วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศาสนาสิข

ศาสนาสิข (Sikhism) คำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบ ตรงกับคำสันสกฤตว่า “ศิษฺย” แปลว่าผู้ศึกษา หรือศิษย์ หมายความว่าชาวสิข หรือผู้นับถือศาสนาสิขทุกคน เป็นศิษย์ของคุรุหรือครู
คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับการเขียนว่า “ซิกข์” มากกว่า แต่จากคำอธิบายของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ กล่าวว่า “ในด้านการออกเสียงแม้จะออกคำว่า ‘ซิก' แต่ในด้านการเขียน เห็นสมควรจะต้องรักษาภาษาเดิมไว้ จึงเขียนว่า ‘สิข' ตามภาษาปัญจาบ ไม่เปลี่ยนเป็นสิกข์ หรือซิกข์ ตามที่บางท่านต้องการเขียนให้เป็นภาษาบาลี เพราะศาสนานี้ไม่ได้ใช้ภาษาบาลี เพียงแต่มีรากศัพท์ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาบาลีเท่านั้น เมื่อเทียบการเขียนด้วยอักษรโรมัน ‘สิข' เขียนว่า Sikh แต่ถ้าคำว่า ‘ซิกข์' จะต้องเขียนว่า Sikkh ซึ่งวงการผู้แต่งตำราหรือแม้ผู้นับถือศาสนาสิขเองก็เขียนในภาษาอังกฤษว่า Sikh เป็นชื่อศาสนิกชน และ Sikhism เป็นชื่อศาสนา จึงขอชี้แจงไว้เพื่อทราบด้วย”

คันด้า คือสัญลักษณ์ของศาสนาสิข ประกอบด้วย กีรปาน (ดาบของชาวสิข) สองด้าม ,คันด้าตรงกลางหนึ่งอัน (ดาบลักษณะสองคม) และวงจักร (ห่วงกลม) กลมภายในหนึ่งห่วง
ดามทั้งสองด้าม แสดงถึงความมีอำนาจอธิปไตย ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างสมบูรณ์
วงจักร แสดงถึงความเป็นอมตะ หนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสร้าง ให้กำเนิดทุกสรรพสิ่ง
ดาบสองคม แสดงถึงความเป็นผู้ริเริ่ม


เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม (Monotheism) คือ ยึดมั่นและเชื่อถือในพระเจ้าพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า วาเฮคุรุ พระองค์ไม่มีลักษณะเหมือนคน ทรงเป็นสัตยเทพ ทรงความเป็นเอก เป็นอนันตะ เป็นวิภูเทพ เกิดเอง ทรงสถิตอยู่ทั่วไป ทรงมีพระกรุณาในสรรพสัตว์เท่ากัน

มีศาสดา 10 องค์ ศาสดาองค์แรกชื่อท่านคุรุนานัก

เกิดประมาณ ค.ศ. 1469 หรือประมาณ พ.ศ. 2012 คิดตามปีเกิดของคุรุนานัก

สถานที่กำเนิดศาสนา

ประเทศอินเดียตอนเหนือ แถวมณฑลปัญจาบ



ศาสนานี้เกิดขึ้นเพราะต้องการรวมศาสนา คือรวมศาสนาอิสลามกับฮินดู แต่ไม่สำเร็จกลับเกิดมีศาสนาสิขนี้ขึ้น ในสมัยที่เกิดศาสนานี้เป็นสมัยที่อิสลามกำลังมีอำนาจในอินเดีย เกิดต่อสู้ล้มตายกันทั่วไป เพราะฝ่ายผู้มีอำนาจสู้กับฝ่ายต่อต้าน ผู้เป็นปฐมศาสดาของศาสนานี้เกิดความสลดใจใคร่จะรวมศาสนาเพื่อประสานความร้าวฉานระหว่างพวกฮินดูกับพวกมุสลิม

ประมาณ 23,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น