีกรรม นั้นสำหรับนำเอาความรู้นี้ไปใช้ในพิธีบูชายัญ คัมภีร์เวทางค์นี้มีลักษณะสำคัญคือ การเก็บเอาใจความมาย่อเป็นสูตรสั้น ๆแล้วให้คำอรรถธิบายประกอบโดยละเอียด เพื่อให้สะดวกแก่การท่องจำ เมื่อท่องจำสูตรได้ก็มักจะจำคำอธิบายโดยละเอียดได้เช่นกัน จึงพากันเรียกอีกชื่อว่า”สูตร”
อีกคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระเวท คือ คัมภีร์อุปเวท มีวิชาที่เรียนกันอยู่ ๔ วิชาที่ศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นแพทย์ นักรบ นักแสดง คือ
วิชาแพทย์ศาสตร์ เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ฤคเวท เรียกว่า อายุรเวท
วิชายิงธนู เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์ยชุรเวท เรียกว่า ธนุรเวท
วิชาดนตรีและขับร้อง เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์สามเวท เรียกว่า คานธรวเวท
วิชาใช้อาวุธ เป็นภาคหนึ่งของคัมภีร์อถรวเวท
คัมภีร์อุปเวทนี้โบราณจารย์ได้เพิ่มให้อีกเป็น ๒ วิชาเป็นวิชาก่อสร้าง เรียกว่า สภาปตยเวท และวิชาศิลปวิทยา เรียกว่า ศิลปศาสตร์
การศึกษาในอินเดียโบราณนั้นนอกจากเรียนคัมภีร์จตุรเวท (คือพระเวททั้งสี่ได้แก่ คัมภีร์ฤคเวท คัมภีร์ยชุรเวท คัมภีร์สามเวทและคัมภีร์อถรวเวทหรืออาถรรพเวท)แล้วยังต้องเรียกคัมภีร์เวทางค์และคัมภีร์อุปเวทอีก นอกนี้ยังมีมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่และคัมภีร์สำคัญที่ต้องเรียนต่อไปอีก เช่น
มหากาพย์ เป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์ ที่ใช้เรื่องราวปรัมปราเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า อิติหาส(อิติ+หา+อาส แปลว่า เป็นเช่นนั้นจริงจริง หมายถึงวิชา ประวัติศาสตร์นั่นเอง)
มหากาพย์รามายณะ เป็นมหากาพย์ชิ้นแรกของโลกที่รจนาโดย ฤาษีวาลมีกิ แต่งจำนวน ๒๔,๐๐๐ โศลก มีทั้งหมด ๗ กานฑ(กัณฑ์)หรือ ๗ ตอน เป็นเรื่องราวของพระรามและนางสีดา รามายณ แปลว่า การไปของราม ซึ่งหมายถึงการเดินทางบุกป่าฝ่าดงของพระรามในการติดตามหานางสีดา นั่นเอง ต่อมาเรื่องราวนี้ได้เผยแพร่ไปในเอเซียอาคเนย์ จึงเกิดวรรณคดีเรื่องนี้ในหลายชาติเช่น อินโดนีเซีย มลายู กัมพูชา ลาว พม่าและไทย สำหรับไทยนั้นได้แต่งเติมและสร้างเรื่องใหม่ให้เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมฝ่ายกรุงศรีอยุธยาในชื่อว่า รามเกียรติ ที่ใช้การแสดงโขน ถ่ายทอดเรื่องราว
นอกจากนี้ยังมีกาพย์ที่สรรเสริญพระรามโดยพรรณาชีวประวัติและยกย่องคุณความดีอีกหลายเล่มเช่น กาพย์รฆุวงศ์ ของ รัตนกวี กาลิทาส
มหากาพย์มหาภารตะ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่มีแต่งเป็นฉันท์โดยฤาษีเวทวยาสหรือกฤษณ ไทวปายน แต่งจำนวน ๑ แสนโศลกมีทั้งหมด ๑๘ บรรพ(ปรว)หรือประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บรรทัด เนื้อเรื่องเป็นการพรรณาถึงการทำสงครามที่ขับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูลคือตระกูลเการพ(โกรพ) กับตระกูลปาณฑพ ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คือ ท้าว ภรต (โอรสท้าวทัศยันต์กับนางศกุนตลา) เพื่อแย่งชิงราชสมบัติหรือแย่งกันปกครองแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของประเทศต่างทุกแห่งแต่ฮินดูนั้นถือว่ามหาภารตะนี้ คือสงครามระหว่างฝ่ายธรรมะที่ชนะอธรรม ณ ทุ่งกุรุเกษตร ต่างสู้รบกันนานถึง ๑๘ วันต่างสูญเสียรี้พลมากมายจนเป็น”มหายุทธ”ที่ดุเดือดบ้าคลั่งสงคราม เรื่องนี้เกิดก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ ๕๐๐ ปี นับเป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมเรื่องปรัมปรา ขนบธรรมเนียมประเพณี และนานาปรัชญาจากพหุเทวนิยม เทวนิยม เอกนิยม ที่เต็มไปด้วยพลังทางสร้างสรรค์ นอกนั้นยังใช้เป็นธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ นิติศาสตร์และโมกษศาสตร์ด้วย มหากาพย์นี้มีโศลกยกย่องว่า
“ สิ่งใดที่มีอยู่ในมหากาพย์นี้ สิ่งนั้นอาจมีให้เห็นในที่อื่นได้ แต่สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในมหากาพย์นี้ สิ่งนั้นย่อมจะหาไม่ได้เลยในที่แห่งอื่น”
ในมหากาพย์มหาภารตะเรื่องนี้ ปรากฏมีชื่อ พระอาจารย์โทรณะ ว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในศิลปทั้งหลายรวมทั้งวิชาการณรงค์สงครามด้วย ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าชายทั้งหลายต้องศึกษาและเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ผู้นี้ทั้งสิ้น ผู้รจนานั้นได้แต่งกาพย์หริวงศ์ เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระกฤษณะผู้ที่ชาวฮินดูเคารพนับถือว่า เป็นอวตารปางหนึ่งของพระวิษณุเทพเจ้า จนมีชื่อเรียกว่า พระคัมภีร์พระเวทที่ ๕ อีกชื่อหนึ่ง
ศรียวาหระลาล เนห์รู ประธานาธิบดีอินเดียได้พูดถึงหนังสือมหากาพย์สองเล่มนี้ใน”พบถิ่นอินเดีย”ว่า”ข้าพเจ้าไม่รู้จักหนังสือเรื่องใดที่ใหนจะมีอิทธิพลเหนือจิตใจของมวลชนอย่างต่อเนื่อง และแผ่ไพศาลมากเท่ากับหนังสือสองเล่มนี้ แม้หนังสือนี้จะมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์แล้ว หนังสือสองเล่มนี้ยังสร้างพลังอย่างจริงจังในวิถีชีวิตของประชาชนชาวอินเดีย”
สังคมชีวิตของอินเดียโบราณ จึงมุ่งเน้นการศึกษาศาสตร์และพระคัมภีร์ต่างๆมากมายสำหรับการสร้างอาณาจักรให้มั่นคง โดยยึดเอาความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการนำศาสนามาใช้ครองตนครองแผ่นดินสร้างอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

คัมภีร์โบราณต้นแบบของชีวิต
คัมภีร์โบราณที่เป็นต้นแบบชีวิตของชาวอินเดียโบราณในสมัยแรกนั้น เรียกว่า คัมภีร์ปัญจลักษณะ ได้แก่
คัมภีร์ปุราณะ เป็นเรื่องราวที่มีมาแต่โบราณกาล ถือเป็นสารานุกรมที่รวบรวมความรู้นานาประการของชาวฮินดูโบราณ และสมัยกลาง ได้แก่ความรู้ทางศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ เรื่องราวของบุคคลสำคัญๆและพฤติการณ์ของบ้านเมือง ในปทานุกรมอมรโกษ ได้อธิบายถึง คัมภีร์ปุราณว่า เป็นคัมภีร์ “ปัญจลักษณะ” ที่มีเนื้อเรื่องประกอบด้วย ความเป็นมาของเอกภพ ความพินาศและกลับมีเป็นขึ้นใหม่ของเอกภพ ประวัติเทพเจ้าและทวยเทพ การครองโลกของพระมนู ๑๔ องค์ และประวัติของศูรยวงศ์ และจันทรวงศ์ คัมภีร์ปุราณนั้นเป็นคัมภีร์ที่ดำเนินเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของพระผู้เป็นเจ้าสามองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ นับเป็น”มหาปุราณ”มีจำนวน ๑๘ เล่ม (บางแห่งว่าภาคผนวกของมหาปุราณนั้นมี อุปปุราณ อีก ๑๘ เล่ม) คัมภีร์นี้มีประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องชีวิตของชาวอินเดียโบราณ
คัมภีร์ภควัทคีตา แปลว่า เพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นตอนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ ซึ่งถือเป็นหัวใจปรัชญาของฮินดู โดยพัฒนามาจากลัทธภาควัต มีคำฉันท์เป็นบทโศลก ๗๐๐ บท หลักธรรมคำสอนให้คนเลิกคิดว่า ด้วยวิถีทางแห่งการเป็นนักบวชว่า ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ วรรณะหรืออาชีพใดก็ตาม หากมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ก็ย่อมจะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ทุกคน และเป็นคัมภีร์ที่เน้นหนักถึงวัตรปฏิบัติทางหลักจริยธรรม หรือหลักธรรมใดถ้าหากจากความเมตตากรุณาของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว กุศลผลบุญย่อมไม่บังเกิดขึ้นแต่ประการใด
คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ต่อท้ายคัมภีร์พระเวท เป็นคำสอนลี้ลับที่ว่าด้วยหลักหรือคำสอนเกี่ยวกับ ปรมาตมัน ที่เชื่อว่าเป็นความจริง นั้น อารตมันหรือวิญญาณของคนแต่ละชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของปาราตมัน จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างนับไม่ถ้วน ด้วยเหตุที่กรรมคือการกระทำ เมื่อหมดที่จะเวียนว่ายตายเกิดนับไม่ถ้วน ต่อเมื่อหมดกรรมแล้ว อาตมันทั้งหลายก็จะกลับคืนเข้าสู่ ปรมาตมัน
คัมภีร์ตันตระ เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วนคำสอนที่ลึกลับ เน้นหนักไปทางไสยศาสตร์หรือเวทมนต์คาถา ส่วนมากจะปรากฏเป็นคำสนทนาระหว่างพระศิวะกับนางทุรคา ผู้เป็นพระชายาว่าด้วยการสร้างโลก ความพินาศของโลก การบูชากราบไหว้พระเจ้า การบรรลุถึงสิ่งที่ปราถนาทุกประการ โดยเฉพาะการบรรลุถึงอิทธิฤทธิ ๖ และวิธีเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า ๔ วิธี ด้วยการบำเพ็ญสมาธิภาวนา คัมภีร์นี้ก่อให้เกิดลัทธิ ศกติ คือ ลัทธิลึกลับที่ใช้บูชาศักดานุภาพของเทพเจ้าฝ่ายหญิง คือ เจ้าแม่กาลี หรือเทวี
คัมภีร์พระไตรปิฏก เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี ๓ ภาคคือ วินัยปิฏก –ระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สุตตปิฏก-พระพุทธวัจนะของพระพุทธเจ้า และอภิธัมมปิฏก –คำสอนชั้นสูงหรือปรัชญาของพระพุทธศาสนา เป็นคัมภีร์ของผู้ตื่นแล้วจากความเป็นจริงของโลก พระพุทธองค์ทรงประกาศว่า
“มนุษย์จะหลุดพ้นเป็นอิสระจากสังสารวัฎ คือการเวียนว่ายตายเกิดได้ ก็โดยการกำจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหาหรือความทะยานอยาก และโดยการมีไมตรีจิตต่อสรรพชีวิตทั้งปวง”
แม้ว่าต่อมานั้นพระพุทธศาสนาจะได้แยกออกเป็น ๒ นิกายคือ
นิกายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่ถือตนเองว่ายึดมั่นอยู่กับคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า โดยใช้บาลีเป็นภาษาบันทึกหลักธรรม นิกายนี้ได้เผยแพร่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศที่มีดินแดนอยู่ทางใต้ได้แก่ลังกา พม่า ไทย กัมพูชาและลาว จึงเรียกว่า นิกายฝ่ายใต้หรือทักษิณนิกาย
นิกายมหายานหรืออาจาริยวาท นิกายที่แตกแยกออกไปจากพุทธบริษัทเดิม ใช้ภาษาสันสกฃฤตเป็นภาษาบันทึกคำสอนต่างๆ ตามแนวทรรศนะของตน นิกายนี้ได้เผยแพร่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศที่มีดินแดนทางเหนือ ได้แก่ ทิเบต เนปาล จีน มงโกเลีย เกาหลี ญวน และญี่ปุ่น จึงเรียกว่านิกายฝ่ายเหนือหรือ อุตรนิกาย ซึ่งมีพระสูตรต่างๆมากมายเช่นคัมภีร์มหาวัสตุ คัมภีร์สลิตวิสูตร คัมภีร์พุทธจริต และที่สำคัญที่สุดคือ คัมภีรน์สทธรรมปุณฑรีกสูตร ซึ่งยึดมั่นในแนวคำสอนว่า
“พระพุทธองค์ทรงสถิตสถาพรอยู่กับสัตว์โลกชั่วกัลปาวสาน และทรงเป็นผู้ประทานวิมุกติภาพให้แก่ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ” จึงทำให้พระพุทธศาสนานิกายมหายานนี้มีแนวสอนที่ใกล้เคียงกับศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาอื่นที่ถือว่า มีพระผู้เป็นเจ้าที่ยิ่งใหญ่
นอกจากคัมภีร์โบราณแล้ว นักอักษรศาสตร์ในสมัยราชวงศ์คุปตะ ได้นิยมการแต่ง กาวย หรือ กาพย์ ที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองและใช้ถ้อยคำที่ได้รับการประดิษฐอย่างไพเราะเพริศพริ้งแพรวพราว จึงเกิดวรรณคดี ขึ้นมากมายในความอุปถัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากมหากาพย์ดังกล่าวแล้วยังมีงานของกาลิทาส รัตนกวีโบราณที่มีชื่อเสียงในการแต่งโคลงขับร้องและบทละคร มีผลงานที่สำคัญคือ มาลวิกาคนิมิตร (ความรักของมาลวิกาและอัคนิ) วิกรโมรวสี(อุรวสี ผู้ถูกพิชิตด้วยความกล้าหาญ และศกุนตลา(แหวนที่หาย) ส่วนงานวรรณกรรมอื่นนั้นมีมากมายเช่น รฆุวงศ์ เป็นกาพย์พรรณาวงศ์พระราม กุมารสมภพ บรรยายกำเนิดของขันธกุมาร หรือการติเกยะ เทพเจ้าสงคราม ฤตุสมหาร บรรยาย การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของฤดูกาล และเมฆฑูต ที่พรรณาถึงท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์
ส่วนวรรณกรรมสำคัญอื่นๆนั้นได้แก่ อุตตรรามจริต ของ ภวภูติ ที่พรรณาเรื่องราวตอนปลายของพระราม รัตนาวลี (สายสร้อยแก้วมณี) ของพระเจ้าหรรษ คีตโกวินท์(เพลงของคนเลี้ยงวัว)ของ ชัยเทว ผู้เป็นราชาแห่งกวีทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นกาพย์พรรณาความรักอย่างดื่มด่ำของพระกฤษณะกับนางราธา สาวเลี้ยงวัวแห่งมถุรา หรรษจริต ของพาณ ที่พรรณาเรื่องชีวิตรักของจักรพรรดิหรรษ ในวัยหนุ่ม ในอินเดียโบราณตอนใต้นั้นมี กุราล ของกวีติรุวัลลุวาร พรรณาสาระสำคัญเกี่ยวกับชีวิต คือ การแสวงหาปัญญา ทรัพย์สินเงินทอง และความสุข ติรุวาจคัม ของกวีมาณิกกระวาจคระ ที่พรรณาถึงพระศิวะ ได้ดีที่สุดถึงกับมีคำกล่าวว่า”ใครก็ตามที่ได้อ่านติรุวาจคัมแล้ว ไม่เกิดศรัทธาปสาทะจนถึงกับน้ำตาไหลแล้ว หัวใจของผู้นั้นจะต้องเป็นหัวใจหินแน่เทียว”เป็นต้น
สำหรับนิทานที่เป็นบทเรียนใช้สอนกันแพร่หลายนั้นได้แก่ นิทานชาดกของพระพุทธศาสนา นิทานปัญจตันตระหรือนิทาน๕ หมวด นิทานหิโตปเทศ ของชาวฮินดู กถาสริตสาคร (สาครแห่งนิทาน)ของพราหมณ์โสมเทว นิทานเวตาล ซึ่งนิทานเหล่านี้ได้มีอิทธิพลไปถึงยุโรปนี้ดังปรากฏเป็นนิทานอีสิป ของอีสป(AESOP) ปราชญ์ชาวกรีก นิทานอาหรับราตรี บันเทิงทศวาร ของ บอคคาซิโอ(DECAMERON ของ BOCCACIO) นิทานซานเตอเบอรี่(CANTERBURY ) นิทานลา ฟอนเต(LA FONTAINE )และนิทานของกริมม์( GRIMM) เป็นต้น
ในสมัยราชวงศ์คุปตะระหว่างพ.ศ.๘๖๓–พ.ศ.๑๐๓๓นั้นได้มีตำรับตำราที่เป็นโบราณศาสตร์เกิดขึ้นหลายแขนงมี ตำราตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ นิติศาสตร์และตำราธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะคัมภีร์อรรถศาสตร์ ของ เกาฏิลย หรือ จาณักย อัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งราชวงศ์เมารายะ(ก่อนคริสตศักราช ๓๒๔–๑๘๗ ปี)ถือเป็นรากฐานกฏหมายสำคัญของชาวฮินดู และมีอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆด้วย ต่างใช้เป็นต้นแบบของปรัชญาและข้อกำหนดของสังคม นับเป็นคัมภีร์โบราณศาสตร์ ที่เป็นต้นแบบสำหรับประเทศในดินแดนสุวรรณภูมิและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ดังนั้นคัมภีร์ต้นแบบนี้นอกจากความเชื่อทางศาสนาแล้ว คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ถือเป็นคัมภีร์หลักว่าด้วยหลักกฏหมาย จารีตประเพณีและสิทธิหน้าที่ของคนในสังคมฮินดู คัมภีร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ คัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมนู และคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของ ยาชญวลกย หลักของคัมภีร์นี้เน้นเนื้อสาระที่สำคัญคือ หลักความประพฤติ และปฏิบัติ เรียก อาจาร อำนาจตุลาการเรียก วยวหาร และการลบล้างความผิด เรียก ปรายศจิตต กล่าวกันว่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์นี้ ฤาษีจำนวน ๑๘ ตน(มีบางแห่งจำนวนต่างกัน)ได้ช่วยกันรจนาด้วยอำนาจที่พระผู้เป็นเจ้าดลใจให้ ต่อมาได้การยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ที่มีอิทธิพลเหนือระบบกฏหมายของประเทศนั้น
คัมภีร์อรรถศาสตร์ แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยการแสวงหาผลประโยชน์ ตำราที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ตำราอรรถศาสตร์ของเกาฏิลย หรือ จาณกย (วิษณุคุปต์) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระเจ้าจันทรคุปต์เมารย(เป็นพระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช) เมื่อศตวรรษที่ ๔ ก่อนคริสต์ศก กาฏิลย ผู้นี้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บิดามารดาตั้งชื่อว่า วิษณุคุปต์ เหตุที่เป็นชาวเมืองจาณัก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาณักย์ ในสมัยโบราณเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถ มีชั้นเชิงในทางการเมืองหาตัวจับได้ยาก ชาวอินเดียขนานนามว่าเป็น MACHIAVELLI ของอินเดีย ในสมัยหนึ่งได้ตั้งตำบลจาณักยปุรีไว้เพื่อแสดงถึงปรากฏการณ์นี้
“โบราณศาสตร์”นั้นเป็นตำรับตำราที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ เป็นศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์และอาณาจักร เพื่อใช้ปกครองดูแลและกำหนดชะตาเมือง ตลอดจนการเสริมอำนาจบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่เป็นเจ้าชีวิต และอาณาประชาราษฎรประสบแต่ความร่มเย็นเป็นสุข แผ่พระเดชานุภาพให้ไพศาลไปทั่วสารทิศตลอดไป
วิชาการที่เป็นโบราณศาสตร์นั้นจึงเริ่มต้นมาจากอิทธิพลของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ชื่อของโบราณจารย์จึงมีตำแหน่งสูงส่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิโดยเฉพาะอาณาจักรสยามนั้นปรากฏชื่อในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยว่า “ปู่ครู” หรือในเอกสารสมัยอยุธยาว่า พระราชครู หรือ พระโหราธิบดี ซึ่งไม่แตกต่างไปจากตำแหน่งพราหมณ์ ปิฏกาจารย์ พระมหาราชครู หรือปุโรหิต หรือ นักปราชญ์ราชบัณฑิต ที่เป็นตำแหน่งสำคัญปรากฏในประเทศอื่น ที่รับเอาศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและพุทธศาสนา ไปเป็นหลักในการศึกษาและสั่งสอนอาณาประชาราษฏร์
ประเด็นที่น่าศึกษาต่อไปก็คือเส้นทางเดินของโบราณศาสตร์ชั้นสูงของอินเดียดังกล่าวนี้ได้เดินทางเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิได้อย่างไร