วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธศาสนสุภาษิต

คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ
พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย
พุทธศาสนสุภาษิต ณ ที่นี้ได้แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เพื่อให้สดวกแก่การศึกษา และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีระบบ

อัตตวรรค - หมวดตน

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบุรุษ

อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง

อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น

สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก

อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน

ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น

อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง


อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ

อปฺปมตฺตา น มียนฺต ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย

อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย

อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ
มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท


กัมมวรรค - หมวดกรรม

สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ

สุกรํ สาธุนา สาธุ ความดี อันคนดีทำง่าย

สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ ความดี อันคนชั่วทำยาก

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า

รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม

นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ

อติสีตํ อติอุณฺห ํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้

โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปต
ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่ง ไม่เว้นแม้กระทั่งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่อง การอยู่รอด และ การเปลี่ยนแปลง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า “ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก”



การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ หากจะมองในระดับบุคคลแล้ว คงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดจะสำคัญและยิ่งใหญ่ไปกว่าการปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) ประเด็นคำถามที่ตามมาก็คือ ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เป็นหรือเกิดขึ้นจริง มิใช่เป็นการเห็นหรือเข้าใจตามที่เราต้องการจะเห็นหรือให้มันเป็น ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ทั้ง ความรู้ และ ความรู้สึก ควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบ จนอาจลืมสาระและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจำเป็นของระบบของมาตรฐาน โดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความหลากหลาย (Diversity)



เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่ง โครงสร้าง องค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่า ระบบ ขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด



การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้าน การจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หลายคนบอกว่าการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต แต่สำหรับผมแล้วผมกลับเห็นว่า การสร้างศรัทธาต่างหากที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมพบว่าแม้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว



คำถามที่ตามมาก็คือ “ศรัทธาเหล่านี้มาจากไหน เราจะสามารถพัฒนามันขึ้นมาได้อย่างไร ” หากจะกล่าวโดยรวมแล้วศรัทธาเป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของ การยอมรับ เป็น เรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป โดยหลักใหญ่ๆ แล้วการที่คนผู้หนึ่งผู้ใดจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป บุคคลนั้นก็คงต้องมีอะไรที่เหนือ หรือโดดเด่นอยู่บ้าง เช่น อาจจะโดดเด่นในเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ประสบการณ์ หรือความรู้ความสามารถ ซึ่งคนทั่วไปก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไป บางคนก็ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณวุฒิ วัยวุฒิ ในขณะที่บางคนกลับให้ความสำคัญกับเรื่องความรู้ความสามารถเป็นหลัก



แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น “ผู้ให้” หากเราลองนึกถึง ผู้นำในดวงใจ ของเรามาสัก 2-3 คน และลองพิจารณาถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้ให้ของผู้นำในดวงใจที่เราเลือกมา ก็จะพบว่าส่วนใหญ่มักจะมีคุณสมบัติที่ว่านี้ค่อนข้างชัดเจน เราจะพบว่า ผู้นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ



หากท่านตั้งคำถามว่าในโลกนี้มีคนประเภทที่กล่าวมานี้ด้วยหรือ คำตอบก็คือ “มี“ เพราะเราก็ยังคงพบเห็นคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่ว่าในปัจจุบันอาจจะมีให้เห็นไม่มากนัก เพราะผู้นำที่เราพบกันโดยทั่วไปมักจะเป็นผู้นำที่มาโดยตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่ การที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น “ผู้ให้” นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ Ralph Emerson นักปรัชญาชาวอเมริกันได้กล่าวถึงสมดุลของการให้และการรับไว้ว่า “ในขณะที่เราให้หรือเสียอะไรบางอย่างไป เราก็มักจะได้อะไรบางอย่างมา และในขณะที่เราได้บางสิ่งบางอย่างมา เราก็มักจะต้องเสียบางสิ่งบางอย่างไปเสมอ” และด้วยอมตะวาจานี้เราจึงพบว่า ผู้ที่ให้มักจะเป็นผู้ที่ได้รับอะไรๆ อยู่เสมอ ทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็มิได้คาดหวังอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เข้าทำนองที่ว่า “ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ” ซึ่งส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาได้รับนี้ก็คือศรัทธาอันเป็นผลเนื่องมาจากความสามารถที่จะ “ซื้อใจ” ผู้ตามได้นั่นเอง

การคิดแบบนักบริหาร

ความคิดคืออะไร
ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind) ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive system) โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึก ผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ การคิดไม่เหมือนกัน การคิดแบบจินตนาการ การคิดหวนรำลึกถึง การคิดใช้เหตุผล และการคิดแก้ปัญหา

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร
· การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
· ความต้องการสิ่งแปลกใหม่ กระตุ้นให้คิด คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ นักคิดก็คือ กบฏตัวน้อย มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด หากเราบอกตัวเองว่า เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา
· ความสงสัย กระตุ้นให้คิด สร้างให้เกิดความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น
· สภาพปัญหา กระตุ้นให้คิด ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด เราต้องหาวิธีออก วิธีคิด การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด 10 มิติ การคิด 10 มิติ เกิดจากการประชุมระดับชาติ เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด นอกกรอบ

วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด 10 มิติ
1. การคิดเชิงกลยุทธ์
2. การคิดเชิงอนาคต
3. การคิดเชิงสร้างสรรค์
4. การคิดเชิงวิพากษ์
5. การคิดเชิงบูรณาการ
6. การคิดเชิงวิเคราะห์
7. การคิดเชิงเปรียบเทียบ
8. การคิดเชิงสังเคราะห์
9. การคิดเชิงมโนทัศน์
10. การคิดเชิงประยุกต์

1. การคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น จริงๆ แล้วความคิดทั้ง 10 มิติ เป็นการใช้ตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด คือ คนที่นำในองค์กร คนแรกที่ต้องพบปัญหา คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา และมีทรัพยากรจำกัด บุคลากรก็มีจำกัด สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้ ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่างๆ ในการวางแผน การบริหารจัดการ การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคต เพื่อการตัดสินใจในอนาคต มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต วิธีที่หนึ่งเหตุการณ์จะเกิดขึ้น เดินไปเรื่อยๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม ตามสภาวะแวดล้อม ตายเอาดาบหน้า อีกวิธีหนึ่ง คือ แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้ เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้ แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้ นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้ เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง บริหารงบประมาณ บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง
ขั้นที่สอง วิเคราะห์และประเมินสถานะ
ขั้นที่สาม การหาทางเลือกกลยุทธ์
ขั้นที่สี่ การวางแผนปฏิบัติการ
ขั้นที่ห้า การวางแผนคู่ขนาน
ขั้นที่หก การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
ขั้นที่เจ็ด การลงมือปฏิบัติการ
ขั้นที่แปด การประเมินผล

2. การคิดเชิงอนาคต
มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลักดังนี้คือ
1. หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic Approach) ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน
2. หลักความต่อเนื่อง (Continuity) การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
3. หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
4. หลักการอุปมา (Analogy) โดยยึดหลักว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
5. หลักการจินตนาการ (Imagination) การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
6. หลักดุลยภาพ (Equilibrium) เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง

3. การคิดเชิงสร้างสรรค์
ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์ โจทย์ไม่เหมือนเดิม คำตอบไม่เหมือนเดิม วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม จึงมีความแปลกใหม่ ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ การคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ใครคิดก่อนได้เปรียบ หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่
1. ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
2. อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์
3. การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์
วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง 3 ข้อดังกล่าว

4. การคิดเชิงวิพากษ์
หมายถึง ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่
หลักที่ 1 ให้สงสัยไว้ก่อน................อย่าเพิ่งเชื่อ
หลักที่ 2 เผื่อใจไว้...............อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้
หลักที่ 3 เป็นพยานฝ่ายมาร............ตั้งคำถามซักค้าน

5. การคิดเชิงบูรณาการ
ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วนทุกมุมมอง ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่
1. ตั้ง “แกนหลัก”
2. หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก
3. วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน

6. การคิดเชิงวิเคราะห์
ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย
1. หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อมูลที่ได้รับ
2. ใช้หลักการตั้งคำถาม
3. ใช้หลักการแยกแยะความจริง เช่น
แยกแยะระหว่าง ความจริง (truth) กับความเชื่อ (belief)
แยกแยะโดยจำกฎขั้วตรงข้าม (the principle of contradiction)
แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง (facts) กับข้อคิดเห็น (opinions)

7. การคิดเชิงเปรียบเทียบ
การคิดเชิงเปรียบเทียบมีประโยชน์มากสำหรับผู้บริหาร 3 ด้านคือ
1. คิดเปรียบเทียบใช้วิเคราะห์
2. คิดเปรียบเทียบใช้อธิบาย
3. คิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหา
การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเพื่อให้เราลดความผิดพลาด เช่น สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้หรือตัดสินใจได้ ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี การคิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรใหม่ ๆ หลักการคิดเชิงเปรียบเทียบได้แก่
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ
2. กำหนดเกณฑ์ (criteria) การเปรียบเทียบ
3. แจกแจงรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์
4. เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์

8. การคิดเชิงสังเคราะห์
เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่างๆ แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย เช่น การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้ ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว แต่เราใช้แรงสักหน่อย นำมาศึกษา นำมาสังเคราะห์ ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม
การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน

9. การคิดเชิงมโนทัศน์
หมายถึง การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด กระชับสามารถอธิบายได้ เป็นการคิดรวบยอด สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน สามารถถ่ายทอดออกไปได้ การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้ ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “นายอำเภอ” นั้น เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน สะท้อนถึงหน้าที่ บุคลิก บทบาทของขอบข่ายงาน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้ แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์ เช่น มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง เสพแล้วติดให้โทษ แต่ปัจจุบัน ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย
1. การเป็นนักสังเกต
2. การตีความ
3. การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม
ก. สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด
ข. สามารถแยกมโนทัศน์หลัก - มโนทัศน์ย่อยได้
4. การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่
ก. การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น
ข. การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น
5. การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด
6. การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

10. การคิดเชิงประยุกต์
หมายถึง ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่ คล้าย ๆกับนำต้นไม้ เช่น นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม เกิดผลดีผลเสียอย่างไร นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย
1. ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก
2. ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์
3. ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน
การคิด 10 มิติ นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้ หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10 มิติ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรอง หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ

ปัญหาในการจัดการทรัพยากรมนุษย์และแนวทางแก้ไข

ปัญหาด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ปัญหาในการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ในทางปฏิบัติพบว่ามีปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. ปัญหาการผสมผสานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Integration) ในกรณีที่องค์การขาดการผสมผสานเชิงกลยุทธ์ เช่น ขาดการวางแผนธุรกิจ ทำให้การบริหารขาดทิศทางที่ชัดเจน ไม่มีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานตามช่วงเวลาในอนาคต นอกจากจะไม่สามารถวัดผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ด้วย
2. ปัญหาการเปรียบเทียบมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับองค์การอื่น (Benchmarking) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์การส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่การเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติขององค์การอื่น โดยเฉพาะองค์การคู่แข่ง ทำให้องค์การไม่สามารถกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการปฏิบัติของพนักงานได้
3. ปัญหาด้านกฎระเบียบ ข้อกำหนด หรือโครงสร้างการทางบริหาร (Rigid Structure) ถ้าองค์การมีกฎระเบียบ ข้อกำหนด หรือโครงสร้างทางการบริหารที่ซับซ้อนและไม่ยืดหยุ่น การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และความจำเป็นทางธุรกิจจะทำได้ยาก
4. ปัญหาการผสมผสานการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (No Integrative Human Resource Management) กิจกรรมการบริหารแยกออกจากกัน ไม่มีการประสานและสนับสนุนกัน ต่างฝ่ายต่างทำ
5. ปัญหาการคาดคะเนความต้องการด้านกำลังคน (No Manpower Requirement Forecast) คือ ไม่มีการวางแผนกำลังคนที่ดี

ปัญหาด้านการสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์

1. การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์จากภายในองค์การ
1.1 ขาดการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องตำแหน่งงานว่างที่ดีพอ
1.2 ผู้บังคับบัญชาไม่สนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้มีโอกาสโอนย้ายไปปฏิบัติหน้า­ที่ยังหน่วยงานอื่น
1.3 ขาดความเป็นธรรมในการคัดเลือก
1.4 องค์การขาดโอกาสที่จะคัดเลือกคนที่มีความสามารถสูง และเหมาะสมกับตำแหน่งจากภายน­อก
1.5 การสรรหาและคัดเลือกพนักงานภายในองค์การอย่างเดียว จะทำให้วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมขององค์การมีลักษณะคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง ขาดการผสมผสานจากปัจจัยภายนอก
1.6 การสรรหาและคัดเลือกพนักงานภายในองค์การ สามารถทำได้เฉพาะในบางระดับและทำได้ในข­อบเขตที่จำกัด



2. การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์จากภายนอกองค์การ
2.1 ช่วงเวลาในการรับสมัครพนักงานใหม่ไม่เหมาะสม เช่น การรับสมัครนักศึกษาในช่วงเวลาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจะมีผู้สมัครจำนวนมาก มีโอกาสเลือกสรรได้มาก แต่ถ้ารับสมัครช่วงเวลาอื่น คนดีๆ อาจได้งานไปหมดแล้ว หรือ การรับสมัครผู้มีประสบการณ์แล้ว หากทำช่วงปลายปีย่อมไม่เหมาะสม
2.2 องค์การไม่สามารถดึงดูดความสนใจให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการมาสม­ัครงาน
2.3 ปัญหาได้คนไม่ตรงกับความต้องการ
2.4 ปัญหาเรื่องความยากลำบากในการสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
2.5 ปัญหาเรื่องขาดการสื่อข่าวสารการรับสมัครที่ดีและเหมาะสม
2.6 ปัญหาเรื่องกระบวนการคัดเลือกขาดประสิทธิภาพ
2.7 ระบบคัดเลือกโดยการใช้วิธีสัมภาษณ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการสัมภาษณ์
2.8 ขาดการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้สมัคร เพราะไม่มีระบบการจัดการที่ดี
2.9 ปัญหาเรื่องการรักษาความลับ
2.10 ปัญหาเรื่องการเสนอเงินเดือน
2.11 ปัญหาเรื่องการตรวจสอบประวัติผู้สมัคร เพื่อให้แน่ใจว่าได้คนดีมาร่วมงาน

ปัญหาด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

1. การฝึกอบรมและพัฒนาไม่ตอบสนองกลยุทธ์ขององค์การ
1.1 การฝึกอบรมและพัฒนาถือเป็นเครื่องมือของฝ่ายจัดการ แต่บางครั้งการฝึกอบรมและพัฒนาไม่ตอบสนองกลยุทธ์ขององค์การ เช่น องค์การมีความต้องการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการ แต่กลับไปทำการฝึกอบรมการทำงานเป็นทีม
1.2 การฝึกอบรมและพัฒนาไม่สอดคล้องกับช่วงการพัฒนาธุรกิจ เช่น ธุรกิจอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่การฝึกอบรมและพัฒนาเน้นไปในเรื่องการลดต้นทุนการดำ­เนินงาน
1.3 ความแตกต่างของลักษณะและประเภทธุรกิจของแต่ละองค์การ เช่น การเลียนแบบการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขององค์การที่มีชื่อเสียง โดยไม่คำนึงถึงค­วามเหมาะสมในเชิงกลยุทธ์

2. การฝึกอบรมและพัฒนาไม่สอดคล้องกับการพัฒนาสายอาชีพ
2.1 ในแต่ละองค์การจะต้องมีการกำหนดกลุ่มงาน (Job Group) และความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) อย่างชัดเจน จากตำแหน่งเริ่มต้นไปจนถึงสูงสุด ปัญหาคือองค์การไม่ได้กำหนดระดับความรู้ความสามารถในแต่ละระดับงานไว้ให้ชัดเจน จึงไม่สามารถกำหนดหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมได้
2.2 แม้บางครั้งจะกำหนดในเรื่องความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และพฤติกรรม ในแต่ละระดับไว้ชัดเจน แต่หากไม่สอดคล้องและเสริมกัน จะทำให้การพัฒนาพนักงานในแต่ละระดับตามสายอาชีพขาดความชัดเจน
2.3 การฝึกอบรมและพัฒนาที่ไม่ดำเนินการในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ฝึกอบรมแล้วไม่ได้นำความรู้และทักษะไปใช้ในทันที อาจทำให้ลืมได้ ในทางกลับกันการจัดการฝึกอบรมและพัฒนากำหนดให้มีขึ้นช้าไป ปล่อยให้พนักงานเรียนถูกเรียนผิดเป็นเวลานานจนเกิดความเคยชิน เมื่อได้รับการฝึกอบรมอาจจะไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
2.4 พนักงานขาดข้อมูลข่าวสารในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ ทำให้พนักงานทำงานโดยปราศจากจุดมุ่งหมายที่ถูกต้อง
2.5 การฝึกอบรมและพัฒนาโดยไม่คำนึงปัจจัยเรื่อง กลุ่มอายุ ระดับตำแหน่ง และสายอาชีพที่แตกต่างกัน จะเกิดความสูญเปล่า

3. ปัญหาด้านกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนา
กระบวนการฝึกอบรมเริ่มจากการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม ไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม หลังจากนั้นจึงลงมือฝึกอบรม และทำการประเมินผล ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ
3.1 ปัญหาเรื่องการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ผิดพลาด จากการได้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงจุด
3.2 ปัญหาที่เกี่ยวกับโปรแกรมการพัฒนา เช่น หัวข้อ เทคนิคการสอน ช่วงเวลา จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม คุณสมบัติของผู้เข้าฝึกอบรม
3.3 ปัญหาในการดำเนินการฝึกอบรม เช่น การเลื่อนช่วงเวลาการฝึกอบรม วิทยากรมีความรู้ไม่เพียงพอ เนื้อหาไม่ครอบคลุม เวลาในการฝึกอบรม
3.4 ปัญหาในการประเมินผลการฝึกอบรมและพัฒนา
3.5 ปัญหาเกี่ยวกับนโยบายการฝึกอบรมและพัฒนา เกิดจากผู้บังคับบัญชาไม่เข้าใจนโยบายการฝึกอบรมและพัฒนาขององค์การ

ปัญหาด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและค่าตอบแทน

1. ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นหัวใจของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะชี้วัดว่าการบริหารงานขององค์การจะประสบความสำเร็จมากน­้อยเพียงใด ในทางปฏิบัติพนักงานส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานได้ต่ำกว่าความคาดหวังขององค์การ ทั้งนี้เพราะองค์การจะเพิ่มความคาดหวังจากพนักงานสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร เพิ่มความสามารถใจการแข่งขัน ฯลฯ ปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1.1 การสร้างระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.1.1 ระบบประเมินผลไม่สามารถที่จะวัดเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์การได้
1.1.2 ไม่สามารถวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติที่พึงประสงค์ของพนักงานทุกคนได้ เนื่องจากในแต่ละหน่วยงานจะมีภารกิจหน้าที่และลักษณะงานแตกต่างกัน
1.1.3 ขาดมาตรฐานในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.1.4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถวัดให้เห็นความแตกต่างของพนักงานแต่ละคนได้ แต่ไม่สามารถวัดผลการปฏิบัติงานในระดับหน่วยงานได้และทีมงานได้
1.1.5 ขาดระบบหรือเครื่องมือที่จะนำข้อมูลจากการประเมินผลไปใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนของพ­นักงาน ทีมงาน และองค์การ
1.2 วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1.2.1 การมองด้านเดียว ประเมินโดยการพิจารณาจากพฤติกรรมของพนักงานเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นการไม่เป็นการยุติธรรม
1.2.2 เรื่องเวลา เนื่องจากองค์การไม่ได้ทำการประเมินตลอดเวลา
1.2.3 เรื่องความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา ถ้าเห็นว่าการประเมินเป็นเรื่องสำคัญ ผลการประเมินจะมีความน่าเชื่อถือและมีความถูกต้อง ถ้าเห็นว่าการประเมินไม่สำคัญ ผลการประเมินจะบิดเบือนจากความเป็นจริง
1.2.4 ผลที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาจะกลัวว่าผลการประเมินที่เป็นลบ จะทำให้พนักงานหมดกำลังใจ
1.2.5 การแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง การตำหนิโดยไม่บอกแนวทางการแก้ไข จะส่งผลให้พนักงานไม่ทราบแนวทางปฏิบัติที่หน่วยงานต้องการ
1.2.6 การให้คะแนนในการประเมินไม่มีความสม่ำเสมอ
1.2.7 ข้อบกพร่องของผู้บังคับบัญชา เช่น การมองแต่อดีตที่ผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่บกพร่องในอดีต
1.2.8 การแจ้งผลการประเมิน บ่อยครั้งที่ผู้บังคับบัญชาไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่จุดประสงค์หลักของการประเมิน เป็นเพียงแค่การพูดคุยัน
1.2.9 ผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้พนักงานขาดความเลื่อมใสต่อนโยบายขององค์การและไม่คิดที่จะปฏิบัติตนตามควา­มคาดหวังขององค์การ

2. ปัญหาค่าตอบแทน
2.1 ปัญหาโครงสร้างเงินเดือน
2.1.1 การกำหนดโครงสร้างเงินเดือนโดยไม่มีการวิเคราะห์งานและตีค่างาน
2.1.2 การประเมินค่างาน ถ้าองค์การไม่มีการประเมินค่างานจะทำให้ไม่สามารถกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเ­ป็นธรรมได้
2.1.3 โครงสร้างของงาน หากไม่กำหนดตามความยากง่าย คุณภาพและปริมาณ หน้าที่ความรับผิดชอบ การใช้ความรู้ความสามารถ แล้วจะไม่สามารถกำหนดการพัฒนาตามสายอาชีพและเป็นปัญหาในการกำหนดเงินเดือนให้เห­มาะสม
2.1.4 การไม่ทำการสำรวจเงินเดือน
2.2 ปัญหาการกำหนดค่าตอบแทน
2.2.1 ปัญหาในการกำหนดสัดส่วนค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่ไม่เหมาะสม เช่น การกำหนดสัดส่วนที่เป็นตัวเงินมากแต่สวัสดิการน้อย ทำให้พนักงานขาดความจงรักภักดีต่อองค์การ อัตราการเข้าออกงานจะสูง การกำหนดสวัสดิการมาก ทำให้พนักงานเฉื่อยชาและองค์การสิ้นเปลืองงบประมาณสูง การจ่ายโบนัสแบบตายตัวตามฐานเงินเดือน ไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานของพนักงาน เนื่องจากทุกคนได้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน การจัดผลประโยชน์ที่แสดงถึงฐานะตำแหน่งในองค์การสำหรับผู้บริหารระดับสูง เช่น ไม่มีรถประจำตำแหน่ง ไม่มีพนักงานขับรถ ฯลฯ
2.2.2 การวางโครงสร้างเงินเดือนที่กระบอกเงินเดือนหรือขั้นวิ่งยาวเกินไป ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เนื่องจากพนักงานสามารถที่จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มขั้นสูงสุด ในกรณีที่กระบอกเงินเดือนมีความเลื่อมล้ำมาก ส่งผลให้พนักงานที่ได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งไม่เกิดความภาคภูมิใจ พบมากในหน่วยงานราชการ
2.2.3 การกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนอื่นในรูปสวัสดิการซึ่งมีทั้งในแบบของการบำรุงสุขและก­ารบำบัดทุกข์มากเกินไป เช่น ค่าคลอดบุตร ค่าของขวัญวันเกิด ค่าบำรุงขวัญ ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ ส่งผลเสียในเรื่องของต้นทุน แต่ถ้าน้อยเกินไปอาจสร้างความพึงพอใจกับพนักงานได้น้อย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของช่วงอายุที่ต่างกัน อาจต้องการสวัสดิการที่ต่างกัน
2.2.4 การวางโครงสร้างเงินเดือนไม่มีความเหมาะสมกับลักษณะงานและวิชาชีพหรือสายงานหลั­กขององค์การ
2.3 ปัญหานโยบายและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทน
2.3.1 การขาดระเบียบปฏิบัติในการบริหารเงินเดือนที่ชัดเจน
2.3.2 การขึ้นเงินเดือนโดยมีระยะเวลาที่แน่นอนตายตัว ส่งผลให้พนักงานที่มีศักยภาพสูงขาดแรงจูงใจในการทำงาน
2.3.3 องค์การไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารเงินเดือนได้ ส่งผลให้องค์การมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนสูงกว่าผลผลิต ทำให้ธุรกิจไม่สามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้
2.3.4 การขาดสถิติและข้อมูลด้านเงินเดือน
2.3.5 ไม่มีการปรับปรุงนโยบายด้านการบริหารเงินเดือนและการสื่อสาร
2.4 ปัญหาวิธีการบริหารค่าตอบแทน
2.4.1 องค์การไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ เนื่องจากองค์การไม่ได้ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินค่างานและกำหนดอัตราเงินเดือนอย่างเป็นระบบ หรือไม่สามารถอธิบายให้พนักงานเข้าใจได้
2.4.2 อัตราเงินเดือนที่องค์การจ่ายให้พนักงานไม่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งต่างๆ ในองค์การ และไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้
2.4.3 ปัญหาในการขาดการทบทวนโครงสร้างของงานและค่าของงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีการปรับโครงสร้างของเงินเดือนให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงานที่เป็นจริง
2.4.4 การพิจารณาตัดเลือกคนดีและเหมาะสมที่สุด เช่น ระบบอุปถัมภ์ ขาดระบบการคัดเลือกที่ดี ฯลฯ พนักงานผู้นั้นอาจมีผลงานและศักยภาพที่ไม่เหมาะสม และไม่คุ้มค่ากับค่าตอบแทน ที่สำคัญหากรู้ไปถึงพนักงานคนอื่น จะทำให้เสียขวัญและกำลังใจได้
2.4.5 ปัญหาการไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งอาจสูงเท่ากับหรือสูงกว่าการเพิ่มของผลผลิตหรือผลกำไร


ปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์

1. การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกองค์การที่มีพนักงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน วันเวลาทำงานและวันหยุด การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด การจ่ายค่าชดเชย ฯลฯ

2. การบริหารงานที่ไม่คำนึงถึงทฤษฎีการจูงใจ ฝ่ายนายจ้างมักจะจัดหาผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่พนักงานแบบเป็นกลุ่ม โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของพนักงานแต่ละระดับที่แตกต่างกัน จึงอาจเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ได้ เช่น กรณีพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานดีและมีศักยภาพสูง ได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานและศักยภาพด้อยกว่า ทำให้เกิดผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน

3. การขาดความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการเปลี่ยนแปลง

4. การขาดข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและความเดือดร้อนของพนักงาน

ระบบกฎหมายของโลก

ปัจจุบันวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศทำให้เกิดการปรับปนทางด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของมนุษย์ ระหว่างวัฒนธรรมของ ชาติพันธุ์เดิมกับวัฒนธรรมของชาติพันธุ์อื่น และเมื่อสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ย่อมเกิดความขัดแย้งในการดำรงชีพของมนุษย์ทั้งหลายในสังคมโลก ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ร่วมกันของสังคมเพื่อวางระเบียบความประพฤติของมนุษย์ให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขได้

กฎหมายถือว่าเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สังคมใช้ในการสร้างความสงบเรียบร้อยและ ศีลธรรมอันดีงามแก่สังคมมนุษย์ ดังนั้นในบทนี้จึงเสนอถึงระบบกฎหมายของโลกที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในปัจจุบันและความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับสังคม



กฎหมายกับสังคม

สังคมเป็นที่รวมของคนหมู่มากอาจมีทั้งคนดีและคนชั่วปะปนกันอยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข ระเบียบหรือกฎเกณฑ์เหล่านี้มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ ศีลธรรม ศาสนา จารีตประเพณีและกฎหมาย

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหรือควรจะปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะได้รับผลร้ายหรือไม่ได้รับผลดีที่เป็นสภาพบังคับโดยเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมาย ลักษณะของกฎหมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ คือ

กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ “กฎเกณฑ์” (Norm) หมายความว่ากฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน (Standard) ที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้ ตัวอย่างกฎเกณฑ์ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตผู้นั้น กระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพักบาท” บทบัญญัตินี้เป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์ว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดไม่สมควรกระทำ เป็นต้น
กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล ความประพฤติ (Behavior) ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ ความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ
- ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
- การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวนั้น กระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
หากแม้มีการเคลื่อนไหวร่างกายแต่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ตามกฎหมายก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่น การกระทำโดยละเมอ การกระทำโดยตื่นเต้นตกใจ เป็นต้น ส่วนการไม่เคลื่อนไหวร่างกายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น การที่แม่นิ่งเฉยเสียไม่ยอมให้นมหรืออาหารให้แก่ลูกทารก ทำให้ลูกเสียชีวิต เป็นต้น
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (Sanction) ของกฎหมาย คือมาตรการกำหนดผลของการกระทำตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนไม่ยอมกระทำตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย เช่น การลงโทษทางอาญา ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามี 5 สถาน คือ
1.ประหารชีวิต
2.จำคุก
3.กักขัง
4.ปรับ
5.ริบทรัพย์สิน
หรือการลงโทษทางแพ่ง เช่น การให้ส่งมอบทรัพย์สิน หรือการยึดทรัพย์สินของจำเลยนำออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เป็นต้น หรือสภาพบังคับที่เป็นผลดีหากทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รัฐลดภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลที่ทำธุรกิจตามที่รัฐกำหนด เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วคนมักเข้าใจว่ากฎหมายมีสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายเท่านั้น
กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน จากการที่กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ซึ่งสภาพบังคับของกฎหมายนั้นจะต้องมีกระบวนการที่แน่นอนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับกฎหมายโดยประชาชน เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่าใช้กำลังบังคับคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งจะทำให้สังคมวุ่นวาย กระบวนการบังคับให้กฎหมายที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐนี้กระทำ โดยผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล และ ราชทัณฑ์ เป็นต้น
กฎหมายกับศีลธรรม

ศีลธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ภายในจิตใจของมนุษย์จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีสติปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ว่าเมื่อได้ทำอะไรไปบุคคลอื่นอาจจะไม่ยินดีไม่ยินยอมอาจจะต่อสู้ ขัดขวางหรือมีการแก้แค้นได้ มนุษย์เราก็จะต้องระมัดระวังไม่กระทำในสิ่งที่อาจถูกคนอื่นตอบโต้หรืออาจจะถูกตำหนิ ติเตียนได้ ความรู้สึกระมัดระวังเหล่านี้จะเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์เองว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ควรกระทำที่เราเรียกว่า ศีลธรรม

กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้

กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
กฎหมายนั้น ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
กฎหมายกับศาสนา

ศาสนา คือ กฎข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนากำหนดขึ้น เพื่อให้มนุษย์ที่นับถือหรือศรัทธาในศาสนานั้นมีความเชื่อถือและบังคับตนเองให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีและให้ละเว้นไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นความชั่ว เช่น ศาสนาพุทธ มีศีล 5 ห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ มิให้ลักทรัพย์ มิให้ประพฤติผิดในกาม มิให้พูดปด และมิให้ดื่มน้ำเมา เป็นต้น

กฎหมายกับศาสนามีความแตกต่างกัน คือ ในทางกฎหมายนั้น ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีสภาพบังคับ (Sanction) เกิดขึ้นทันที เช่น ถ้าฆ่าคนตาย ก็จะถูกจำคุกตลอดชีวิต เป็นต้น ส่วนทางด้านศาสนานั้นไม่มีสภาพบังคับไว้แน่นอน แต่หากผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับทางศาสนามักจะถูกสังคมที่นับถือศาสนานั้นๆ รังเกียจไม่คบหาสมาคมด้วย

กฎหมายกับจารีตประเพณี

จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ยอมรับนับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วประเพณีนั้นเป็นสิ่งที่มุ่งถึงการกระทำภายนอกของมนุษย์เป็นกฎเกณฑ์ที่บังคับพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมา จารีตประเพณีนั้นอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การที่พบบุคคลอื่น อาจจะมีการทักทายกัน หรือการที่เข้าไปในวัด ในโบสถ์ จะต้องถอดรองเท้า หรือจารีตประเพณีในเรื่องของการแต่งงาน ในเรื่องของการหมั้น อย่างของไทยมีการที่จะต้องไป สู่ขอจากฝ่ายหญิง มีขันหมาก มีสินสอด มีของหมั้นไปให้ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่ง

กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้

กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น
การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น
กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี มีหลายประการด้วยกัน แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย เช่น การที่สามีภริยาไม่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน โดยภริยาไปมีชู้ซึ่งเป็นเรื่องผิดศีลธรรม กฎหมายก็อาจจะบัญญัติถึงผลของการมีชู้ว่าให้สามีฟ้องหย่าจากภรรยาได้เป็นต้น สำหรับศาสนานั้นก็อาจจะมีข้อห้ามของศาสนาที่นำเอามาบัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น ศาสนาพุทธ การห้ามลักทรัพย์ที่มีอยู่ในศีล 5 ก็นำมาบัญญัติไว้เป็นกฎหมายได้


ระบบกฎหมายของโลก

ในการที่มนุษย์มาอยู่รวมกันจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม กฎเกณฑ์นี้เองเรียกว่า “กฎหมาย” กฎหมายที่ใช้อยู่ในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไปตามพัฒนาการของแต่ละสังคม ดังนั้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการอยู่รวมกันในสังคมโลกจึงจำเป็นที่ต้องควรทราบถึงพัฒนาการของระบบกฎหมายที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งระบบกฎหมายออกได้เป็น 4 ระบบ ดังนี้คือ

ระบบกฎหมายโรมาโน – เยอรมันนิค (Romano Germanic Law)
ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)
ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)
ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม (Religious and Traditional Law)

พลังงานนํ้า

พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัย พลังงาน ของ น้ำ ที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิต ไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ใน การชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้

พลังงานน้ำ

พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานศักย์จากความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ พลังงานศักย์ของน้ำถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วให้พลังงานจลน์แก้กังหันน้ำ ซึ่งหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำ
ตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น
1. พลังงานน้ำตก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้ทำได้โดยอาศัยพลังงานของน้ำตก ออกจากน้ำตามธรรมชาติ หรือน้ำตกที่เกิดจากการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น น้ำตกที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ น้ำตกจากทะเลสาบบนเทือกเขาสู่หุบเขา กระแสน้ำในแม่น้ำไหลตกหน้าผา เป็นต้น การ สร้างเขื่อนกั้นน้ำและให้น้ำตกไหลผ่านกังหันน้ำซึ่งติดอยู่บนเครื่องกำเนิด ไฟฟ้ากำลังงานน้ำที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ ปล่อยลงมา ดังนั้นการผลิตพลังงานจากพลังงานนี้จำเป็นต้องมีบริเวณที่เหมาะสมและการสร้างเขื่อนนั้นจะต้องลงทุนอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจคาดว่าทั่วโลกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากกำลังน้ำมากกว่าพลังงานทดแทนประเภทอื่น
2. พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง มีพื้นฐานมาจากพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จึงจัดเป็นแหล่งพลังงานประเภทใช้แล้วไม่หมดไป สำหรับในการเปลี่ยนพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า คือ เลือกแม่น้ำหรืออ่าวที่มีพื้นที่เก็บน้ำได้มากและพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงมีค่าสูงแล้วสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าว เพื่อให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขึ้นมา เมื่อน้ำขึ้นจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ และเมื่อน้ำลงน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำ การไหลเข้าออกจากอ่างของน้ำต้องควบคุมให้ไหลผ่านกังหันน้ำที่ต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะได้ไฟฟ้าออกมาใช้งานหลักการผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงมีหลักการเช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตก แต่กำลังที่ได้จากพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงจะไม่ค่อยสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงขึ้นลงของน้ำ แต่อาจจัดให้มีพื้นที่กักน้ำเป็นสองบริเวณหรือบริเวณพื้นที่เดียว โดยการจัดระบบการไหลของน้ำระหว่างบริเวณบ่อสูงและบ่อต่ำ และกักบริเวณภายนอกในช่วงที่มีการขึ้นลงของน้ำอย่างเหมาะสม จะทำให้กำลังงานพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงสม่ำเสมอดีขึ้น
3. พลังงานคลื่น เป็นการเก็บเกี่ยวเอา พลังงานที่ลม ถ่ายทอดให้กับผิวน้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นวิ่งเข้าสู่ชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานคลื่นจะถูกออกแบบให้ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำบริเวณหน้าอ่าวด้านหน้าที่หันเข้าหา คลื่น การใช้คลื่นเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นถ้าจะให้ได้ผลจะต้องอยู่ในโซนที่มียอดคลื่นเฉลี่ยอยู่ที่ 8 เมตร ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีแรงลมด้วย แต่จากการวัดความสูงของยอดคลื่นสูงสุดในประเทศไทยที่จังหวัดระนองพบว่า ยอดคลื่นสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 4 เมตรเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่นในปัจจุบันนั้นยังคงไม่สามารถใช้ในบ้านเราให้ผลจริงจังได้
ข้อดีของพลังงานน้ำ
1. เปิดปุ๊บติดปั๊บ ปล่อยน้ำไหลไปหมุนกังหันเมื่อใด ก็จะได้พลังงานออกมาทันที ผิดกับโรงไฟฟ้าแบบใช้เชื้อเพลิงมาเผาให้ได้ความร้อน ซึ่งต้องรอจนเครื่องเข้าที่จึงจะผลิตไฟฟ้าได้ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจึงเหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการไฟทันทีและเร่งด่วน จึงมักใช้ปั่นไฟตั้งแต่หนหลังเที่ยงวันจนถึงเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ประชาชนและโรงงานต้องการใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ส่วนเวลาดึกๆ จนถึงเช้าคนใช้ไฟลดลง แต่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน)หยุดไม่ได้เพราะถ้าหยุดกว่าจะปั่นไฟได้อีกต้องใช้เวลาอีกนาน ผู้ผลิตไฟฟ้าจึงไม่หยุดโรงไฟฟ้า ช่วงนี้จึงมีไฟฟ้าเหลือใช้ นักจัดการด้านไฟฟ้าจึงเอาไฟฟ้าที่เหลือนี้ไปสูบน้ำกลับขึ้นไปเก็บไว้บนอ่าง เก็นน้ำของเขื่อน พอความต้องการใช้ไฟสูงขึ้นในช่วงหลังเที่ยงวันจนถึงดึกก็ปล่อยน้ำจากอ่างมา ปั่นไฟใหม่ วิธีนี้เรียกว่าการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ปัจจุบันเมืองไทยมีใช้แล้ว เช่น ที่เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนภูมิพล
2. เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้แล้วไม่หมด น้ำนี้เมื่อใช้ปั่นไฟแล้วยังเอาไปใช้ในการเกษตรได้ และเมื่อระเหยกลายเป็นไอ ก็รวมตัวกันเป็นเมฆ และกลายเป็นฝนตกกลับลงมาเป็นน้ำในเขื่อน ให้ใช้ปั่นไฟได้อีก
ข้อเสียของพลังงานน้ำ
ในการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อปั่นไฟนั้น มักสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งนับวันจะร่อยหรอลงไปทุกที และทำให้สัตว์ป่าต้องอพยพหนีน้ำท่วม บางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากโลกก็ได้ รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นก็ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมด้วย

ประชาคมโลก (Global Community)

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีมากขึ้น มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้น หากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับการคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่างๆ มีโอกาสติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศอื่นๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งรุนแรงมากขึ้น การแข่งขันในโลกปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนจากการแข่งขันทางอาวุธและสงครามมาเป็นการแข่งขันทางการค้า ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยละเอียด


สังคมกับเศรษฐกิจ

คำว่า “เศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ถ้าแปลตามศัพท์ “เศรษฐกิจ” จึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Economics” หรือ เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของมนุษย์และเศรษฐกิจควบคู่กันไป การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจจึงเป็นการศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเอง

ในสมัยโบราณมนุษย์มีความเป็นอยู่และดำรงชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ประชากรมีจำนวนน้อยทรัพยากรมีจำนวนมากและอุดมสมบูรณ์ ความต้องการส่วนใหญ่เป็นเพียงปัจจัยสี่ที่ประกอบด้วย อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ปัจจัยดังกล่าวคนในครอบครัวผลิตขึ้นใช้เอง แต่ก็อาจจะมีแลกเปลี่ยนกันบ้างระหว่างครอบครัวที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน การแลกเปลี่ยนในระยะเวลาแรกๆ เป็นการนำเอาสิ่งของมาแลกกับสิ่งของโดยตรง (Barter system) เช่น เอาไข่มาแลกกับเสื้อผ้า เอาเกลือมาแลกข้าว เป็นต้น ปัญหาทางเศรษฐกิจก็มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจภายในครอบครัว

ต่อมาเมื่อสังคมขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการของประชากรเริ่มเปลี่ยนจากความต้องการเพียงปัจจัยสี่มาเป็นความต้องการที่มีไม่จำกัดจำนวนและไม่สิ้นสุด (Unlimited Wants) ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ ความต้องการสิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยแห่งความเจริญของสังคม เช่น ความต้องการตู้เย็น วีดิโอเทป เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า รถยนต์ การบริการสถานพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนการบันเทิงต่างๆ เป็นต้น แต่ความต้องการชนิดต่างๆ นี้ ประชาชนไม่ได้รับการบำบัดเสมอไป ทุกสังคมมนุษย์ประสบการขาดแคลนสิ่งที่ต้องการมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำนวนจำกัด และกระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ไม่เท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าประชาชนในสมัยปัจจุบันมีความสามารถที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคนิคและวิทยาการด้านต่างๆ แต่สังคมของมนุษย์ยิ่งมีความเจริญมากขึ้นเท่าใด ความต้องการสิ่งของและบริการใหม่ๆ ก็ยิ่งขยายตัวมากขึ้นเท่านั้น ทรัพยากรต่างๆ จึงเกิดการหายาก (Scarcity) ขึ้นในระบบเศรษฐกิจนั้นๆ จากพฤติกรรมดังกล่าวมานี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงกรรมวิธีในการสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดหรือทรัพยากรที่หายากให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

มนุษย์ทุกคนในสังคมมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด จะเห็นได้จากชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ก็จะต้องมีเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำ และต้องพิจารณาตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เช่น ตื่นเช้า แต่งตัวออกจากบ้านไปทำงาน ปัญหาเริ่มจากการเดินทาง แล้วก็เรื่องอาหาร การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ซึ่งมีทั้งเรื่องของความพอใจและงบประมาณ รวมทั้งประโยชน์ที่จะต้องพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้วงเงิน หรือรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าหัวหน้าครอบครัวสามารถทำงานหารายได้มาสู่ครอบครัวได้มากและสม่ำเสมอไม่มีหนี้สิน และมีเงินเหลือเก็บสะสมอีก คนในครอบครัวมีการกินดีอยู่ดี เรียกว่าครอบครัวมีภาวะเศรษฐกิจดี ชุมชนเศรษฐกิจดี สังคมเศรษฐกิจดี ส่วนในภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น วัดได้จากความเป็นอยู่และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศ โดยวัดจากรายได้หลังหักภาษีแล้ว (Disposable) ประชาชนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ดี มีสินค้าและบริการใช้อย่างเพียงพอ ประชาชนส่วนใหญ่มีงานทำ มีรายได้สูง เพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และเหลือเก็บออมได้บ้าง ไม่มีปัญหาการว่างงาน การขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจดี จะเห็นได้ว่าชีวิตของทุกๆ คนในสังคมอยู่ทามกลางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว ที่อาศัยในสังคมจึงหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจไม่ได้


ระบบเศรษฐกิจ

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพในสังคม การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจก็ตาม สังคมทุกรูปแบบไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคลแต่ละคนหรือในแง่เป็นหมู่คณะ ต่างก็มีความต้องการในสินค้าและบริการมากกว่ากำลังการผลิตเสมอ ยิ่งสังคมเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของความต้องการชนิดใหม่ หรือความต้องการชนิดใหม่ในรูปแบบเก่าอยู่ตลอดเวลา ความต้องการทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสติปัญญา และจินตนาการมีมากมายหลายรูปแบบ และโดยแท้จริงแล้ว ความต้องการต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมักจะมีจุดอิ่มตัวได้ เช่น เมื่อหิวคนเราต้องการอาหารจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง แต่เมื่ออิ่มก็ไม่ต้องการอาหารอีกจนกว่าจะเกิดความหิวและต้องการอาหารขึ้นมาใหม่ แต่ความต้องการทั้งหมดของคนเรานั้นไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อมนุษย์มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตครบถ้วนแล้วก็เริ่มมีความต้องการที่พิเศษออกไป เช่น อยากรับประทานอาหารรสเลิศตามสถานที่หรู ๆ ชุดเดินเล่น ฯลฯ ความต้องการต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อแบ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการตัดสินว่าความต้องการชนิดใดมีความสำคัญกว่ากัน เพื่อจะได้จัดเข้าเป็นความต้องการที่ได้รับการบำบัดก่อนหลัง การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการและการหาสรรพสิ่งต่างๆ มาบำบัดความต้องการนี้เองเป็นหน้าที่การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)

หมายถึงหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจย่อยมากมายมารวมตัวกันดำเนินการผลิตในสังคมโดยใช้หลักการแบ่งงานกันตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการ

หน่วยเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต และองค์การของรัฐบาล โดยจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

หน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ทรัพยากร สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นแรงงานเป็นผู้ประกอบการของกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดในระบบเศรษฐกิจก็ได้ ถ้าเป็นเจ้าของที่ดินก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า ถ้ารับจ้างทำงานก็จะได้ค่าจ้าง ถ้านำเงินให้กู้ยืมก็จะได้ดอกเบี้ย ถ้าเป็นผู้ประกอบการจะได้ผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุน แต่ทุกครัวเรือนจะต้องมีการบริโภคทั้งสิ้นและเป้าหมายหลักของผู้บริโภคเหล่านี้ก็คือความพึงพอใจสูงสุดนั้นเอง
หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตดังกล่าวข้างต้นมาทำการผลิตสินค้าและบริการ และนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคหน่อยธุรกิจประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ แสวงหากำไรสูงสุด
องค์การของรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยราชการต่างๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามนโยบาย โดยจะทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจแทนรัฐบาล และสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะมีบทบาทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลจะควบคุมหน่วยธุรกิจและครัวเรือนน้อยหรือบางอย่างไม่ควบคุมเลย แต่ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจะควบคุมทั้งหน่วยธุรกิจและหน่วยครัวเรือนมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ย่อมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการที่รัฐบาลจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) และให้ผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินความมั่งคั่ง ตลอดจนวางข้อบังคับและวิธีการควบคุมด้วย ดังนั้นการที่แต่ละสังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและระบบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันไป ทำให้วิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ

ระบบเศรษฐกิจสามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ ระบบทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และแบบผสม โดยมีลักษณะสำคัญและข้อดี-ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้


ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economy) หรือทุนนิยม (Capitalism)

เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นเอกชนจึงเป็นผู้ตัดสินแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ทั้งนี้ราคาเป็นตัวกำหนดว่ามีผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดหรือมีผู้ผลิตจำนวนเท่าใด ณ ราคานั้นๆ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มีการแข่งขันทางราคาสูงมากและเป็นไปอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะราคาถูกกำหนดขึ้นมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้ เพราะมีความรุ่งเรืองทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมมาก่อน ประชาชนชาวอังกฤษเองก็มีอาชีพทางด้านการค้ามาช้านานโดยใช้ทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมีอาณานิคมอยู่รอบโลก และภายใต้ระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้บุคคลมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ที่จะถือทรัพย์สินส่วนตัว มีเสรีภาพที่จะเลือกการบริโภคการตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะทำโดยผ่านระบบตลาดแข่งขัน โดยที่ราคาในตลาดจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของสังคม

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ในระบบแบบเสรีมีหลักการที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2538 : 57)

การถือสิทธิ์ในทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยมยอมรับเรื่องกรรมสิทธิ์ คือ ยอมให้หน่วยธุรกิจหรือเอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านี้จึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดกระทำใดๆ กับทรัพย์ของตนก็ได้
เสรีภาพในการประกอบการ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นองค์การหรือหน่วยธุรกิจ ต่างมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการประกอบการใดๆ เพื่อจัดดำเนินการกับปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับควบคุมจากสิ่งใดทั้งสิ้น
กำไรเป็นเครื่องจูงใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี กำไรซึ่งเป็นส่วนของผลได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้หน่วยธุรกิจผู้ผลิตทำการผลิต โดยมุ่งนำเทคนิคใหม่ๆ ที่มาช่วยลดต้นทุนการผลิตมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุด ส่วนผู้บริโภคจะยึดเกณฑ์การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่จะนำความพอใจสูงสุด ด้วยการจ่ายเงินน้อยที่สุด โดยทำการเปรียบเทียบความต้องการของตนเองจากบรรดาสินค้าชนิดค่างๆ
กลไกของราคา ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นตัวตัดสินปัญหาพื้นฐานด้านการผลิต คือ ผู้ผลิตตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด โดยดูแนวโน้มความต้องการของผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าชนิดต่างๆ และดูระดับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายซื้อ ถ้าผู้บริโภคต้องการสินค้าชนิดใดมากก็จะใช้เงินซื้อสินค้านั้นมาก แม้ราคาจะสูงก็ยังจะซื้ออยู่ เมื่อเป็นดงนั้นผู้ผลิตก็จะทุ่มทุนกำลังการผลิต ผลิตสินค้าชนิดนั้น เพราะแน่ใจว่าขายได้แน่นอน วิธีดูแนวโน้มของราคาและพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้เองเป็นตัวกำหนดที่ผู้ผลิตใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ราคาในระบบเศรษฐกิจเสรีจึงทำหน้าที่บ่งชี้และควบคุมการทำงานภายในระบบเศรษฐกิจจนกล่าวกันว่า ราคาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค ชี้ทางให้ผู้ผลิตผลิตเฉพาะสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ
บทบาทของรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี รัฐจะไม่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจเลย รัฐทำหน้าที่เพียงด้านความยุติธรรมและป้องกันประเทศ โดยที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เอกชนหรือผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดังเช่น อดัม สมิธ ได้กำหนดและวางหน้าที่บางอย่างแก่รัฐ ดังนี้
­ การป้องกันประเทศจากการรุกรานโดยใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
­ การคุ้มครองมิให้พลเมืองได้รับความอยุติธรรม หรือการกดขี่ข่มเหงจากการกระทำของพลเมืองด้วยกันเอง
­ การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีดังนี้

เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้ตกเป็นของตนเอง
เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและคุณภาพของสินค้าดีขึ้น
ผู้ผลิตสินค้ามีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอะไร และผลิตมาปริมาณเท่าใด
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีข้อบกพร่องหลายประการด้วยกัน คือ

ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน เพราะบุคคลในสังคมต่างมีทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกัน บุคคลที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีความได้เปรียบบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อยกว่าทั้งนี้เพราะทรัพย์สินเป็นแหล่งกำหนดรายได้ คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสวงหารายได้จากทรัพย์สินของตนได้มาก โอกาสที่จะสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลในสังคมจึงมีมาก ซึ่งหากคนที่มีทรัพย์สินมากหรือที่เรียกว่า “นายทุน” เป็นบุคคลที่ขาดจริยธรรมแล้ว โอกาสที่นายทุนจะเอาเปรียบผู้อื่นย่อมมีมากเพราะมักจะขาดจริยธรรมและคำนึงถึงแต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกำไรมากๆ เป็นสำคัญ จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันและความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จึงมีผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องเสื่อมลงในบางประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม ฯลฯ ต้องเลิกล้มไปในที่สุด
ในบางสถานการณ์ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถจะนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ได้ เช่น ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม หากรัฐบาลปล่อยให้เอกชนดำเนินการเศรษฐกิจเองโดยเสรี สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะเลวลงกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ประเทศอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน เพราะกลไกราคาใช้ไม่ได้ผล ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและบริการต่างๆ จนต้องใช้วิธีปันส่วน
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย โอกาสที่ผู้ผลิตที่จะรวมตัวกันเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย เพราะรัฐบาลไม่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงานซึ่งถูกเอาเปรียบ โดยการขึ้นราคาสินค้าให้สูง และกดค่าจ้าง ค่าแรงงานให้ต่ำ


ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 2538 : 63 )

กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นขององค์การหรือหน่วยงานสาธารณะ (คือรัฐบาลและองค์การบริหารต่างๆ) ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมผลิตสำคัญที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมดำเนินการในวิถีทางที่จะยังผลประโยชน์แก่ส่วนรวม
รัฐเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติเป็นงานหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้บรรลุแผนเศรษฐกิจรวมของชาติ เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ

ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่
ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน § เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก
รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้

แรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น
ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก
ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ
ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์” และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้

ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น
ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน
รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ
เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน
ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ

ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล
การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ
ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ”ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่” เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น
กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม
การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่
การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน


ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์” และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้

ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น
ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน
รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ
เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน
ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ

ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล
การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ
ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง


ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ”ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่” เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น
กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม
การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่
การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

สถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นกระบวนการที่ทำให้รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริงของคนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือเพื่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การวัดว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือ รายได้ต่อบุคคล และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ ซึ่งค่าใช้จ่ายหรือรายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถแบ่งประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น
กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา
กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย
มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (Measures of national income and output)

เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประมาณมูลค่าของสินค้าและบริการภายในระบบเศรษฐกิจ ในการคำนวณใช้ระบบของบัญชีประชาชาติ หรือ “การทำบัญชีประชาชาติ” ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 มาตรวัดที่ใช้ทั่วไป เช่น

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product, GNP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP)
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product, NNP)
ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือ จีเอ็นพี (Gross national product, GNP) เป็นมาตรวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจภายในดินแดนใด ๆ ในเชิงของทุนการคลัง ในช่วงเวลาหนึ่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมเป็นหนึ่งในมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ คิดจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่งโดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี (Gross domestic product, GDP) เป็นวิธีการคำนวณรายได้จากผลผลิตและบริการรวมของประเทศในแต่ละปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานคุณภาพชีวิตของ บุคคลในประเทศนั้น คิดจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำการผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ

GDP ประกอบไปด้วย ตัวเลขของ การบริโภค + การลงทุน + รัฐบาล (เงินที่ทำการใช้จ่าย) +(การส่งออก – การนำเข้า) สรุป คือ GDP จะคิดมูลค่าสินค้า บริการหน่วยสุดท้าย ในระยะเวลาหนึ่ง ภายในประเทศเท่านั้น เเต่ GNP จะต่างกันตรงที่มีการรวมการผลิตในต่างประเทศที่นำเอาวัตถุดิบเราไปใช้ด้วย

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net Nation Product : NNP) หมายถึง มูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่งภายหลังหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรแล้ว โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี NNP สามารถหาได้จาก NNP = GNP – ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวร

ประโยชน์ของบัญชีประชาชาติ

ในด้านการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคชัดเจนยิ่งขึ้น
ในด้านวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และชี้ให้เป็นการกระจายรายได้ตลอดจนมาตรฐานการครองชีพและระดับความเป็นอยู่ของประชากร
ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดนโยบายหรือวางแผนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
เป็นเครื่องมือสำหรับการวางนโยบายในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลทั้งภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ตัวเลขรายได้ประชาชาติจะชี้ให้เห็นขีดความสามารถในการเสียภาษีของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ว่ามีอยู่เพียงใด
ใช้เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกับประเทศอื่นๆจะชี้ให้เห็นฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเทียบเคียงกับประเทศอื่น


สถานการณ์การผลิต

ในทางเศรษฐศาสตร์ การผลิต หมายถึง การสร้างสินค้าหรือบริการต่างๆขึ้นมาโดยใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งนี้ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ และยังก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง (Form Utility) สถานที่ (Place Utility) และเวลา (Time Utility) ถ้ามองเป็นระบบ การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตทั้งหลายหรือ ส่วนนำเข้า (Input) ที่ต้องใช้ในการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นผลผลิต (Output) นั่นคือ สินค้าหรือบริการ นอกจากนี้การผลิตยังหมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่าขึ้นมาโดยใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์

ปัจจัยการผลิต (Factor of Production) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต ถือได้ว่าเป็นสินค้า คือเป็นสินค้าผู้ผลิต (Producer’s Goods) เพราะปัจจัยการผลิต เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการแตกต่างจากสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งเป็นสินค้าของผู้บริโภค ในการผลิตสินค้าและบริการ จะใช้ปัจจัยการผลิตแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการผลิตว่าต้องใช้ปัจจัยอะไรจำนวนมากน้อยเพียงใด เพราะในการผลิต ไม่สามารถจะใช้ปัจจัยเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องใช้ปัจจัยหลายชนิดประกอบกัน ซึ่งปัจจัยในการผลิตสินค้ามี 4 ชนิด คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการ

สรุปแล้วการผลิตหมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ มาใส่ในกระบวนการผลิต แปรสภาพปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ การผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสิ่งของที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

การผลิตมีวัตถุประสงค์ เพื่อจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศเมื่อมีสินค้าเหลือจึงค่อยส่งออกไปขายต่างประเทศ สำหรับการผลิตระดับประเทศนั้น เมื่อพิจารณาจากลักษณะการผลิตระดับประเทศจะเห็นได้ว่าเป็นการผลิตที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ ผลิตแล้วส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ที่เรียกกันว่าผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งลักษณะการผลิตเพื่อการส่งออกมีดังนี้

เป็นการผลิตแบบขนาดใหญ่ (Mass Production)
เน้นการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
ใช้เทคนิคการผลิตเพื่อให้ต้นทุนต่ำ
ปริมาณการผลิตในแต่ละรุ่น (Lot) มีจำนวนมากเพื่อให้เกิดการประหยัดขนาดของการผลิต
การจัดการธุรกิจในปัจจุบันนี้ไม่ได้มาจากการดำเนินงานของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง หากแต่เป็นความสำเร็จที่มาจากการดำเนินการร่วมกันระหว่างหลายๆ บริษัทที่สนับสนุนกันและกัน เช่น บริษัทคู่ค้าที่ขายวัตถุดิบ บริษัทผู้ผลิต บริษัทจัดส่งสินค้า บริษัทขายปลีก ลูกค้า ความสำเร็จทางธุรกิจจะดูได้จากความพึงพอใจลูกค้าเป็นหลัก หากธุรกิจสามารถผลิตสินค้าที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เช่น คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ราคาต่ำ จัดส่งสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว มีบริการหลังการขายที่ดี มีรูปแบบสินค้าให้ลูกค้าเลือกได้มากมาย หรือผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบหรือพัฒนาสินค้าได้รวดเร็ว ก็ย่อมจะประสบความสำเร็จไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศและของโลกได้ในอนาคต ซึ่งการที่จะทำได้เช่นนี้ต้องมีการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain)

การจัดการโซ่อุปทาน คือกระบวนการการผลิตสินค้าหรือบริการแบบใหม่ที่มองความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต คู่ค้าที่ขายวัตถุดิบ (Suppliers) โดยมีการเชื่อมโยง (แบ่งปัน) ข้อมูลกันตลอดทั้งโซ่อุปทาน เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินงาน เช่น E-commerce, Internet มาช่วยในการติดต่อระหว่างกันในโซ่อุปทาน การนำโซ่อุปทานมาใช้ในการดำเนินงานจะช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การผลิตชามเบญจรงค์ เราจะไม่แข่งขันทางด้านราคากับประเทศอื่น แต่เราจะพยายามผลิตสินค้าให้มีคุณภาพกว่า สวยงามกว่า เพราะไทยได้เปรียบในเรื่องฝีมืออ่อนช้อย สวยงามและประณีต หลังจากดูเรื่องต้นทุน IT ตลาดแล้ว ก็นำ Supply Chain มาใช้ด้วย โดยการดูไปข้างหลังคือที่ Supplier ต้องจัดการ Supplier ให้ได้คุณภาพต้นทุนต่ำจึงจะสามารถแข่งขันได้

ในภาวะที่มีการแข่งขันกันอย่างสูงผู้ผลิต/โรงงานผู้ผลิตมีโอกาสน้อยลง ธุรกิจที่จะดำรงอยู่ได้สินค้าต้องมีต้นทุนต่ำและมีคุณภาพ การแข่งขันที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดทำให้ต้นทุนไม่สามารถทำให้แข่งขันกันทางด้านราคาให้ต่ำลงได้ไปกว่านี้ (ข้างหน้า) ทำให้โรงงานหรือผู้ผลิต ต้องหันกลับมามอง Supplier (ข้างหลัง) พยายามที่จะลดต้นทุนโดยพิจารณา Supplier ลักษณะSupply Chain ใช้ไม่ได้เพราะความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเห็นว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ และคุณภาพยังมีปัญหา บวกกับระเบียบข้อบังคับที่ผู้ลงทุนสามารถขนเงินออกนอกประเทศในจำนวนที่จำกัดทำให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นไม่สะดวกและไม่อยากลงทุน ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีปัญหาในด้านความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นมั่นใจคุณภาพฝีมือแรงงาน และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เอื้ออำนวย ดังนั้นประเทศญี่ปุ่น จึงมักจะมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยโดยเฉพาะการผลิตยานยนต์ และไม่ใช่เพียงแค่ให้ประเทศผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เหมือนในอดีต ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ประเทศไทยผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์เป็นคัน (สินค้าสำเร็จรูป) และส่งออกไปให้ประเทศคู่ค้าของญี่ปุ่นภายใต้ตรายี่ห้อ (Brand Name) ของญี่ปุ่น เช่น Toyota Honda Isuzu เป็นต้น การผลิตและประกอบในไทยแล้วส่งออก เช่นนี้ประเทศญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์ด้าน GSP (สิทธิพิเศษทางการค้า) เช่น ถ้าญี่ปุ่นส่งออกเอง ประเทศคู่ค้าคิดภาษี 50% แต่ถ้าเป็นประเทศไทยส่งออก ภาษีอาจจะเท่ากับ 5 - 10% เป็นต้น

การผลิตในอนาคตจะเป็นการผลิตแบบ Mass Production เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จะสมมุติว่ามี 3 บริษัทคือ บริษัท A, บริษัท B และบริษัท C

บริษัท A เป็นบริษัทที่เป็นศูนย์กลางรับผลิตสินค้าให้กับทุกตรายี่ห้อแต่ไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตัวเองเลยและไม่เป็นผู้จำหน่าย เช่น ประเทศจีนรับผลิตยาสีฟันให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะสามารถผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำ ใครมาจ้างจีนรับทำให้หมด จีนจะไม่ขาย และไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตนเอง
บริษัท B เป็นบริษัท เป็นบริษัทที่มี แต่ตรายี่ห้อ (Brand) เพียงอย่างเดียว ไม่เป็นผู้ผลิตและไม่เป็นผู้ขาย แต่จะจ้างบริษัท C ให้เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ขายกระจายสินค้าให้กับบริษัท B
บริษัท C เป็นบริษัทที่ไม่ผลิต ไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตัวเอง แต่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขาย หรือจัดจำหน่ายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว (Broker)
สิ่งเหล่านี้คือรูปแบบการผลิตในอนาคตที่จะต้องเจอ ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องภาวะการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศหนึ่งกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เนื่องจากภูมิอากาศของแต่ละประเทศในโลกนี้ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตมีจำนวนไม่เท่ากัน เป็นเหตุให้ต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน ทำให้ความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการแตกต่างกัน

เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องได้รับประโยชน์สูงสุด แต่ละประเทศจึงเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีมากมายภายในประเทศนั้นๆ จะทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำ แล้วนำสินค้าไปขายในตลาดโลก ส่วนสินค้าและบริการที่ผลิตเองแล้วต้นทุนสูง หรือไม่สามารถผลิตได้ก็จะซื้อมาบริโภค การแลกเปลี่ยนลักษณะนี้ทำให้ประชากรชาวโลกได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาไม่แพง เช่น ประเทศไทยมีดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมที่จะทำการเกษตร ประเทศไทยก็จะผลิตสินค้าเกษตร เช่น ข้าว เมื่อได้ผลผลิตก็จะส่งไปขายในตลาดโลก ส่วนประเทศอิรักมีปัจจัยการผลิตเหมาะที่จะผลิตน้ำมัน อิรักก็จะผลิตน้ำมันส่งไปขายในตลาดโลก ก็จะทำให้อิรักมีรายได้จากการขายน้ำมัน โดยประเทศอิรักนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ส่วนประเทศไทย มีรายได้จากการขายข้าว นำรายได้ซื้อน้ำมันมาใช้ในประเทศ เป็นต้น

การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นและมีมาตรฐานดีขึ้น นั่นคือสินค้าใดที่ประเทศเราผลิตไม่ได้เราก็จะสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ถ้าไม่มีการค้าระหว่างประเทศประชาชนแต่ละประเทศก็จะบริโภคแต่สินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศของตนเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น
ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าในราคาที่ถูกลง กรณีนี้เป็นกรณีที่ประเทศนี้ผลิตได้แต่ต้นทุนสูงก็จะเลือกนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ถ้าประเทศไทยผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเองแพงกว่านำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยก็ไม่ควรผลิตเอง
ทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ตามความสามารถ ต้นทุนในการผลิตสินค้าจึงต่ำ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึงทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ความรู้และวิชาการต่างๆ เทคนิคการผลิตกระจายไปยังประเทศต่างๆ แต่ละประเทศก็จะได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น
การแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ การนัดหยุดงานหรือวิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งอาจมีผลทำให้การผลิตในประเทศตกต่ำหรือหยุดชะงักลง อาจแก้ปัญหานี้โดยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่หลายๆ ประเทศต้องการให้เป็นก็คือนโยบายการค้าเสรีทั่วโลก แต่ในทางปฏิบัติแล้วลักษณะการค้าระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะที่เป็นไปในรูปแบบของการค้าที่ไม่เสรี กล่าวคือประเทศต่างๆ มักใช้นโยบายภาษีหรือนโยบายที่มิใช่ภาษีมาเป็นข้อจำกัดเพื่อควบคุมการค้ามากขึ้น ทำให้ผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลงไป ในขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็ยังมองเห็นผลดีของการค้าเสรี แต่จะให้เกิดการค้าเสรีกับทุกประเทศทั้งโลกคงเป็นไปได้ยาก ด้วยดังกล่าวจึงมีบางประเทศหันมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วพยายามลดหรือเลิกใช้นโยบายจำกัดการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่ม พร้อมกับหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้ โดยมีการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศขึ้นเพื่อตกลงร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศร่วมกัน แนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างนี้

1) WTO (World Trade Organization)

เป็นองค์กรการค้าระหว่างประเทศที่พัฒนามาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT : General Agreement on Tariffs and Trade) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้ไปตามความตกลงทางการค้า ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก WTO ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเปิดตลาดการค้าทั้งจากการลดภาษีศุลกากรและการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรของประเทศคู่ค้า และจากการเปิดเสรีตลาดการค้าบริการระหว่างประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ที่จะไม่ถูกประเทศใหญ่ๆ ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจบีบบังคับแต่ข้างเดียว ในขณะเดียวกันการเข้าเป็นสมาชิกก็ทำให้ไทยต้องมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเช่นเดียวกัน และจะต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่กับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

2) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area)

สมาคมอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในขณะนั้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นจากแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าทางเศรษฐกิจ เพื่อยุติข้อบาดหมางทางด้านพรมแดนระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหาร

ในปีพ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ทำให้การค้าภายในกลุ่มอาเซียนมีการขยายตัว

3) APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคของโลก พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี และสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบความสำเร็จ ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่ กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism) ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี

4) OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries)

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือสร้างอำนาจต่อรองในเรื่องของราคาและเงื่อนไขการขายน้ำมัน ผลจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีการเคลื่อนย้ายทุนเข้าไปในกลุ่มประเทศที่มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อลดการกีดกันด้านภาษีจากประเทศนอกกลุ่ม ประเทศสมาชิกมี 13 ประเทศประกอบไปด้วย อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาบอง ไนจีเรีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย

5) GMS (Greater Mekong Sub-Region)

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ พื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก

6) ACMECS (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS : Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (เข้าร่วมเป็นสมาชิกท้ายสุดเมื่อ 10 พฤษภาคม 2547)

ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้รับการสนับสนุนในหลักการจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามดังกล่าว และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า

เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 5 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่

การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม
การท่องเที่ยว
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป้าประสงค์หลักของ ACMECS คือ

เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในหมู่ประเทศทั้งสี่
เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน
7) BISTEC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) BIMSTEC

เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย เริ่มก่อตั้งโดยมีสมาชิก 4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมประชุมเป็นสมาชิกใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ”(Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

กลุ่มประเทศ BIMSTEC มีจำนวนประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน โดยไทยมีมูลค่าการค้ารวมกับกลุ่มนี้กว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 กรอบความร่วมมือนี้มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้

กรอบความร่วมมือ BIMSTEC มีวัตถุประสงค์ คือ มุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี รวมถึงความช่วยเหลือภายในภูมิภาคในรูปของการฝึกอบรม รวมถึง การวิจัยและพัฒนาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ในด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ

8) IMF (International Monetary Fund)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นจากการประชุมทางด้านการเงินของสหประชาชาติ ณ เมืองเบรตตันวู๊ด ในปี ค.ศ. 1944 พร้อมกับธนาคารโลก โดยธนาคารโลกจะมีบทบาทในการจัดหาทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ประเทศที่ประสบปัญหาจากภัยสงครามเพื่อใช้ในการบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจของตน เพื่อเป็นรากฐานทำให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่วน IMF จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพในด้านอัตราแลกเปลี่ยนอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ให้เงินกู้ระยะสั้นแก่ประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านดุลการชำระเงิน ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของธนาคารโลกและIMF พร้อมกันในปี ค.ศ. 1949

9) FTA (Free Trade Agreement) FTA

หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจลักษณะประเทศสมาชิก มีเป้าหมายจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% ขณะเดียวกัน สมาชิกแต่ละประเทศมีอิสระเต็มที่ เก็บอัตราภาษีศุลกากรปกติสูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มเขตการค้าเสรี การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีทำได้เสรี ปราศจากข้อกีดกันการค้า ทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี ขณะเดียวกันแต่ละประเทศสมาชิก ยังคงสามารถดำเนินนโยบายกีดกันการค้า กับประเทศนอกกลุ่มได้อิสระ

การตั้งเขตการค้าเสรีอดีตส่วนใหญ่รวมพลังเศรษฐกิจระหว่างประเทศภูมิภาคเดียวกัน ที่เขตแดนติดต่อถึงกัน ประชาชนติดต่อค้าขายไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน เริ่มจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยลดภาษี และอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก ระหว่างกันภายในกลุ่ม แต่ปัจจุบัน การตั้งเขตการค้าเสรีประเทศต่างๆ แตกต่างจากเดิม กล่าวคือ ไม่จำกัดเฉพาะประเทศภูมิภาคเดียวกัน ประเทศต่างภูมิภาคก็ร่วมมือลักษณะนี้ อีกทั้งไม่จำกัดว่า ต้องทำเป็นกลุ่มประเทศ

เขตการค้าเสรีใหม่ที่ตั้ง อาจเป็นการเจรจาการค้า 2 ฝ่ายหรือทวิภาคี ที่เป็นการตกลงระหว่าง 2 ประเทศ เช่น สิงคโปร์กับนิวซีแลนด์ สิงคโปร์กับญี่ปุ่น หรือระหว่างกลุ่มประเทศกับ 1 ประเทศ เช่น อาเซียนกับจีน หรือภูมิภาคกับภูมิภาค เช่น อาเซียนกับกลุ่ม CER (Australia and New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement) เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว นอกจากความตกลงด้านการค้าสินค้า ยังครอบคลุมด้านบริการ การลงทุน และประสานนโยบายด้านสังคมระหว่างกันด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชน ความเป็นประชาธิปไตย เป็นต้น

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์การการค้าโลก (WTO) ประสบความล้มเหลวเจรจาการค้าหลายครั้ง โดยเฉพาะความล้มเหลวเจรจาการค้า รอบซีแอตเติล WTO ปี 2542 ทำให้การเปิดเจรจาการค้ารอบใหม่ WTO ล่าช้า เป็นแรงผลักดันประการหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศต่างๆ พิจารณาตั้งเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคีมากขึ้น เพื่อให้มีผลคืบหน้าเปิดเสรีเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันเป็นรูปธรรมมากกว่าและรวดเร็วกว่า การเปิดเสรีกรอบ WTO ยังเป็นผลเนื่องจากการที่จีนเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศต่างๆ หวั่นเกรงศักยภาพการแข่งขันของจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่จะขยายบทบาทอำนาจเศรษฐกิจได้มาก จากความได้เปรียบตลาดภายในขนาดใหญ่ ประชากรจำนวนมาก และแรงงานราคาถูก สามารถรองรับการผลิต บริโภค และศักยภาพส่งออกสูง เมื่อจีนเป็นสมาชิก WTO จะได้รับสิทธิเท่าเทียมประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆ ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา จึงต้องปรับนโยบาย และกลยุทธ์การค้าและการลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

การตั้งเขตการค้าเสรี จะทำให้เกิดสิทธิพิเศษการค้าและการลงทุนประเทศที่ร่วม โดยไม่ขัด WTO หากปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งจะทำให้ขยายการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ ที่ร่วมตั้งเขตการค้าเสรี ขณะเดียวกัน ย่อมส่งผลกระทบประเทศนอกกลุ่ม ที่จะถูกกีดกันการค้า และการลงทุน จึงเป็นแรงกระตุ้นพิจารณาตั้งเขตการค้าเสรี กับประเทศอื่นด้วย

หลายประเทศใช้การตั้งเขตการค้าเสรี เป็นยุทธวิธีสร้างพันธมิตรเศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งสร้างฐานขยายการค้า และการลงทุนกับประเทศ หรือกลุ่มประเทศภูมิภาคอื่นๆ ห่างไกล นานาประเทศต่างตระหนักว่า การที่ประเทศต่างๆ รวมกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเทศอาณาบริเวณใกล้เคียงกัน สอดคล้องกันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ย่อมหนุนนำสู่พัฒนาการเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และแข่งขันกับตลาดใหญ่ๆ ที่มีอำนาจต่อรองสูงได้


สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) คือเป็นประเทศที่ติดต่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มาเป็นแนวทางในประเทศ การค้าระหว่างประเทศของไทยที่ผ่านประเทศไทยส่วนใหญ่จะขาดดุลการค้า และได้ดุลการค้าการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสด ทุเรียน มังคุดและที่ส่งออกมากขึ้นโดยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ซีเมนต์ อัญมณี ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผ้าไหมไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้นำเข้าสินค้าเยอะมาก เป็นเหตุให้เราขาดดุลการค้า สามารถจำแนกสินค้านำเข้าได้ดังนี้

สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน มีแนวโน้มลดลงเพราะมีการผลิตทดแทนการนำเข้า และพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก
สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายใน มีแนวโน้มสูงขึ้น
สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงรถแทรกเตอร์ ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มสูงขึ้น
สินค้าอื่นๆ ได้แก่ รถยนต์ เชื้อเพลิง อะไหล่รถยนต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการนำเข้าสินค้าของไทยสูงมากขึ้น เนื่องจากการเร่งพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น การบริโภคของคนในประเทศเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคเลียนแบบ ซึ่งมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาสูง นอกจากนี้ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรี ควบคุมการนำเข้าเพียงไม่กี่รายการ จึงมีการนำเข้าสินค้าอย่างมาก จากสาเหตุเหล่านี้ เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาตลอด

เศรษฐกิจและการค้าของไทยในระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราที่สูงมาก แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และ ตอบโต้การอุดหนุนการห้ามนำเข้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้เหตุผลทางสุขอนามัย มาตรฐานสินค้าหรือสิ่งแวดล้อม การแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ในส่วนของประเทศไทยนอกจากแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกโดยเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกันและผลักดันให้มีการพัฒนาอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีแล้ว จะต้องพัฒนาสินค้าออกของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในตลาดโลก รวมทั้งจะต้องแสวงหาลู่ทางที่จะขยายการลงทุนของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ ให้มากขึ้นทั้งในลักษณะของการลงทุนโดยตรงและการร่วมทุน เพื่อเป็นช่องทางให้สินค้าออกของไทยกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองนั้น ย่อมก่อกำเนิดขึ้นได้ตลอดเวลาตามลักษณะแห่งปัจจัยในแต่ละด้าน สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามีความสำคัญ ใหญ่หลวง จะมีผลกระทบเช่นไรต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนจะต้องพิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร ประสานสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นหรือไม่เพียงใด สมควรที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องด้านใดบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งจะรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง จึงทำให้มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอกประเทศเกินสมควร จากการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัญหาต่างๆเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การนำเข้า และการส่งออกตลอดจนการแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน ปัญหาเหล่านี้ก็จะยิ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข