วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เขตภูมิอากาศของโลก

“ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า “ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า “ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี

โดยสรุปคือ ภูมิอากาศเป็นสภาวะอากาศเฉลี่ยประจำพื้นที่ ส่วนลมฟ้าอากาศคือสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาต่างๆ ภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่ากิจกรรมทั้งทางกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ แต่จากลักษณะสภาพทั่วไปของพื้นผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้มของแสงแดด กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสลมจากมหาสมุทร เทือกเขา ระดับสูงของพื้นที่ เป็นต้น

การจำแนกภูมิอากาศ

การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิมีไม่มากนัก สำหรับการจำแนกภูมิอากาศของโลกมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การจำแนกโดยใช้เกณฑ์จากอุณหภูมิ ปริมาณฝน ลักษณะพืชพรรณ เป็นต้น ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

A ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย อัตราการระเหยของน้ำมาก
C ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
D ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
E ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C

ภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Climates) : A

เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรและทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C ความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ ถึง 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งป่าฝนเขตร้อนนั้นมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก



ประชาคมโลก
(Global Community)
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมโลก
ชูพันธุ์ ชมภูจันทร์

เขตภูมิอากาศของโลก

“ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า “ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า “ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี

โดยสรุปคือ ภูมิอากาศเป็นสภาวะอากาศเฉลี่ยประจำพื้นที่ ส่วนลมฟ้าอากาศคือสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาต่างๆ ภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่ากิจกรรมทั้งทางกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ แต่จากลักษณะสภาพทั่วไปของพื้นผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้มของแสงแดด กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสลมจากมหาสมุทร เทือกเขา ระดับสูงของพื้นที่ เป็นต้น

การจำแนกภูมิอากาศ

การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิมีไม่มากนัก สำหรับการจำแนกภูมิอากาศของโลกมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การจำแนกโดยใช้เกณฑ์จากอุณหภูมิ ปริมาณฝน ลักษณะพืชพรรณ เป็นต้น ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

A ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย อัตราการระเหยของน้ำมาก
C ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
D ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
E ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C

ภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Climates) : A

เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรและทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C ความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ ถึง 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งป่าฝนเขตร้อนนั้นมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก



ภูมิอากาศแห้งแล้ง (Dry Climates) : B

เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า 90% กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 38°C (50° ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-15°C ในช่วงฤดูหนาว) ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเพียงประมาณ 50มิลลิเมตร บางปีอาจไม่มีฝนตกเลย

พื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณถึง 30% ของพื้นทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่ 20° - 30° เหนือและใต้ โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบีในประเทศจีน ทะเลทรายเหล่านี้มักจะประกอบด้วยดินทราย ซึ่งจะมีพืชบางประเภทเท่านั้นที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น กระบองเพชร



ภูมิอากาศอบอุ่น (Mesothermal Climate) : C

เป็นบริเวณที่ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C แบ่งย่อยออกเป็น

ภูมิอากาศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของทวีปยุโรป เป็นเขตที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นพุ่มเตี้ย มักเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน และมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว

ภูมิอากาศแถบอบอุ่น (Temperate Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° ถึง 40° เหนือ ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนกลาง และซีกตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน เกาหลีเหนือ-ใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ซีกตะวันออกของออสเตรเลียและอาร์เจนตินาและตอนใต้ของบราซิล เป็นบริเวณที่ฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวมีความแตกต่างอย่างเด่นชัด ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 500 - 1,500 มิลลิเมตร ไม้ที่ขึ้นแถบนี้เป็นไม้เขตอบอุ่นซึ่งจะผลัดใบในฤดูหนาว



ภูมิอากาศหนาวเย็น (Microthermal Climates) : D

อากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C) และมีสภาพอากาศรุนแรงในช่วงฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นปกคลุมนานถึง 9 เดือน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C) ซึ่งทำให้น้ำแข็งจับตัวภายในดิน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ช้า

พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอยู่ระหว่างละติจูดที่ 40° ถึง 60° เหนือ ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเหนือ(แถบสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์และฟินแลนด์) และเอเชีย (สหพันธรัฐรัสเซีย) ป่าไม้ในเขตนี้ส่วนมากจะเป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบที่ทนอากาศหนาวได้ อาทิ สนฉัตร สนสองใบ สนใบแหลม



ภูมิอากาศขั้วโลก (Polar Climates) : E

มีอากาศแห้ง ลมแรง และหนาวเย็นตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำแข็งเพียงแค่ 2-4 เดือน (ต่ำกว่า 10°C) มีฤดูหนาวที่ยาวนาน และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°ใต้) ลงมา บริเวณใกล้กับขั้วโลก เช่น เกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกมีแผ่นน้ำแข็งถาวรหนาหลายร้อยเมตรปกคลุม พื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง พื้นทวีปในส่วนที่ห่างไกลจากขั้วโลก น้ำในดินแข็งตัวอย่างถาวร พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้



ความสัมพันธ์กับมนุษย์กับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ 6,300 ล้านคน แต่ไม่ได้กระจายสม่ำเสมอบนพื้นโลก แต่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเพียงบางเขต ในขณะที่บางบริเวณมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ประชากรโลกมากกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในชนบท และอาศัยอยู่ในเมืองเพียง 30% ถึง 40% และปัจจุบันมีการเติบโตของประชากรในเขตเมืองอย่างต่อเมืองและรวดเร็วกว่าเขตชนบทมาก
การกระจายของประชากรโลกโดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้

ประชากรเกือบ 90% ของโลกอาศัยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรโลกอยู่ในเขตละติจูดกลาง (20 ถึง 60 องศาเหนือ)

ประชากรโลกส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในพื้นที่เล็กๆ ซึ่ง 9 ใน 10 ของประชากรโลกใช้พื้นที่อาศัยเพียง 20% ของพื้นที่โลก

ประชากรส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่มมากกว่าพื้นที่สูง สาเหตุเพราะพื้นที่สูงมีข้อจำกัดต่อการตั้งถิ่นฐาน เช่น อุณหภูมิ ความยาวนานของฤดูกาลเพาะปลูก ความ ลาดชัน การชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น ประมาณว่าประชากร 50-60% อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเพียง 20 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และประชากรเกือบ 80% อาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับ 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

ประชากรตั้งถิ่นฐานบริเวณขอบทวีปหนาแน่นมากที่สุด โดยประชากร 2 ใน 3 ของโลกอาศัยอยู่ห่างจากมหาสมุทรไม่เกิน 500 กิโลเมตร และมักอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำตะกอนพัดพา ส่วนพื้นที่บริเวณละติจูดสูงที่หนาวเย็น เขตแห้งแล้ง และเขตที่สูง แม้จะอยู่ใกล้ทะเลแต่มนุษย์ก็ไม่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณเหล่านั้น รวมถึงป่าฝนเขตร้อนที่รกทึบและชื้นแฉะก็มีคนอาศัยอยู่น้อยเช่นกัน

การกระจายของประชากรในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจจำแนกความแตกต่างได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น
การกำหนดว่าบริเวณใดเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นนั้นถือเกณฑ์เฉลี่ยจำนวนประชากรมากว่า 75 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป ดังนั้นเขตที่ประชากรหนาแน่นของโลก จึงมีอยู่บางพื้นที่เท่านั้น ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีภูมิประเทศเหมาะแก่การเกษตร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมและมีสภาพ ภูมิประเทศอากาศไม่รุนแรง คือ ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด เหมาะแก่การอยู่อาศัยและการดำเนินชีวิต การเพิ่มประชากรจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลกในปัจจุบันจึงปรากฏในเขตเกษตรกรรมและเขตอุตสาหกรรม

เขตเกษตรกรรม เป็นบริเวณที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร คือ การเพาะปลูกพืชอาหาร และการเลี้ยงสัตว์เขตเกษตรกรรมที่มีประชากรหนาแน่นของโลกในปัจจุบัน มีดังนี้

บริเวณเอเชียใต้ โดยเฉพาะประเทศบังกลาเทศ อินเดียและปากีสถานเป็นแหล่งที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาก คือ ในเนื้อที่ 1 ตารางกิโลเมตรมีประชากรเฉลี่ย 925 คน 320 คนและ 180 คน ตามลำดับ ประชากรในเอเชียใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรจึงอาศัยอยู่หนาแน่นในเขตที่ราบมีน้ำและดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร ได้แก่ เขตที่ราบลุ่มน้ำสินธุ คงคา พรหมบุตรและสาขาของแม่น้ำดังกล่าว โดยแม่น้ำสำคัญ 3 สายนี้มีที่ราบ ดินตะกอนที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวางและอีกบริเวณหนึ่งที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นในเอเชียใต้ ได้แก่ เขตที่ราบชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณลุ่มน้ำฮวงโหและลุ่มน้ำแยงซีเกียง และชายฝั่งตะวันออกของจีน เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เพราะเป็นแหล่งเกษตรกรรมดั้งเดิม ปัจจุบันประชากรจีนส่วนใหญ่ก็ยังอาศัยในบริเวณดังกล่าว โดยมีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 133 คน ต่อตารางกิโลเมตร
บริเวณอื่น ๆ เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ซึ่งเป็นราบลุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ บริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นแหล่งดินอุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากเถ้าถ่านของภูเขาไฟและมีฝนตกชุกจากอิทธิพลของลมมรสุม เป็นต้น
เขตอุตสาหกรรมของโลกที่เป็นแหล่งที่มีประชากรหนาแน่นมี ดังนี้

ยุโรปตะวันตก ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร มีวัตถุดิบที่ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก ถ่านหิน ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปตะวันตกพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก บริเวณนี้จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ประชากรมากกว่าล้านคนหลายเมือง เช่น ปารีส บรัสเซลส์ ฮัมบูร์ก มิวนิก เบอร์ลิน โคโลญ อัมสเตอร์ ลอนดอน เบอร์มิงแฮม เป็นต้น
บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมการอุตสาหกรรมอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ เหล็กและถ่านหิน จึงช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมืองอุตสาหกรรมในเขตนี้ที่เป็นชุมชนใหญ่มีหลายเมือง เช่น นิวยอร์ก ชิคาโก ดีทรอยต์ ฟิลาเดลเฟีย เป็นต้น
ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อเนื้อที่สูงมาก คือ มีอัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 336 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยเศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับกิจการอุตสาหกรรม แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีทรัพยากรที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรมน้อย เช่น เหล็ก ถ่านหิน และวัตถุดิบอื่น ๆ แต่ญี่ปุ่นมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงสามารถนำทรัพยากรและวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและส่งออกมาเป็นลำดับ 2 ของโลกรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา แหล่งประชากรหนาแน่นมากของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว นาโกยา เกียวโต และโอซากา
บริเวณอื่น ๆ ที่มีเศรษฐกิจหลักขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าหรือบริการ ได้แก่ ประเทศที่มีเนื้อที่น้อย เช่น ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสภาพเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวที่ความหนาแน่นของประชากร 1,266 คน ต่อตารางกิโลเมตร เป็นต้น

บริเวณที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น

บริเวณที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น หมายถึง บริเวณที่มีประชากรเฉลี่ยระหว่าง 25-75 คนต่อตารางกิโลเมตร มักเป็นบริเวณที่มีสภาพเศรษฐกิจหลักขึ้นอยู่กับการเกษตร ดินแดนที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นของโลกมักปรากฏใน 2 บริเวณ ได้แก่ เขตทุ่งหญ้าและเขตชายฝั่งทะเล

เขตทุ่งหญ้าที่มีประชากรหนาแน่นของโลก จำแนกได้ 2 บริเวณ ดังนี้

ทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ เขตทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ได้แก่ ประเทศบราซิล ชิลี กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ใช้วิธีการเกษตรแบบขยาย (extensive cultivation) คือ ใช้เนื้อที่กว้างขวางแต่มีการใช้แรงงานคนหรือสัตว์น้อย เพื่อให้สามารถประกอบการให้ได้ผลผลิตสูงสุด จึงต้องใช้วิทยาการในการคัดเลือกและบำรุงพันธุ์พืชและสัตว์ และเครื่องใช้จักรกลในการบุกเบิก ไถ คราด เพาะปลูก บำรุงรักษาและเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจที่เพาะปลูกในเขตทุ่งหญ้านี้ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย และยาสูบ
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ดินแดนที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นในเขตอบอุ่น ได้แก่ ทุ่งหญ้าสเตปป์ในสาธารณรัฐยูเครน ทุ่งหญ้าแพร์รี่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทุ่งหญ้าปามปัสในประเทศอาร์เจนตินา ทุ่งหญ้าดาวน์แลนด์ในประเทศออสเตรเลีย เขตทุ่งหญ้าเหล่านี้เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เล่ย์ ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อย เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ โคเนื้อ แพะ และแกะ § เขตชายฝั่งทะเล ที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นของโลกมี 2 บริเวณ ดังนี้
ชายฝั่งทะเลเขตร้อน ได้แก่ ดินแดนชายฝั่งทะเลในเขตละติจูดต่ำของทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ แต่มีการบุกเบิกเพื่อใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย กาแฟ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน
ชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น ได้แก่ ชายฝั่งตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย ตอนกลางของประเทศชิลี ชายฝั่งของประเทศอาร์เจนตินา พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลีหรือพืชผลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนักและมีผลผลิตค่อนข้างสูงเพียงพอต่อการบริโภคของประชากรในเขตนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น