วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลัทธิเต๋า

เต๋าเป็นทุกอย่าง เป็นทั้งผู้สร้าง เป็นทั้งคุณธรรมด้านต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงมีผู้ตีความหมายเต๋าไปต่างๆ กัน เช่น เป็นกฏบ้างจารีตบ้าง วิถีชีวิตบ้าง คุณสมบัติบ้าง พระพรหมธรรมชาติบ้าง โมกษะบ้าง และนิพพานบ้าง แต่ในความเห็นส่วนตัว เต๋าน่าจะตรงกับ ธรรมในพุทธศาสนามากกว่าอย่างอื่น เพราะคำว่า ธรรม มีความหมายกว้าง หมายทั้งธรรมชาติ กฎธรรมชาติและผลของธรรมชาติ นอกนี้ยังหมายถึงธรรมหรือคุณธรรมอย่างที่เข้าใจกัน และในความหมายนี้ ธรรมก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับศีลธรรมธรรมดาจนถึงระดับสูงสุดคือนิพพาน ดังนั้นธรรมจึงมีความหมายกว้างที่สุดและลึกที่สุด เต๋าก็เช่นกัน และที่ว่าเต๋าเรียกขนานได้มิใช่เต๋าที่แท้ ก็ทำนองที่ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ตัวสัจธรรม แต่เป็นเพียงคำอธิบายตัวสัจธรรมเท่านั้น ดุจสลากยากับตัวยาก็ฉันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะตัวสัจธรรมเป็นนามธรรมไม่อาจรู้ได้ทางประสาทสัมผัส จะรู้ก็ทางใจเท่านั้น ผู้ที่เข้าถึงตัวสัจธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งเฉพาะตัวว่าสัจธรรมเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่อาจนำมาอธิบายให้คนอื่นเข้าใจอย่างแท้จริงได้เต๋าก็เช่นกัน เป็นเรื่องถกเถียงกันได้ไม่มีที่สิ้นสุดดังกล่าวแล้ว เหลาจื้อทราบความยุ่งยากนี้ดี จึงได้กล่าวว่านักปราชญ์ครั้นสดับเรื่องเต๋าแล้วก็ใครปฏิบัติตามด้วยความพากเพียรผู้ฉลาดปานกลายสดับแล้ว ก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างไม่มั่นคงส่วนผู้ที่ต่ำกว่านั้นสดับแล้ว ก็พากันหัวเราะเยาะ
ความจริงถ้าคนเหลานี้ไม่หัวเราะเต๋าก็จะไม่ใช่เต๋าเท่านั้นเอง…ฯลฯ…จากการได้ศึกษาปรัชญาเต๋า ทำให้เห็นว่าปรัชญาเต๋ามีจุดหมายให้
คนมุ่งเข้าหาทางธรรม สละทางโลก ไม่สนใจลาภยศชื่อเสียง มุ่งหาความสงบ ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ มีขันติ มีเมตตากรุณา และบำเพ็ญสมาธิจิต มีเต๋าเป็นจุดหมายปลายทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น