วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อารยธรรมกรีกโบราณ

อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมนครรัฐกรีก คำว่า กรีก เป็นคำที่พวกโรมันใช้เป็นครั้งแรก โดยใช้เรียกอารยธรรมเก่าตอนใต้ของแหลมอิตาลี ซึ่งเจริญขึ้นบนแผ่นดินกรีกในทวีปยุโรป และบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านเอเซียไมเนอร์ ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า ไอโอเนีย (Ionia) อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญที่นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐ สปาร์ต้า นครรัฐเอเธนส์ เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลป วิทยาการด้านต่างๆ รวมทั้งปรัชญา ส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการ มีความแข็งแกร่งและเกรียงไกร เป็นผู้นำของรัฐอื่นๆ ในแง่ของความมีระเบียบวินัย กล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว การศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณ จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา
ชาวกรีกเรียกตัวเองว่า เฮลีนส์ (Hellenes) เรียกบ้านเมืองของตนว่า เฮลัส (Hellas) และเรียกอารยธรรมของตนว่าอารยธรรมเฮเลนิค (Hellenic Civilization)(1) ชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียน ชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนเองอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตรงปลายสุดของทวีปยุโรป ตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรป เอเซีย และแอฟริกา เป็นต้นเหตุให้กรีกโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และเอเซีย กรีกได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้น โดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตนเอง ชาวกรีกสมัยโบราณถือว่าตนเองมีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างที่ผิดกับชนชาติอื่น และมักจะเรียกชนชาติว่าบาเบเรียน ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษาผิดไปจากภาษาของพวกกรีก

ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ

กรีกในสมัยโบราณ อยู่ทางด้านตะวันออกสุดของยุโรปภาคใต้ ประกอบด้วยดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินหมู่เกาะ
ต่างๆ ในทะเลเอเจียน หรือฝั่งตะวันตกของเอเซียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่านครรัฐ ไอโอเนียน (Ionian Cities)(2) รวม
เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นตารางไมล์ ในจำนวนนี้ดินแดนส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 4 ใน 5 คือ ดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปยุโรปดินแดนตอนนี้แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆ ได้ 3 ภาค คือ

1. กรีกภาคเหนือ อันได้แก่ แคว้นมาซีโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) เอไพรัส (Epirus) รวมอาณา
บริเวณประมาณครึ่งของดินแดนกรีกบนผืนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยคลาสสิค ไม่นิยมรวมมาซีโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของกรีก

2. กรีกภาคกลาง ได้แก่ บริเวณซึ่งเป็นเนินเขาสูง ระหว่างกรีกภาคกลาง และอ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้มีสถานที่สำคัญๆ
ในประวัติศาสตร์กรีกอยู่หลายแห่ง เช่น นครเทบีส นครเลฟิ เทอร์มอปิเล (thermopylae) และยอดเขาพาร์นาซุด
(Parnasus) อันเป็นที่สิงสถิตของแอโปโล (Apollo) สุริยเทพ ตรงปลายสุดด้านตะวันออกของบริเวณนี้คือแคว้นอันติก
(Attica) อันมีเมืองหลวงคือนครรัฐเอเธนส์ ที่กำเนิดของศิลปวิทยาการ ปรัชญาและระบอบการปกครองอันมีชื่อเสียง
3. เพลอปปอนเนซุส (Peloponnesus) ได้แก่ บริเวณคาบสมุทร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ อ่าวคอรินธ์ บริเวณนี้เชื่อม
ติดกับภาคกลาง และภาคเหนือด้วยคอคอดคอรินธ์ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 30 ไมล์ใต้บริเวณคอคอดนี้ลงมาคือที่ตั้งของ
เมืองอาร์กอลิส (Argolis) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรม กรีกที่ได้เจริญขึ้นเป็นครั้งแรก ใจกลางของคาบสมุทรแห่งนี้
เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการรบและการทหาร เมืองโอลิมเปีย (Olympia) ที่สิงสถิตของ
บรรดาเทพเจ้ากรีกอยู่ชิดกับฝั่งทะเลไอโอเนีย ด้านตะวันตกของคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส

4. ภูเขา ในประเทศกรีกเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาเหล่านี้แบ่งกรีกออกเป็นที่ราบในหุบเขาเล็ก แยกออกจากกันมาก
มาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อคมนาคมระหว่างคนที่อาศัยตามที่ราบในหุบเขาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้าน
ตามหุบเขาเหล่านี้จึงมักปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน คนที่อาศัยอยู่ตามแต่ละหมู่บ้านก็เป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและ
กัน บางครั้งเกิดการสงสัยอิจฉาริษยากัน จนกระทั่งเกิดการทะเลาะวิวาทกลายเป็นสงคราม พวกที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่างๆ
ในทะเลเอเจียนก็มีลักษณะแยกกันอยู่เช่นเดียวกัน

5. สภาพพื้นดิน สภาพพื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วย
ภูเขาสูงและเนินเขา ทำให้กรีกขาดดินที่จะเก็บเกี่ยว หว่าน ไถได้ถึง 1 ใน 3 พื้นดิน ที่เหลืออีก 2 ส่วน ถึงแม้จะพอทำการ
เพาะปลูกได้ ก็ต้องอาศัยแรงงานอย่างมากมาย กรีกมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงแพะ
และแกะเท่านั้น ไม่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์จำพวกวัวควายหรือม้า บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของกรีก ได้แก่ที่ราบระหว่าง
หุบเขา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับความอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีสแล้วก็ด้อยกว่า
มาก

แม่น้ำในกรีกเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลเชี่ยวในฤดูที่มีฝนตกมาก กระแสน้ำจะพัดพาเอาดินอุดมตามเชิงเขาไป ส่วน
ในฤดูแล้งน้ำไม่มีการถ่ายเท แม่น้ำจึงกลายเป็นแหล่งเพาะยุง ด้วยสภาพพื้นดินดังกล่าว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น พลเมือง
เพิ่มขึ้น อาหารก็ไม่พอเพียงกับจำนวนพลเมือง ระดับการครองชีพในกรีก จึงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามชาวกรีกสมัยโบราณ
ได้ปรับปรุงตนเองในการมีชีวิตอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนได้เป็นอย่างดีและได้สร้างสมอารยธรรมอยู่บนรากฐานของ
เศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร

6. ทะเลกรีกจัดเป็นประเทศที่มีความสะดวกสบายในทางออกทะเล ส่วนใหญ่ของแผ่นดินมีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไป
ในทะเล และส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินไม่ไกลจากทะเลมากนัก ชาวกรีกมีโอกาสมองเห็นทะเลได้จากเกือบทุกๆ ส่วนของ
ประเทศ ประกอบกับพื้นดินแห้งแล้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวกรีกจึงหันเหความสนใจไปสู่ทะเล อนึ่ง ชายฝั่งทะเล
กรีกก็มักเว้าๆ แหว่งๆ ใช้เป็นอ่าวธรรมชาติสำหรับจอดเรือกำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี และบรรดาเกาะเล็กเกาะน้อย
ในทะเลเอเจียนก็เป็นเครื่องส่งเสริมให้ชาวกรีกแล่นเรือออกไปไกลๆ ไปสู่เอเซียไมเนอร์และดินแดนตะวันออก

นครรัฐ

กรีกโบราณมีรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นนครรัฐ ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเช่นอียิปต์ นครรัฐกรีกเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ละหน่วยคือ รัฐอิสระที่ดำเนินนโยบายและตัดสินเรื่องต่างๆ ด้วยตัวเอง กรีกเรียกหน่วยเหล่านี้ว่า โปลิส(1) กรีกประกอบด้วยโปลิสจำนวนมากมาย แต่โปลิสที่สำคัญและมีบทบาทมากในอารยธรรมยุคโบราณ ได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้กรีกแบ่งแยกอำนาจจากกันมากมาย ภูเขาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการติดต่อระหว่างคนที่อาศัยอยู่ตามที่ราบในหุบเขาดังกล่าว ดังนั้นหมู่บ้านตามหุบเขาเหล่านี้จึงปกครองตนเองเป็นอิสระ คนในแต่ละท้องที่จะจงรักภักดีแต่เฉพาะในเขตของตน เนื่องจากนครรัฐนี้ การปกครองได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วยอย่างใกล้ชิด ยังมุ่งจัดการศึกษาเพื่ออบรมจิตใจ สติปัญญา ให้เฉลียวฉลาดทุกด้าน นอกจากนี้ก็มีการอบรมเกี่ยวกับทหาร เด็กผู้ชายชาวเอเธนส์เมื่ออายุ 7 ปี จะต้องไปเข้าโรงเรียน เวลาไปโรงเรียน มีพี่เลี้ยงคอยดูแล พี่เลี้ยงโดยมากเป็นทาส พวกทาสที่เป็นพี่เลี้ยงพาเด็กไปโรงเรียน เรียกว่า เพดาก๊อจ (pedogoge) นอกจากนี้ พ่อแม่ยังมอบอำนาจให้ควบคุมดูแลความประพฤติของเด็กและลงโทษเด็กได้ด้วย คำว่า เพดาก๊อจ ต่อมากลายเป็นคำศัพท์ว่า เพดากอดี้ (pedagogy) ซึ่งแปลว่าวิชาครู ปัจจุบันใช้ว่า education (2)

นครรัฐของกรีกกำเนิดขึ้นเพราะความจำเป็นต้องร่วมกันในการป้องกันภัยจากศัตรู การค้าขยายตัวและประการสุดท้ายธรรมชาติมนุษย์ที่นิยมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ในขั้นต้นมนุษย์อยู่รวมกันเป็นหมู่เล็กๆ เป็นหมู่ของครอบครัวที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เรียกว่าโคตร ตระกูล เมื่อหลายโคตรตระกูลมารวมกันเข้ากลายเป็นหมู่ใหญ่เรียกว่า วงศ์วาน และเมื่อมีหลายวงศ์วานเข้าก็รวมกันเป็นเผ่าพันธุ์ และเผ่าพันธุ์เหล่านี้เข้ามารวมกันอยู่ในนครรัฐ ส่วนการปกครองภายในนครรัฐนั้น ในขั้นต้นราษฎรเลือกหัวหน้าหมู่ขึ้นปกครองดำรงตำแหน่งกษัตริย์ และมีคณะขุนนางอันได้แก่ ราษฎรชั้นสูงเป็นที่ปรึกษา ภายหลังพวกขุนนางก็ชิงอำนาจการปกครองมาไว้ในคณะของตน ครั้นนานวันเข้าเมื่อราษฎรไม่พอใจในการปกครองของขุนนาง ก็ได้ชิงอำนาจปกครองมาอยู่ที่ตนเอง มีลักษณะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ราษฎรทุกคนมีส่วนในการปกครองนั้น บางนครรัฐก็มิได้วิวัฒนาการการปกครองในรูปประชาธิปไตย แต่มีการปกครองในรูปอื่น เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตยหรือโดยชนหมู่น้อย (Oligarchy) การปกครองโดยชนชั้นสูงผู้ดีหรืออภิชน (Aristocracy) และปกครองโดยอำนาจปกครองอยู่ในมือคนคนเดียวคือปกครองแบบทรราชย์ (Tyranny)

สภาวะทางการเมืองและสังคมแบบนครรัฐไม่ส่งเสริมความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาว กรีกทั้งมวลพัฒนาการที่จะนำไปสู่ความเป็นอาณาจักรเดียวกันจึงเป็นได้ยาก อีกทั้งไม่เกื้อกูลในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในกรณีที่มีการคุกคามจากภายนอก นครรัฐกรีกทั้งปวงแตกต่างกันในการพัฒนาความก้าวหน้า บางนครรัฐอาจเจริญก้าวไปไกลกว่านครรัฐอื่นๆ นครรัฐที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งที่สุด คือนครรัฐสปาร์ตา แต่นครรัฐที่เจริญที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดต่อโลกสมัยต่อมาคือ นครรัฐเอเธนส์

ความเจริญของชนชาติกรีกโบราณ

1. อารยธรรมดั้งเดิมแถบทะเลอีเจียนก่อนพวกกรีกอพยพลงมา
ดินแดนแถบฝั่งทะเลทางตะวันตกของเซียไมเนอร์ (Asia Miner) เกาะต่างๆ ในทะเลอีเจียน (Aegean Sea) และเมืองทางแห่งขุนแหลมกรีกเจริญก่อนที่พวกกรีกจะอพยพมาตั้งแต่ 3000 B.C. พร้อมๆ กันอียิปต์และแถบลุ่มแม่น้ำ 2 สาย ลงมาจนราว 1100 B.C. อารยธรรมแถบนี้รวมเรียกว่า Aegean Civilization

1.1 แถบที่เจริญหน้าที่สุดได้แก่ที่เกาะ Cvete ซึ่งเจริญสูงสุดในระหว่าง 1700-1400 B.C. อารยธรรมที่แบ่งนี้มีชื่อเฉพาะลงไปอีกว่า Minoan Civilization
เมืองที่สำคัญที่เกาะ Crete ได้แก่ Cnassus Knossus ซึ่ง Sir. Arthur Evans ได้ทำการขุดค้นเมื่อราว ค.ศ. 1900 ปราสาทสูงหลายชั้น 3-4 ชั้น มีห้องจำนวนมากและมีห้องใต้ดิน ทางเข้าวกวนมีระบบการระบายน้ำเสีย การประปามีสถานที่สำหรับเล่นกีฬา มีการใช้ Bronze และทำเครื่องปั้นดินเผาแบบโอ่ง ไห ขนาดใหญ่จนถ้วยเล็กๆ ซึ่งมีลวดลายสวยงาม มีการใช้ทอง งาช้าง และเพชรนิลจินดาเป็นเครื่องประดับ มีการวาดภาพตามฝาผนัง มีตัวอักษรใช้เป็นรูปภาพ แบบ Symbolic ซึ่งมีสลักบนแผ่นดิน

1.2 แถบที่เจริญบนแหลมกรีก เมือง Mycenac
ซึ่งเจริญต่อจากแถบ Crete ราว 1600-1100 B.C. ผู้ที่ทำการขุดค้นคือ Heinrica Schliemanr (1870) ปรากฎว่ามีความเจริญทางการก่อสร้างปราสาทมีหอคอยล้อมและมีกำแพงหน้าถึง 10 ฟุต หลุมฝังศพใช้หินก้องใหญ่ มีความร่ำรวยเห็นได้จากการใช้ทอง สัมฤทธิ์ ใช้เงิน ใช้ทองปิดหน้าศพด้วยน้ำทำด้วยทองและเงิน แหวนทอง ดาบ และมีดทำด้วยทองสัมฤทธิ์ พวกกรีกสาขา Achaeans ซึ่งเป็นพวกแรกที่อพยพลงมาจากทางเหนือจะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ Mycenae นี้ และจะทำความเจริญให้จนผลที่สุดจะถูกพวก Darians เข้ามาคุกคามเมื่อ 1200-450 B.C.

1.3 เมืองแถบฝั่ง Asia Miner-Trov เจริญในระยะแรกนี้เช่นเดียวกัน Heinrich Schlieman เป็นผู้ขุดค้นพบสถานที่แสดงว่าเคยเจริญมาจริงๆ ได้มีสงครามระหว่างพวกกรีก Myceneans กับ Troy เมื่อราว 1200 B.C. เรียกว่า Trojan War

สภาพภูมิศาสตร์

แหลมกรีกเขตภายใต้ของแหลมบอลข่าน (Balkan) ซึ่งนับตั้งแต่แม่น้ำดานูบลงไปนับเป็นแหลมใหญ่ของยุโรป
ตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิอากาศเป็นประเภทเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นและมีแดดมากกว่าทางเหนือของยุโรป พืช ได้แก่
องุ่น โอลิพ สินค้าที่มีมากแต่โบราณ คือน้ำมันมะกอก เหล้าองุ่น สัตว์ ได้แก่ แพะ แกะ หน้าร้อนไม่ร้อนจัดได้รับลมทะเลอยู่มากเพราะฝั่งทะเลเว้าแหว่ง

ภูมิประเทศมีภูเขาใหญ่น้อยมากมาย มีคอคอดชื่อ Corinth ทางใต้ของคอคอดเป็นแหลมที่มีชื่อแต่โบราณว่า
Peloponnesus Morea ที่ราบมีน้อยแห่ง ที่กว้างขวางคือ Plain of Thessalia เหนือแม่น้ำมีขนาดสั้น
และไหลเชี่ยวไม่สะดวกในการเดินเรือ แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งมาก และมีเกาะมากมายในทะเลทางตะวันออกซึ่งมีชื่อ
ว่าทะเลอีเจียน Aegean Sea ไม่มีส่วนใดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่จะมีเกาะแหลมและอ่าวมาก
เท่ากับแถบตะวันออกของแหลมกรีก

ผลของสภาพภูมิศาสตร์ต่อความสามารถและการปกครองของชาวกรีก
ความเว้าแหว่งของฝั่งทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลม เกาะต่างๆ ช่วยให้เดินเรือต่อออกไปได้ไกล ชาวกรีกแต่โบราณจึงมีความชำนาญในการเดินเรือยิ่งความสามารถนี้จะช่วยให้พวกกรีกรอดพ้นภยันตรายเมื่อถูก
เปอร์เซียนรุกราน ภูเขาเป็นสิ่งกีดกั้นการติดต่อจึงทำให้แยกกันอยู่เป็นหมู่ๆ อย่างเป็นอิสระ แต่ละหน่วยของการ
ปกครองของกรีก เรียกว่า Polis หรือ City state แต่ละหน่วยของการปกครองด้วยตัวเมืองและบริเวณรอบๆ ขนาดของ
Athens ว่า ราว 1,000 ตารางไมล์ Sparta ราว 100 ตารางไมล์ ส่วนสำคัญที่สุดของแต่ละนครรัฐ มักจะอยู่บนเนินเขาสูง
ของเมือง เรียกว่า Acropolis

นครรัฐแต่ละแห่งปกครองตนเองมีกฎหมายของตนเองไม่ค่อยลงรอยกันแก่งแย่งชิงดีกัน แต่ในยามมีศึกจากภายนอกบรรดานครรัฐทั้งหลายก็ร่วมกันรบข้าศึกเมื่อขับไล่ศัตรูไปได้แล้วก็แยกกันดังเดิม

สมัยต่างๆ ในประวัติศาสตร์กรีก

กรีกสมัย Iliad และ Obysocy หมายถึง สมัยเริ่มตั้งประเทศราว 1300 B.C. - 600 B.C. Obysocy ซึ่งเป็นบทประพันธ์แบบมหากาพย์ของ Homer-Homeric Epics สันนิษฐานว่าเขียนราว 900-800 B.C. Homer เป็นนักประพันธ์ตาบอดมีถิ่นฐานอยู่แถบเกาะ Chios มีผู้ตั้งแนวคิดว่ามหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่ใช่ฝีปากของ Homer งานเดิมของ Homer สั้นกว่านี้ แต่มีนักประพันธ์อื่นมาช่วยกันแต่งต่อเติม
IIiad มาจากชื่อ Ilium, Ilion ซึ่งเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของ Troy มุ่งกล่าวถึงวีรบุรุษในสงครามระหว่างชาวกรีกและชาวทรอย (Trojan War) วีรบุรุษคนสำคัญชื่อ Achilles

มูลเหตุของสงครามเกี่ยวเนื่องกับเทพเจ้าของกรีกในงานเลี้ยงระหว่างเทพเจ้าเนื่องในการสมรส Eris ไม่ได้รับเชิญแต่ก็มาปรากฏตัวในงานพร้อมด้วยนำแอปเปิลทองคำมาประกาศให้แก่ผู้ที่งามที่สุด Hera, Athena และ Aphroldite ซึ่งมีอีกชื่อว่า Juno, Minerva และ Venus ตามลำดับ เป็นผู้ที่มุ่งเข้าแข่งขันกันจะเป็นเจ้าของแอปเปิลทองคำตกลงกันไปให้ Paris เป็นผู้ตัดสินแต่ละองค์ก็พยายามให้รางวัล อำนาจ ความรู้ หญิงงามที่สุด ต่อมา Paris ได้พบกับ Helen มเหสีของ King Menelaus ของ Spurta ซึ่งเป็นหญิงงามที่สุดในขณะนั้น และได้ลักพากลับ Troy โดยมี Aphrodite เป็นผู้ช่วย พวกกรีกทั้งหลายพากันยกทัพตามมาเพื่อนำ Helen กลับคืน ในบรรดาแม่ทัพมี Aganmemnon อนุชาของ Menelaus ผู้เป็นกษัตริย์ของ Mycenae เป็นหัวหน้าสำคัญอยู่ด้วยคนหนึ่ง การรบติดพันอยู่ถึง 10 ปี ไม่แพ้ชนะกันอย่างเด็ดขาด จนกระทั่งมีการคิดอุบายทิ้งม้าไม้ไว้แล้วทำเป็นคอยทัพกลับจึงสามารถตี Troy ได้สำเร็จ
Obysocy เป็นเรื่องของ Obysscus (Ulysses) กษัตริย์แห่ง Ithaca ซึ่งต้องเร่ร่อนอยู่ถึง 10 ปี จึงสามารถเดินทางกลับบ้านเมือง และกลับไปพบ Penelope มเหสีผู้จงรักภักดีได้ Obysseus ถูกลงโทษจากเทพเจ้าที่เข้าข้าง Troy เพราะเป็นผู้คิดอุบายสร้างม้าไม้

จากทั้งสองเรื่องนี้ ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์ แต่มีอิทธิฤทธิ์เหนือกว่า ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงและมีความสนใจลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ สิงสถิตย์อยู่ที่ภูเขาโอลิมปัส (Olumpus) ซึ่งมีหิมะปกคลุมอยู่เสมอ มีการยกย่องวีรบุรุษจนเป็นเสมือนกึ่งเทพเจ้า มีเรื่องราวของคนธรรมดา การค้าขาย การหาเลี้ยงชีพ การทำไร่ไถนา ลักษณะความเป็นไปของพระเจ้าแผ่นดินของกรีกโบราณด้วย

กรีกสมัยแสวงหาอาณานิคม ราว 800-600 B.C. หลังจากตั้งถิ่นฐานมั่นคงแล้ว แถบช่องแคบ Hellespaont Dardanelles ปัจจุบันเข้าไปยังทะเล Marmara ผ่าน Bospours ออกไปยังทะเลดำ (Black Sea) แถบทางใต้ของอิตาลีและเกาะชิลี ชาวกรีกอพยพไปตั้งถิ่นฐานกันมากมาย จนมีชื่อเรียกว่า Great Greece Magna Graecia เมืองหลายเมืองมีชื่อมาจากชื่อกรีกเช่น Naples มาจาก Neapotis แถบทางใต้ของฝรั่งเศส และตะวันออกของสเปนมีเมืองซึ่งมีชื่อสืบเนื่องมาจากกรีก เช่น Nice มาจาก Nike

สรุปเกี่ยวกับการออกแสวงหาดินแดน คือ มีนิสัยชอบท่องเที่ยวผจญภัย เนื่องจากความไม่อุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เครื่องอุปโภคอาจไม่เพียงพอ จำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น หลังจากตั้งถิ่นฐานเรียบร้อยแล้ว จึงต้องหาทางระบายพลเมือง หลังจากนี้การค้าขายเจริญขึ้น พวกเจ้าของที่ดินพยายามหาทางปรับปรุงการเพาะปลูก ผู้ที่มีเงินทุนและรู้จักวิธีปรับปรุงก็ร่ำรวยขึ้น พวกที่ทุนน้อย การเพาะปลูกไม่ได้ผลก็ยากจนลงต้องขายที่ดินไปทำอาชีพรับจ้าง สังคมจะซับซ้อนยิ่งขึ้น

อารยธรรมของกรีกสมัยเฮเลนิสติค

ระยะเวลาภายหลังจาก 323 B.C. ยาวประมาณ 300 ปี อารยธรรมกรีก แพร่หลายออกไปนอกแหลมกรีก ทั่วอาณาจักรของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ขยายไว้ อาณาจักรของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ แบ่งแยกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ภายหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์

1. แถบมาซีโดเนีย (Macedonia) และกรีก เกิดการแก่งแย่งอำนาจในระหว่างแม่ทัพสำคัญๆ ผลที่สุด Antigonus รวมอำนาจได้

2. แถบอียิปต์ (Egypt) ตกอยู่ใต้อำนาจของปโตเลมี (Ptolomy) นับเป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์ที่ครองอียิปต์สืบต่อมาจาก 30 B.C. (Ptolemy 306-285 B.C.)

3. แถบเอเซียไมเนอร์ (Asia Minor) รวมทั้งแถบลุ่มน้ำไทกรีส (Tigris) และ ยูเฟรตีส (Euphrates) ถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางอยู่ที่เอนทัช (Antioch) อยู่ใต้การปกครองของขุนพลเสเลคัส
(Seleucus) และยังมีอาณาจักรเล็กๆ น้อยๆ ที่ชาวกรีกไปตั้งถิ่นฐานอยู่เอเธนส์ (Athens) ยังคงเป็นศูนย์กลางการศึกษา แต่ศูนย์กลางการค้าค่อยเปลี่ยนไปเป็น เกาะโรส(Rhodes) เมืองอเล็กซานเดีย ( Alexandria) และเมืองเอนทัช(Antioch) อารยธรรมของกรีกแพร่ออกไปยังดินแดนที่ตกอยู่ใต้อำนาจ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชประชาชนทั้งแถบอียิปต์ (Egypt), ซีเรีย (Syria), ชาเลสไตน์ (Palestine), เอเซียไมเนอร์ (Asia Minor) ไม่ว่าจะเป็นชาว กรีกแท้หรือไม่แท้ล้วนแต่ใช้ภาษากรีกทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น