วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชาคมโลก (Global Community)

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีมากขึ้น มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้น หากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับการคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่างๆ มีโอกาสติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศอื่นๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งรุนแรงมากขึ้น การแข่งขันในโลกปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนจากการแข่งขันทางอาวุธและสงครามมาเป็นการแข่งขันทางการค้า ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยละเอียด


สังคมกับเศรษฐกิจ

คำว่า “เศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ถ้าแปลตามศัพท์ “เศรษฐกิจ” จึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Economics” หรือ เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของมนุษย์และเศรษฐกิจควบคู่กันไป การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจจึงเป็นการศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์นั้นเอง

ในสมัยโบราณมนุษย์มีความเป็นอยู่และดำรงชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ประชากรมีจำนวนน้อยทรัพยากรมีจำนวนมากและอุดมสมบูรณ์ ความต้องการส่วนใหญ่เป็นเพียงปัจจัยสี่ที่ประกอบด้วย อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ปัจจัยดังกล่าวคนในครอบครัวผลิตขึ้นใช้เอง แต่ก็อาจจะมีแลกเปลี่ยนกันบ้างระหว่างครอบครัวที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน การแลกเปลี่ยนในระยะเวลาแรกๆ เป็นการนำเอาสิ่งของมาแลกกับสิ่งของโดยตรง (Barter system) เช่น เอาไข่มาแลกกับเสื้อผ้า เอาเกลือมาแลกข้าว เป็นต้น ปัญหาทางเศรษฐกิจก็มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจภายในครอบครัว

ต่อมาเมื่อสังคมขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการของประชากรเริ่มเปลี่ยนจากความต้องการเพียงปัจจัยสี่มาเป็นความต้องการที่มีไม่จำกัดจำนวนและไม่สิ้นสุด (Unlimited Wants) ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ ความต้องการสิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยแห่งความเจริญของสังคม เช่น ความต้องการตู้เย็น วีดิโอเทป เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า รถยนต์ การบริการสถานพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจนการบันเทิงต่างๆ เป็นต้น แต่ความต้องการชนิดต่างๆ นี้ ประชาชนไม่ได้รับการบำบัดเสมอไป ทุกสังคมมนุษย์ประสบการขาดแคลนสิ่งที่ต้องการมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำนวนจำกัด และกระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ไม่เท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าประชาชนในสมัยปัจจุบันมีความสามารถที่จะนำเอาทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าทางเทคนิคและวิทยาการด้านต่างๆ แต่สังคมของมนุษย์ยิ่งมีความเจริญมากขึ้นเท่าใด ความต้องการสิ่งของและบริการใหม่ๆ ก็ยิ่งขยายตัวมากขึ้นเท่านั้น ทรัพยากรต่างๆ จึงเกิดการหายาก (Scarcity) ขึ้นในระบบเศรษฐกิจนั้นๆ จากพฤติกรรมดังกล่าวมานี้ จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงกรรมวิธีในการสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดหรือทรัพยากรที่หายากให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์และสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

มนุษย์ทุกคนในสังคมมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด จะเห็นได้จากชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ก็จะต้องมีเรื่องที่ต้องคิด ต้องทำ และต้องพิจารณาตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เช่น ตื่นเช้า แต่งตัวออกจากบ้านไปทำงาน ปัญหาเริ่มจากการเดินทาง แล้วก็เรื่องอาหาร การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ซึ่งมีทั้งเรื่องของความพอใจและงบประมาณ รวมทั้งประโยชน์ที่จะต้องพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้วงเงิน หรือรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าหัวหน้าครอบครัวสามารถทำงานหารายได้มาสู่ครอบครัวได้มากและสม่ำเสมอไม่มีหนี้สิน และมีเงินเหลือเก็บสะสมอีก คนในครอบครัวมีการกินดีอยู่ดี เรียกว่าครอบครัวมีภาวะเศรษฐกิจดี ชุมชนเศรษฐกิจดี สังคมเศรษฐกิจดี ส่วนในภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น วัดได้จากความเป็นอยู่และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศ โดยวัดจากรายได้หลังหักภาษีแล้ว (Disposable) ประชาชนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ดี มีสินค้าและบริการใช้อย่างเพียงพอ ประชาชนส่วนใหญ่มีงานทำ มีรายได้สูง เพียงพอที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และเหลือเก็บออมได้บ้าง ไม่มีปัญหาการว่างงาน การขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจดี จะเห็นได้ว่าชีวิตของทุกๆ คนในสังคมอยู่ทามกลางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว ที่อาศัยในสังคมจึงหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจไม่ได้


ระบบเศรษฐกิจ

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพในสังคม การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจก็ตาม สังคมทุกรูปแบบไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคลแต่ละคนหรือในแง่เป็นหมู่คณะ ต่างก็มีความต้องการในสินค้าและบริการมากกว่ากำลังการผลิตเสมอ ยิ่งสังคมเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของความต้องการชนิดใหม่ หรือความต้องการชนิดใหม่ในรูปแบบเก่าอยู่ตลอดเวลา ความต้องการทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสติปัญญา และจินตนาการมีมากมายหลายรูปแบบ และโดยแท้จริงแล้ว ความต้องการต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมักจะมีจุดอิ่มตัวได้ เช่น เมื่อหิวคนเราต้องการอาหารจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง แต่เมื่ออิ่มก็ไม่ต้องการอาหารอีกจนกว่าจะเกิดความหิวและต้องการอาหารขึ้นมาใหม่ แต่ความต้องการทั้งหมดของคนเรานั้นไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อมนุษย์มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตครบถ้วนแล้วก็เริ่มมีความต้องการที่พิเศษออกไป เช่น อยากรับประทานอาหารรสเลิศตามสถานที่หรู ๆ ชุดเดินเล่น ฯลฯ ความต้องการต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อแบ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการตัดสินว่าความต้องการชนิดใดมีความสำคัญกว่ากัน เพื่อจะได้จัดเข้าเป็นความต้องการที่ได้รับการบำบัดก่อนหลัง การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการและการหาสรรพสิ่งต่างๆ มาบำบัดความต้องการนี้เองเป็นหน้าที่การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)

หมายถึงหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจย่อยมากมายมารวมตัวกันดำเนินการผลิตในสังคมโดยใช้หลักการแบ่งงานกันตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการ

หน่วยเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต และองค์การของรัฐบาล โดยจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

หน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ทรัพยากร สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นแรงงานเป็นผู้ประกอบการของกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดในระบบเศรษฐกิจก็ได้ ถ้าเป็นเจ้าของที่ดินก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า ถ้ารับจ้างทำงานก็จะได้ค่าจ้าง ถ้านำเงินให้กู้ยืมก็จะได้ดอกเบี้ย ถ้าเป็นผู้ประกอบการจะได้ผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุน แต่ทุกครัวเรือนจะต้องมีการบริโภคทั้งสิ้นและเป้าหมายหลักของผู้บริโภคเหล่านี้ก็คือความพึงพอใจสูงสุดนั้นเอง
หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตดังกล่าวข้างต้นมาทำการผลิตสินค้าและบริการ และนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคหน่อยธุรกิจประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ แสวงหากำไรสูงสุด
องค์การของรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยราชการต่างๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามนโยบาย โดยจะทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจแทนรัฐบาล และสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะมีบทบาทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลจะควบคุมหน่วยธุรกิจและครัวเรือนน้อยหรือบางอย่างไม่ควบคุมเลย แต่ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจะควบคุมทั้งหน่วยธุรกิจและหน่วยครัวเรือนมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น
ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ย่อมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการที่รัฐบาลจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) และให้ผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินความมั่งคั่ง ตลอดจนวางข้อบังคับและวิธีการควบคุมด้วย ดังนั้นการที่แต่ละสังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและระบบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันไป ทำให้วิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ

ระบบเศรษฐกิจสามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ ระบบทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และแบบผสม โดยมีลักษณะสำคัญและข้อดี-ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้


ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economy) หรือทุนนิยม (Capitalism)

เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นเอกชนจึงเป็นผู้ตัดสินแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ทั้งนี้ราคาเป็นตัวกำหนดว่ามีผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดหรือมีผู้ผลิตจำนวนเท่าใด ณ ราคานั้นๆ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มีการแข่งขันทางราคาสูงมากและเป็นไปอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะราคาถูกกำหนดขึ้นมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้ เพราะมีความรุ่งเรืองทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมมาก่อน ประชาชนชาวอังกฤษเองก็มีอาชีพทางด้านการค้ามาช้านานโดยใช้ทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมีอาณานิคมอยู่รอบโลก และภายใต้ระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้บุคคลมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ที่จะถือทรัพย์สินส่วนตัว มีเสรีภาพที่จะเลือกการบริโภคการตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะทำโดยผ่านระบบตลาดแข่งขัน โดยที่ราคาในตลาดจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของสังคม

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ในระบบแบบเสรีมีหลักการที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2538 : 57)

การถือสิทธิ์ในทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยมยอมรับเรื่องกรรมสิทธิ์ คือ ยอมให้หน่วยธุรกิจหรือเอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านี้จึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดกระทำใดๆ กับทรัพย์ของตนก็ได้
เสรีภาพในการประกอบการ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นองค์การหรือหน่วยธุรกิจ ต่างมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการประกอบการใดๆ เพื่อจัดดำเนินการกับปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับควบคุมจากสิ่งใดทั้งสิ้น
กำไรเป็นเครื่องจูงใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี กำไรซึ่งเป็นส่วนของผลได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้หน่วยธุรกิจผู้ผลิตทำการผลิต โดยมุ่งนำเทคนิคใหม่ๆ ที่มาช่วยลดต้นทุนการผลิตมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุด ส่วนผู้บริโภคจะยึดเกณฑ์การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่จะนำความพอใจสูงสุด ด้วยการจ่ายเงินน้อยที่สุด โดยทำการเปรียบเทียบความต้องการของตนเองจากบรรดาสินค้าชนิดค่างๆ
กลไกของราคา ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นตัวตัดสินปัญหาพื้นฐานด้านการผลิต คือ ผู้ผลิตตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด โดยดูแนวโน้มความต้องการของผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าชนิดต่างๆ และดูระดับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายซื้อ ถ้าผู้บริโภคต้องการสินค้าชนิดใดมากก็จะใช้เงินซื้อสินค้านั้นมาก แม้ราคาจะสูงก็ยังจะซื้ออยู่ เมื่อเป็นดงนั้นผู้ผลิตก็จะทุ่มทุนกำลังการผลิต ผลิตสินค้าชนิดนั้น เพราะแน่ใจว่าขายได้แน่นอน วิธีดูแนวโน้มของราคาและพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้เองเป็นตัวกำหนดที่ผู้ผลิตใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ราคาในระบบเศรษฐกิจเสรีจึงทำหน้าที่บ่งชี้และควบคุมการทำงานภายในระบบเศรษฐกิจจนกล่าวกันว่า ราคาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค ชี้ทางให้ผู้ผลิตผลิตเฉพาะสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ
บทบาทของรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี รัฐจะไม่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจเลย รัฐทำหน้าที่เพียงด้านความยุติธรรมและป้องกันประเทศ โดยที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เอกชนหรือผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดังเช่น อดัม สมิธ ได้กำหนดและวางหน้าที่บางอย่างแก่รัฐ ดังนี้
­ การป้องกันประเทศจากการรุกรานโดยใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
­ การคุ้มครองมิให้พลเมืองได้รับความอยุติธรรม หรือการกดขี่ข่มเหงจากการกระทำของพลเมืองด้วยกันเอง
­ การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีดังนี้

เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้ตกเป็นของตนเอง
เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและคุณภาพของสินค้าดีขึ้น
ผู้ผลิตสินค้ามีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอะไร และผลิตมาปริมาณเท่าใด
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีข้อบกพร่องหลายประการด้วยกัน คือ

ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน เพราะบุคคลในสังคมต่างมีทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกัน บุคคลที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีความได้เปรียบบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อยกว่าทั้งนี้เพราะทรัพย์สินเป็นแหล่งกำหนดรายได้ คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสวงหารายได้จากทรัพย์สินของตนได้มาก โอกาสที่จะสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลในสังคมจึงมีมาก ซึ่งหากคนที่มีทรัพย์สินมากหรือที่เรียกว่า “นายทุน” เป็นบุคคลที่ขาดจริยธรรมแล้ว โอกาสที่นายทุนจะเอาเปรียบผู้อื่นย่อมมีมากเพราะมักจะขาดจริยธรรมและคำนึงถึงแต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกำไรมากๆ เป็นสำคัญ จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันและความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จึงมีผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องเสื่อมลงในบางประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม ฯลฯ ต้องเลิกล้มไปในที่สุด
ในบางสถานการณ์ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถจะนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ได้ เช่น ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม หากรัฐบาลปล่อยให้เอกชนดำเนินการเศรษฐกิจเองโดยเสรี สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะเลวลงกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ประเทศอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน เพราะกลไกราคาใช้ไม่ได้ผล ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและบริการต่างๆ จนต้องใช้วิธีปันส่วน
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย โอกาสที่ผู้ผลิตที่จะรวมตัวกันเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย เพราะรัฐบาลไม่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงานซึ่งถูกเอาเปรียบ โดยการขึ้นราคาสินค้าให้สูง และกดค่าจ้าง ค่าแรงงานให้ต่ำ


ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 2538 : 63 )

กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นขององค์การหรือหน่วยงานสาธารณะ (คือรัฐบาลและองค์การบริหารต่างๆ) ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมผลิตสำคัญที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมดำเนินการในวิถีทางที่จะยังผลประโยชน์แก่ส่วนรวม
รัฐเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติเป็นงานหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้บรรลุแผนเศรษฐกิจรวมของชาติ เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ

ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่
ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน § เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก
รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้

แรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น
ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก
ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ
ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์” และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้

ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น
ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน
รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ
เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน
ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ

ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล
การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ
ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ”ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่” เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น
กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม
การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่
การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน


ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์” และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้

ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น
ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ
ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน
รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ
เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน
ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ

ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล
การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ
ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง


ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ”ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่” เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้

เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น
กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา
รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า
เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร
ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม
การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน
การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก
นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่
การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

สถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นกระบวนการที่ทำให้รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริงของคนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือเพื่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การวัดว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือ รายได้ต่อบุคคล และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ ซึ่งค่าใช้จ่ายหรือรายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถแบ่งประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น
กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา
กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย
มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (Measures of national income and output)

เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประมาณมูลค่าของสินค้าและบริการภายในระบบเศรษฐกิจ ในการคำนวณใช้ระบบของบัญชีประชาชาติ หรือ “การทำบัญชีประชาชาติ” ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 มาตรวัดที่ใช้ทั่วไป เช่น

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product, GNP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP)
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product, NNP)
ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือ จีเอ็นพี (Gross national product, GNP) เป็นมาตรวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจภายในดินแดนใด ๆ ในเชิงของทุนการคลัง ในช่วงเวลาหนึ่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมเป็นหนึ่งในมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ คิดจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่งโดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี (Gross domestic product, GDP) เป็นวิธีการคำนวณรายได้จากผลผลิตและบริการรวมของประเทศในแต่ละปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานคุณภาพชีวิตของ บุคคลในประเทศนั้น คิดจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำการผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ

GDP ประกอบไปด้วย ตัวเลขของ การบริโภค + การลงทุน + รัฐบาล (เงินที่ทำการใช้จ่าย) +(การส่งออก – การนำเข้า) สรุป คือ GDP จะคิดมูลค่าสินค้า บริการหน่วยสุดท้าย ในระยะเวลาหนึ่ง ภายในประเทศเท่านั้น เเต่ GNP จะต่างกันตรงที่มีการรวมการผลิตในต่างประเทศที่นำเอาวัตถุดิบเราไปใช้ด้วย

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net Nation Product : NNP) หมายถึง มูลค่ารวมในราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้ โดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่งภายหลังหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรแล้ว โดยปกติจะวัดในเวลา 1 ปี NNP สามารถหาได้จาก NNP = GNP – ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวร

ประโยชน์ของบัญชีประชาชาติ

ในด้านการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคชัดเจนยิ่งขึ้น
ในด้านวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และชี้ให้เป็นการกระจายรายได้ตลอดจนมาตรฐานการครองชีพและระดับความเป็นอยู่ของประชากร
ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดนโยบายหรือวางแผนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
เป็นเครื่องมือสำหรับการวางนโยบายในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลทั้งภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ตัวเลขรายได้ประชาชาติจะชี้ให้เห็นขีดความสามารถในการเสียภาษีของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ว่ามีอยู่เพียงใด
ใช้เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกับประเทศอื่นๆจะชี้ให้เห็นฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเทียบเคียงกับประเทศอื่น


สถานการณ์การผลิต

ในทางเศรษฐศาสตร์ การผลิต หมายถึง การสร้างสินค้าหรือบริการต่างๆขึ้นมาโดยใช้ปัจจัยการผลิต ทั้งนี้ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ และยังก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านรูปร่าง (Form Utility) สถานที่ (Place Utility) และเวลา (Time Utility) ถ้ามองเป็นระบบ การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตทั้งหลายหรือ ส่วนนำเข้า (Input) ที่ต้องใช้ในการผลิตมาแปรสภาพให้เป็นผลผลิต (Output) นั่นคือ สินค้าหรือบริการ นอกจากนี้การผลิตยังหมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่าขึ้นมาโดยใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์

ปัจจัยการผลิต (Factor of Production) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต ถือได้ว่าเป็นสินค้า คือเป็นสินค้าผู้ผลิต (Producer’s Goods) เพราะปัจจัยการผลิต เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการแตกต่างจากสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งเป็นสินค้าของผู้บริโภค ในการผลิตสินค้าและบริการ จะใช้ปัจจัยการผลิตแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการผลิตว่าต้องใช้ปัจจัยอะไรจำนวนมากน้อยเพียงใด เพราะในการผลิต ไม่สามารถจะใช้ปัจจัยเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องใช้ปัจจัยหลายชนิดประกอบกัน ซึ่งปัจจัยในการผลิตสินค้ามี 4 ชนิด คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้ประกอบการ

สรุปแล้วการผลิตหมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ มาใส่ในกระบวนการผลิต แปรสภาพปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ การผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้บริโภค และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสิ่งของที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

การผลิตมีวัตถุประสงค์ เพื่อจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศเมื่อมีสินค้าเหลือจึงค่อยส่งออกไปขายต่างประเทศ สำหรับการผลิตระดับประเทศนั้น เมื่อพิจารณาจากลักษณะการผลิตระดับประเทศจะเห็นได้ว่าเป็นการผลิตที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ ผลิตแล้วส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ที่เรียกกันว่าผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งลักษณะการผลิตเพื่อการส่งออกมีดังนี้

เป็นการผลิตแบบขนาดใหญ่ (Mass Production)
เน้นการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน
ใช้เทคนิคการผลิตเพื่อให้ต้นทุนต่ำ
ปริมาณการผลิตในแต่ละรุ่น (Lot) มีจำนวนมากเพื่อให้เกิดการประหยัดขนาดของการผลิต
การจัดการธุรกิจในปัจจุบันนี้ไม่ได้มาจากการดำเนินงานของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง หากแต่เป็นความสำเร็จที่มาจากการดำเนินการร่วมกันระหว่างหลายๆ บริษัทที่สนับสนุนกันและกัน เช่น บริษัทคู่ค้าที่ขายวัตถุดิบ บริษัทผู้ผลิต บริษัทจัดส่งสินค้า บริษัทขายปลีก ลูกค้า ความสำเร็จทางธุรกิจจะดูได้จากความพึงพอใจลูกค้าเป็นหลัก หากธุรกิจสามารถผลิตสินค้าที่ทำให้ลูกค้าพอใจ เช่น คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ราคาต่ำ จัดส่งสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว มีบริการหลังการขายที่ดี มีรูปแบบสินค้าให้ลูกค้าเลือกได้มากมาย หรือผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายรูปแบบหรือพัฒนาสินค้าได้รวดเร็ว ก็ย่อมจะประสบความสำเร็จไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศและของโลกได้ในอนาคต ซึ่งการที่จะทำได้เช่นนี้ต้องมีการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain)

การจัดการโซ่อุปทาน คือกระบวนการการผลิตสินค้าหรือบริการแบบใหม่ที่มองความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต คู่ค้าที่ขายวัตถุดิบ (Suppliers) โดยมีการเชื่อมโยง (แบ่งปัน) ข้อมูลกันตลอดทั้งโซ่อุปทาน เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการดำเนินงาน เช่น E-commerce, Internet มาช่วยในการติดต่อระหว่างกันในโซ่อุปทาน การนำโซ่อุปทานมาใช้ในการดำเนินงานจะช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การผลิตชามเบญจรงค์ เราจะไม่แข่งขันทางด้านราคากับประเทศอื่น แต่เราจะพยายามผลิตสินค้าให้มีคุณภาพกว่า สวยงามกว่า เพราะไทยได้เปรียบในเรื่องฝีมืออ่อนช้อย สวยงามและประณีต หลังจากดูเรื่องต้นทุน IT ตลาดแล้ว ก็นำ Supply Chain มาใช้ด้วย โดยการดูไปข้างหลังคือที่ Supplier ต้องจัดการ Supplier ให้ได้คุณภาพต้นทุนต่ำจึงจะสามารถแข่งขันได้

ในภาวะที่มีการแข่งขันกันอย่างสูงผู้ผลิต/โรงงานผู้ผลิตมีโอกาสน้อยลง ธุรกิจที่จะดำรงอยู่ได้สินค้าต้องมีต้นทุนต่ำและมีคุณภาพ การแข่งขันที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดทำให้ต้นทุนไม่สามารถทำให้แข่งขันกันทางด้านราคาให้ต่ำลงได้ไปกว่านี้ (ข้างหน้า) ทำให้โรงงานหรือผู้ผลิต ต้องหันกลับมามอง Supplier (ข้างหลัง) พยายามที่จะลดต้นทุนโดยพิจารณา Supplier ลักษณะSupply Chain ใช้ไม่ได้เพราะความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเห็นว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ และคุณภาพยังมีปัญหา บวกกับระเบียบข้อบังคับที่ผู้ลงทุนสามารถขนเงินออกนอกประเทศในจำนวนที่จำกัดทำให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นไม่สะดวกและไม่อยากลงทุน ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีปัญหาในด้านความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นมั่นใจคุณภาพฝีมือแรงงาน และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เอื้ออำนวย ดังนั้นประเทศญี่ปุ่น จึงมักจะมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยโดยเฉพาะการผลิตยานยนต์ และไม่ใช่เพียงแค่ให้ประเทศผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เหมือนในอดีต ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ประเทศไทยผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์เป็นคัน (สินค้าสำเร็จรูป) และส่งออกไปให้ประเทศคู่ค้าของญี่ปุ่นภายใต้ตรายี่ห้อ (Brand Name) ของญี่ปุ่น เช่น Toyota Honda Isuzu เป็นต้น การผลิตและประกอบในไทยแล้วส่งออก เช่นนี้ประเทศญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์ด้าน GSP (สิทธิพิเศษทางการค้า) เช่น ถ้าญี่ปุ่นส่งออกเอง ประเทศคู่ค้าคิดภาษี 50% แต่ถ้าเป็นประเทศไทยส่งออก ภาษีอาจจะเท่ากับ 5 - 10% เป็นต้น

การผลิตในอนาคตจะเป็นการผลิตแบบ Mass Production เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จะสมมุติว่ามี 3 บริษัทคือ บริษัท A, บริษัท B และบริษัท C

บริษัท A เป็นบริษัทที่เป็นศูนย์กลางรับผลิตสินค้าให้กับทุกตรายี่ห้อแต่ไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตัวเองเลยและไม่เป็นผู้จำหน่าย เช่น ประเทศจีนรับผลิตยาสีฟันให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะสามารถผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำ ใครมาจ้างจีนรับทำให้หมด จีนจะไม่ขาย และไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตนเอง
บริษัท B เป็นบริษัท เป็นบริษัทที่มี แต่ตรายี่ห้อ (Brand) เพียงอย่างเดียว ไม่เป็นผู้ผลิตและไม่เป็นผู้ขาย แต่จะจ้างบริษัท C ให้เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ขายกระจายสินค้าให้กับบริษัท B
บริษัท C เป็นบริษัทที่ไม่ผลิต ไม่มีตรายี่ห้อเป็นของตัวเอง แต่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขาย หรือจัดจำหน่ายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว (Broker)
สิ่งเหล่านี้คือรูปแบบการผลิตในอนาคตที่จะต้องเจอ ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องภาวะการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศหนึ่งกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เนื่องจากภูมิอากาศของแต่ละประเทศในโลกนี้ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตมีจำนวนไม่เท่ากัน เป็นเหตุให้ต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน ทำให้ความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการแตกต่างกัน

เพื่อให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องได้รับประโยชน์สูงสุด แต่ละประเทศจึงเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีมากมายภายในประเทศนั้นๆ จะทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำ แล้วนำสินค้าไปขายในตลาดโลก ส่วนสินค้าและบริการที่ผลิตเองแล้วต้นทุนสูง หรือไม่สามารถผลิตได้ก็จะซื้อมาบริโภค การแลกเปลี่ยนลักษณะนี้ทำให้ประชากรชาวโลกได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาไม่แพง เช่น ประเทศไทยมีดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมที่จะทำการเกษตร ประเทศไทยก็จะผลิตสินค้าเกษตร เช่น ข้าว เมื่อได้ผลผลิตก็จะส่งไปขายในตลาดโลก ส่วนประเทศอิรักมีปัจจัยการผลิตเหมาะที่จะผลิตน้ำมัน อิรักก็จะผลิตน้ำมันส่งไปขายในตลาดโลก ก็จะทำให้อิรักมีรายได้จากการขายน้ำมัน โดยประเทศอิรักนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ส่วนประเทศไทย มีรายได้จากการขายข้าว นำรายได้ซื้อน้ำมันมาใช้ในประเทศ เป็นต้น

การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นและมีมาตรฐานดีขึ้น นั่นคือสินค้าใดที่ประเทศเราผลิตไม่ได้เราก็จะสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ถ้าไม่มีการค้าระหว่างประเทศประชาชนแต่ละประเทศก็จะบริโภคแต่สินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศของตนเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนดีขึ้น
ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าในราคาที่ถูกลง กรณีนี้เป็นกรณีที่ประเทศนี้ผลิตได้แต่ต้นทุนสูงก็จะเลือกนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น ถ้าประเทศไทยผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเองแพงกว่านำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยก็ไม่ควรผลิตเอง
ทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ตามความสามารถ ต้นทุนในการผลิตสินค้าจึงต่ำ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึงทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ความรู้และวิชาการต่างๆ เทคนิคการผลิตกระจายไปยังประเทศต่างๆ แต่ละประเทศก็จะได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น
การแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ การนัดหยุดงานหรือวิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งอาจมีผลทำให้การผลิตในประเทศตกต่ำหรือหยุดชะงักลง อาจแก้ปัญหานี้โดยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่หลายๆ ประเทศต้องการให้เป็นก็คือนโยบายการค้าเสรีทั่วโลก แต่ในทางปฏิบัติแล้วลักษณะการค้าระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะที่เป็นไปในรูปแบบของการค้าที่ไม่เสรี กล่าวคือประเทศต่างๆ มักใช้นโยบายภาษีหรือนโยบายที่มิใช่ภาษีมาเป็นข้อจำกัดเพื่อควบคุมการค้ามากขึ้น ทำให้ผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลงไป ในขณะเดียวกันประเทศเหล่านี้ก็ยังมองเห็นผลดีของการค้าเสรี แต่จะให้เกิดการค้าเสรีกับทุกประเทศทั้งโลกคงเป็นไปได้ยาก ด้วยดังกล่าวจึงมีบางประเทศหันมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วพยายามลดหรือเลิกใช้นโยบายจำกัดการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่ม พร้อมกับหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้ โดยมีการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศขึ้นเพื่อตกลงร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศร่วมกัน แนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างนี้

1) WTO (World Trade Organization)

เป็นองค์กรการค้าระหว่างประเทศที่พัฒนามาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT : General Agreement on Tariffs and Trade) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ กำกับการดำเนินการของประเทศสมาชิกให้ไปตามความตกลงทางการค้า ยุติกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก WTO ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเปิดตลาดการค้าทั้งจากการลดภาษีศุลกากรและการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรของประเทศคู่ค้า และจากการเปิดเสรีตลาดการค้าบริการระหว่างประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ที่จะไม่ถูกประเทศใหญ่ๆ ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจบีบบังคับแต่ข้างเดียว ในขณะเดียวกันการเข้าเป็นสมาชิกก็ทำให้ไทยต้องมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเช่นเดียวกัน และจะต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่กับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

2) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area)

สมาคมอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในขณะนั้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นจากแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าทางเศรษฐกิจ เพื่อยุติข้อบาดหมางทางด้านพรมแดนระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหาร

ในปีพ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ทำให้การค้าภายในกลุ่มอาเซียนมีการขยายตัว

3) APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นจากการประชุมรัฐมนตรีของประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคของโลก พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี และสนับสนุนผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยประสบความสำเร็จ ศึกษาลู่ทางในการเปิดเสรีการค้าในภูมิภาค ในลักษณะที่มิใช่การรวมกลุ่มทางการค้าที่ กีดกันประเทศนอกกลุ่ม (Open Regionalism) ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน และส่งเสริมสนับสนุนให้มีการไหลเวียนสินค้า บริการ ทุน และเทคโนโลยีระหว่างกันโดยเสรี

4) OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries)

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือสร้างอำนาจต่อรองในเรื่องของราคาและเงื่อนไขการขายน้ำมัน ผลจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีการเคลื่อนย้ายทุนเข้าไปในกลุ่มประเทศที่มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อลดการกีดกันด้านภาษีจากประเทศนอกกลุ่ม ประเทศสมาชิกมี 13 ประเทศประกอบไปด้วย อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาบอง ไนจีเรีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย

5) GMS (Greater Mekong Sub-Region)

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ พื้นที่ของยุโรปตะวันตก มีประชากรรวมกันประมาณ 250 ล้านคน และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก

6) ACMECS (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy)

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS : Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (เข้าร่วมเป็นสมาชิกท้ายสุดเมื่อ 10 พฤษภาคม 2547)

ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้รับการสนับสนุนในหลักการจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามดังกล่าว และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า

เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 5 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่

การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม
การท่องเที่ยว
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เป้าประสงค์หลักของ ACMECS คือ

เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในหมู่ประเทศทั้งสี่
เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน
7) BISTEC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) BIMSTEC

เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย เริ่มก่อตั้งโดยมีสมาชิก 4 ประเทศ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมประชุมเป็นสมาชิกใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ”(Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation)

กลุ่มประเทศ BIMSTEC มีจำนวนประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน โดยไทยมีมูลค่าการค้ารวมกับกลุ่มนี้กว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 กรอบความร่วมมือนี้มีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้

กรอบความร่วมมือ BIMSTEC มีวัตถุประสงค์ คือ มุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี รวมถึงความช่วยเหลือภายในภูมิภาคในรูปของการฝึกอบรม รวมถึง การวิจัยและพัฒนาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ในด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ

8) IMF (International Monetary Fund)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นจากการประชุมทางด้านการเงินของสหประชาชาติ ณ เมืองเบรตตันวู๊ด ในปี ค.ศ. 1944 พร้อมกับธนาคารโลก โดยธนาคารโลกจะมีบทบาทในการจัดหาทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ประเทศที่ประสบปัญหาจากภัยสงครามเพื่อใช้ในการบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจของตน เพื่อเป็นรากฐานทำให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่วน IMF จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพในด้านอัตราแลกเปลี่ยนอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ให้เงินกู้ระยะสั้นแก่ประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านดุลการชำระเงิน ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของธนาคารโลกและIMF พร้อมกันในปี ค.ศ. 1949

9) FTA (Free Trade Agreement) FTA

หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจลักษณะประเทศสมาชิก มีเป้าหมายจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% ขณะเดียวกัน สมาชิกแต่ละประเทศมีอิสระเต็มที่ เก็บอัตราภาษีศุลกากรปกติสูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มเขตการค้าเสรี การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีทำได้เสรี ปราศจากข้อกีดกันการค้า ทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและไม่ใช่ภาษี ขณะเดียวกันแต่ละประเทศสมาชิก ยังคงสามารถดำเนินนโยบายกีดกันการค้า กับประเทศนอกกลุ่มได้อิสระ

การตั้งเขตการค้าเสรีอดีตส่วนใหญ่รวมพลังเศรษฐกิจระหว่างประเทศภูมิภาคเดียวกัน ที่เขตแดนติดต่อถึงกัน ประชาชนติดต่อค้าขายไปมาหาสู่กันเป็นเวลานาน เริ่มจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยลดภาษี และอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก ระหว่างกันภายในกลุ่ม แต่ปัจจุบัน การตั้งเขตการค้าเสรีประเทศต่างๆ แตกต่างจากเดิม กล่าวคือ ไม่จำกัดเฉพาะประเทศภูมิภาคเดียวกัน ประเทศต่างภูมิภาคก็ร่วมมือลักษณะนี้ อีกทั้งไม่จำกัดว่า ต้องทำเป็นกลุ่มประเทศ

เขตการค้าเสรีใหม่ที่ตั้ง อาจเป็นการเจรจาการค้า 2 ฝ่ายหรือทวิภาคี ที่เป็นการตกลงระหว่าง 2 ประเทศ เช่น สิงคโปร์กับนิวซีแลนด์ สิงคโปร์กับญี่ปุ่น หรือระหว่างกลุ่มประเทศกับ 1 ประเทศ เช่น อาเซียนกับจีน หรือภูมิภาคกับภูมิภาค เช่น อาเซียนกับกลุ่ม CER (Australia and New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement) เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว นอกจากความตกลงด้านการค้าสินค้า ยังครอบคลุมด้านบริการ การลงทุน และประสานนโยบายด้านสังคมระหว่างกันด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชน ความเป็นประชาธิปไตย เป็นต้น

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์การการค้าโลก (WTO) ประสบความล้มเหลวเจรจาการค้าหลายครั้ง โดยเฉพาะความล้มเหลวเจรจาการค้า รอบซีแอตเติล WTO ปี 2542 ทำให้การเปิดเจรจาการค้ารอบใหม่ WTO ล่าช้า เป็นแรงผลักดันประการหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศต่างๆ พิจารณาตั้งเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคีมากขึ้น เพื่อให้มีผลคืบหน้าเปิดเสรีเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันเป็นรูปธรรมมากกว่าและรวดเร็วกว่า การเปิดเสรีกรอบ WTO ยังเป็นผลเนื่องจากการที่จีนเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศต่างๆ หวั่นเกรงศักยภาพการแข่งขันของจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่จะขยายบทบาทอำนาจเศรษฐกิจได้มาก จากความได้เปรียบตลาดภายในขนาดใหญ่ ประชากรจำนวนมาก และแรงงานราคาถูก สามารถรองรับการผลิต บริโภค และศักยภาพส่งออกสูง เมื่อจีนเป็นสมาชิก WTO จะได้รับสิทธิเท่าเทียมประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆ ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา จึงต้องปรับนโยบาย และกลยุทธ์การค้าและการลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

การตั้งเขตการค้าเสรี จะทำให้เกิดสิทธิพิเศษการค้าและการลงทุนประเทศที่ร่วม โดยไม่ขัด WTO หากปฏิบัติตามเงื่อนไข ซึ่งจะทำให้ขยายการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ ที่ร่วมตั้งเขตการค้าเสรี ขณะเดียวกัน ย่อมส่งผลกระทบประเทศนอกกลุ่ม ที่จะถูกกีดกันการค้า และการลงทุน จึงเป็นแรงกระตุ้นพิจารณาตั้งเขตการค้าเสรี กับประเทศอื่นด้วย

หลายประเทศใช้การตั้งเขตการค้าเสรี เป็นยุทธวิธีสร้างพันธมิตรเศรษฐกิจ และการเมือง รวมทั้งสร้างฐานขยายการค้า และการลงทุนกับประเทศ หรือกลุ่มประเทศภูมิภาคอื่นๆ ห่างไกล นานาประเทศต่างตระหนักว่า การที่ประเทศต่างๆ รวมกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเทศอาณาบริเวณใกล้เคียงกัน สอดคล้องกันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ย่อมหนุนนำสู่พัฒนาการเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ และแข่งขันกับตลาดใหญ่ๆ ที่มีอำนาจต่อรองสูงได้


สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) คือเป็นประเทศที่ติดต่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มาเป็นแนวทางในประเทศ การค้าระหว่างประเทศของไทยที่ผ่านประเทศไทยส่วนใหญ่จะขาดดุลการค้า และได้ดุลการค้าการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสด ทุเรียน มังคุดและที่ส่งออกมากขึ้นโดยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ซีเมนต์ อัญมณี ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผ้าไหมไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้นำเข้าสินค้าเยอะมาก เป็นเหตุให้เราขาดดุลการค้า สามารถจำแนกสินค้านำเข้าได้ดังนี้

สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน มีแนวโน้มลดลงเพราะมีการผลิตทดแทนการนำเข้า และพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก
สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายใน มีแนวโน้มสูงขึ้น
สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงรถแทรกเตอร์ ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มสูงขึ้น
สินค้าอื่นๆ ได้แก่ รถยนต์ เชื้อเพลิง อะไหล่รถยนต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการนำเข้าสินค้าของไทยสูงมากขึ้น เนื่องจากการเร่งพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น การบริโภคของคนในประเทศเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคเลียนแบบ ซึ่งมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาสูง นอกจากนี้ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรี ควบคุมการนำเข้าเพียงไม่กี่รายการ จึงมีการนำเข้าสินค้าอย่างมาก จากสาเหตุเหล่านี้ เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาตลอด

เศรษฐกิจและการค้าของไทยในระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราที่สูงมาก แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และ ตอบโต้การอุดหนุนการห้ามนำเข้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้เหตุผลทางสุขอนามัย มาตรฐานสินค้าหรือสิ่งแวดล้อม การแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ในส่วนของประเทศไทยนอกจากแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกโดยเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกันและผลักดันให้มีการพัฒนาอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีแล้ว จะต้องพัฒนาสินค้าออกของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในตลาดโลก รวมทั้งจะต้องแสวงหาลู่ทางที่จะขยายการลงทุนของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ ให้มากขึ้นทั้งในลักษณะของการลงทุนโดยตรงและการร่วมทุน เพื่อเป็นช่องทางให้สินค้าออกของไทยกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองนั้น ย่อมก่อกำเนิดขึ้นได้ตลอดเวลาตามลักษณะแห่งปัจจัยในแต่ละด้าน สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามีความสำคัญ ใหญ่หลวง จะมีผลกระทบเช่นไรต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนจะต้องพิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร ประสานสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นหรือไม่เพียงใด สมควรที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องด้านใดบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งจะรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง จึงทำให้มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอกประเทศเกินสมควร จากการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัญหาต่างๆเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การนำเข้า และการส่งออกตลอดจนการแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน ปัญหาเหล่านี้ก็จะยิ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น